Home
ขอลางานจากเว็บสัก 2 - 3 นะครับ กลับไปเยี่ยมบ้านที่แม่กลอง
ขอลางานจากเว็บสัก 2 - 3 นะครับ
กลับไปเยี่ยมบ้านที่แม่กลอง
- พิพัฒน์ -
เรียนภาษาอังกฤษกับเว็บไทย และขยับไปเว็บฝรั่ง
สวัสดีครับ
ท่านผู้อ่านที่เป็นแฟนประจำเว็บ e4thai.com จะสังเกตได้ไม่ยากว่า ในขณะที่ผมพยายามหาเว็บไทยซึ่งอธิบายหรือสอนภาษาอังกฤษแบบง่าย ๆ มาบริการท่านผู้อ่านซึ่งใฝ่ใจที่จะฟิตภาษาอังกฤษ ผมก็พยายามลุ้นให้ทุกท่านที่ติดกับเว็บไทย ได้ก้าวออกไปศึกษาภาษาอังกฤษกับเว็บฝรั่งบ้าง ผมทราบดีว่า สำหรับท่านที่ภาษาอังกฤษยังไม่ค่อยแข็งแรงหรือพื้นฐานจากโรงเรียนไม่ค่อยแน่น การลุยออกไปเรียนตามที่ผมลุ้นไม่ใช่เรื่องน่ารื่นเริงนัก แต่ผมก็เชื่อว่า แม้จะยาก ถ้ารักที่จะทำก็ยอมก้าวข้ามอุปสรรคทุกอย่างได้ ในการนี้ ผมพยายามหาตัวช่วย เพื่อให้การเรียนภาษาอังกฤษด้วยตัวเองกับเว็บฝรั่ง ไม่เป็นการเดินทางที่ทุรกันดารจนเกินไป เช่น
- หาเรื่องเยอะ ๆ มาบรรจุไว้ในเว็บนี้ ให้ท่านเลือก เพราะถ้าท่านเจอเรื่องที่ถูกใจ ถึงจะยากก็พอทนเรียนไหว ขอให้ท่านหาเรื่องที่ถูกใจจากเมนูในคอลัมน์ซ้ายมือ และใช้ช่อง Search ของเว็บหาดูแล้วกันครับ
- วิธีติดตั้ง Click Dict, เพื่อดู ความหมาย/คำแปล ศัพท์, เมื่ออ่านภาษาอังกฤษจากหน้าคอมฯ
- ศึกษาจากเรื่องง่าย ๆ ก่อน และในเว็บ e4thai.com นี้มีเรื่องง่าย ๆ อยู่เยอะทีเดียว ท่านเพียงพิมพ์คำว่า ง่าย ลงไปในช่อง Search เว็บก็จะค้นเรื่องง่ายๆ มาให้ท่านศึกษา คลิกดู
ที่พูดมาทั้งหมดนี้ มิได้หมายความว่า คุณภาพของเว็บไทยไม่ดี หรือสู้เว็บฝรั่งไม่ได้ ผมมิได้หมายความอย่างนั้นครับ แต่ผมต้องการเน้นว่า มีเนื้อหาหลายอย่าง ที่เว็บฝรั่งมักจะมีมากกว่าเว็บไทย หรือละเอียดกว่า หรือให้คำอธิบายที่แน่นอนกว่า หรืออย่างน้อยที่สุด การได้อ่านจากสิ่งที่เจ้าของภาษาเขียน, และได้ฟังเสียงที่เจ้าของภาษาพูด ก็เป็นความท้าทาย ที่ช่วยพัฒนาทั้งทักษะและสมอง มากกว่าการศึกษาเฉพาะกับเว็บไทยอย่างเดียว
ผมขอยกตัวอย่าง เว็บไทย และเว็บฝรั่ง ข้างล่างนี้ ซึ่งทั้ง 2 เว็บแบ่งเนื้อหา สำหรับเด็ก วัยรุ่น และครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ขอให้ท่านลองใช้เวลาสำรวจเปรียบเทียบดูเถิดครับ แล้วจะเห็นจริงตามที่ผมพูด คือว่า แม้เนื้อหาจะดีทั้งคู่ แต่มันมีสิ่งที่ดีไม่เท่ากัน และดีไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ถ้าเราได้ศึกษาภาษาอังกฤษ ทั้งจากเว็บไทยดี ๆ และเว็บฝรั่งที่คุณภาพดี เราก็จะได้เรียนรู้เรื่องที่ต้องการเร็วขึ้น
ลองเข้าไปดูได้เลยครับ...
[2] http://learnenglish.britishcouncil.org/en/
ศึกษาเพิ่มเติม:
พิพัฒน์
ภาษาอังกฤษสำหรับคนขี้เบื่อ – ต้องให้เว็บ Random สุ่ม exercise & test มาให้ทำทีละข้อ
สวัสดีครับ
อินเทอร์เน็ตแม้จะมีของดีมากมายให้เราฝึกภาษาอังกฤษ แต่สำหรับคนขี้เบื่อก็คงมีเรื่องบ่น เช่น เมื่อเข้าไปที่เว็บเดิมก็เจอแต่เนื้อหาเดิม ๆ, หรือมีเรื่องให้ฝึกมากเกินไป ยากเกินไป ง่ายเกินไป ฯลฯ
ผมพิจารณาดูแล้วก็เห็นว่า เว็บที่เหมาะสุดสำหรับคนขี้เบื่อแต่ขยัน ก็คือเว็บประเภท random คือ เมื่อคลิกครั้งใหม่ก็ได้เรื่องใหม่, ได้แต่ละครั้งก็มีให้ทำแค่ข้อเดียว,ทำเสร็จแล้วเฉลยทันที, เบื่อก็เลิกคลิก, ขยันก็คลิกต่อ, ถ้าอย่างนี้คนขี้เบื่อคงคลายเบื่อ
ผมรวมรวมไว้ข้างล่างนี้ครับ
ศัพท์
[1] คลิกบรรทัดที่มีความหมายตรงกับคำที่ให้มา (เฉลย สีเขียว = ถูก, สีชมพู = ผิด)
http://my.vocabularysize.com/practice
[2] นำ 2 – 3 คำที่ชวนสับสน มาแต่งให้อยู่ในประโยคเดียวกัน เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน เว็บนี้น่าสนใจมาก ๆ ครับ คุณครูน่าจะนำไปใช้สอนเด็กได้ดีทีเดียว, เมื่อเข้าไปแล้ว ให้คลิก Random confusable ไปเรื่อย ๆ โดยดูประโยคที่โชว์ในบรรทัดสุดท้ายของหน้า
http://grammar.ccc.commnet.edu/grammar/notorious/notorious_frames.htm
[3] คลิกคำที่ความหมายเหมือนตัวดำ, ถ้าทำถูก test จะยากขึ้นเรื่อย ๆ, สามารถคลิกไอคอนรูปลำโพงเพื่อฟังเสียงอ่านคำศัพท์
http://freerice.com/#/english-vocabulary/1523
[4] คลิกคำศัพท์ให้ตรงกับภาพ
http://quiz.wordinfo.info/image
[5] คลิกคำศัพท์ให้ตรงกับกลุ่มคำที่ให้มา
http://quiz.wordinfo.info/random
[6] พิมพ์คำขึ้นต้นด้วยตัวอักษรที่ให้มา, ให้มีความหมายตามถ้อยคำตัวดำ, ให้เวลาคำละ 60 วินาที
[7] คลิกคำศัพท์ที่มีความหมายสอดคล้องกับตัวดำ, ให้เวลา 10 วินาที
http://www.merriam-webster.com/quiz/index.htm
[8] คลิก Random word เหนือคำศัพท์ตัวดำเยื้องไปทางขวามือ, และเว็บจะสุ่มคำศัพท์จาก database ของเขามาให้ศึกษาทีละคำ, สิ่งที่น่าสนใจของเว็บนี้ก็คือ มีการอธิบายคำศัพท์ในลักษณะที่เป็นกันเอง, ไม่ขึงขังเหมือนที่เราพบในดิกทั่วไป
http://www.vocabulary.com/dictionary/miraculous
[9] สุ่มแปลศัพท์ ไทยเป็นอังกฤษ
เลื่อนลงไปข้างล่าง ใต้หัวข้อ "คำศัพท์น่ารู้", อ่านคำศัพท์ไทย, นึกคำแปลเป็นอังกฤษ, และคลิก "ดูคำตอบ", เว็บจะโชว์คำตอบที่ด้านบน (ถ้าเว็บนำศัพท์เดิม ๆ มาให้เล่นซ้ำ ๆ บ่อยเกินไป ก็กด Control+F5)
แกรมมาร์
[1] คลิก Check answer และ Next question ไปเรื่อย ๆ
http://www.easyenglish.com/index.asp
[2] คลิกบรรทัดที่ถูกต้อง, ถ้าทำถูก test จะยากขึ้นเรื่อย ๆ
http://freerice.com/#/english-grammar/1936458
[3] ถามเรื่อง tenses (คลิกเครื่องหมาย > ที่มุมขวาบนสุดของหน้า เพื่อทำข้อถัดไป)
http://esl.fis.edu/grammar/multi/r1.htm
ฟัง
[1] เว็บจะสุ่มหลายประโยคตัวอย่าง ที่มีคำใดคำหนึ่งประสมอยู่ มาให้เราอ่าน-คลิกฟัง-และฝึกพูดตาม, เมื่อฝึกแล้ว ก็ให้คลิกที่ Random Page เพื่อดูประโยคตัวอย่างชุดอื่น ๆ ที่เว็บจะสุ่มมาให้เรื่อย ๆ
http://www.manythings.org/audio/sentences/1.html
[2] ที่คอลัมน์ขวามือ ให้เลื่อนลงมาดูที่ Spelling bee, คลิกเลือก easy, คลิกรูปลำโพงเพื่อฟังเสียง, พิมพ์สะกดคำตามที่ได้ยิน, คลิก answer, ถ้าพิมพ์ถูกจะเป็นสีเขียว, ถ้าพิมพ์ผิดจะเป็นสีชมพู, คลิก new word เพื่อเล่นคำถัดไป, (แต่ถ้านึกไม่ออกจริง ๆ หรือพิมพ์ตอบผิดบ่อย ๆ จะคลิก Answer ก็ได้เพื่อดูเฉลย)
http://www.thefreedictionary.com/
[3] คลิกฟังเสียงและพิมพ์สะกดคำ ตามที่ได้ยิน มี 3 ระดับ ยาก - ง่าย ให้เลือกเล่น และจะเลือกอังกฤษแบบ BR หรือ US ก็ได้
https://blog.oxforddictionaries.com/media/spelling-bee-2011/
ดูคลิป
[1] ฝึกฟังภาษาอังกฤษกับการดูคลิปสั้น ๆ, คลิปไหนไม่ชอบ หรือยากเกินไป, ก็คลิก >>I want to watch something else<< ไปเรื่อย ๆ จนเจอคลิปที่ชอบ
[2] มีคนนำ YouTube มาสุ่มคลิปอะไรแปลก ๆ ให้ดู อาจจะไม่มีประโยชน์และเสียเวลาดู แต่บางคลิปอาจจะแก้เบื่อได้
http://randomyoutube.net/watch# (คลิก Watch Another ► เพื่อดูคลิปอื่น)
http://www.wimp.com/love/dinerheart/ (คลิก Random Video เหนือจอ)
random เป็นชุด
[1]ทดสอบศัพท์, แกรมมาร์, reading ชุดละ 20 ข้อ
http://www.indiabix.com/online-test/verbal-ability-test/random
พิพัฒน์
https://www.facebook.com/en4th
review 27 เมษายน 2561
นิสัยที่ควรสร้าง: สะสมทักษะภาษาอังกฤษ เหมือนปลูกไม้ยืนต้นให้โต
สวัสดีครับ
สมัยเรียนหนังสือ มีถ้อยคำที่ผมได้ยินครูอาจารย์บางท่านชอบพูด คือ สิ่งที่สอนในห้องเรียนเป็นเพียงความรู้ ส่วนประสบการณ์พวกเธอต้องไปหาเอาเองในที่ทำงาน สมัยที่ได้ยินครูพูดเช่นนี้ผมยอมรับ 100 เปอร์เซ็นต์ทั้งปากและใจว่ามันเป็นความจริง
ล่วงมาถึงยุคนี้ ผมชักจะตงิดใจว่า มันอาจจะไม่ต้องจริงอย่างที่ครูพูดทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะ (1) เวลาที่เป็นนักศึกษารับความรู้ในวิชาหนึ่ง ๆ จากครูในห้องเรียน ความรู้ที่ได้รับอาจไม่พอที่จะป้อนความหิวของโลกแห่งการทำงาน นักศึกษาจึงต้องหาเพิ่มทั้งความรู้และประสบการณ์แม้ยังไม่ได้ทำงาน (2)เมื่อได้งานทำแล้ว ความรู้ที่เคยได้รับอาจจะไม่ updated และประสบการณ์ที่จำเป็นต้องมี ณ ปัจจุบันตัวเองก็อาจจะยังไม่มี คนทำงานจึงต้องหาเพิ่มทั้งความรู้ที่เคยรู้แล้วและประสบการณ์การทำงานที่ยังมีไม่พอ จึงกลายเป็นว่า ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาและคนทำงาน ความรู้และประสบการณ์ใหม่เป็นสิ่งที่ต้องหาเพิ่มเติมตลอดเวลา
แต่สิ่งที่คนทำงานหลายคนพบก็คือ บางหน่วยงานก็จัดความรู้และประสบการณ์เสริมให้ ในรูปแบบการของการให้ความรู้หรือการฝึกอบรม ระยะสั้น-ระยะยาว, เป็นทางการ-ไม่เป็นทางการ, ในประเทศ-ต่างประเทศ ฯลฯ ใครเจออย่างนี้ก็นับว่าโชคดีเพราะไม่ต้องขวนขวายมาก แต่บางหน่วยงานไม่เป็นอย่างนี้ คนทำงานจึงต้องขวนขวายด้วยตัวเอง และเหนื่อยมากหน่อย แต่มันก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และถึงบ่นก็ไม่มีคนฟัง จึงไม่ควรบ่นให้หนวกหูตัวเอง
การขวนขวายศึกษาหาความรู้และประสบการณ์เพิ่มเติมด้วยตัวเอง จึงเป็นภาระของคนยุคใหม่ทุกคน ไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่เต็มใจทำก็ตาม
ผมมีความรู้สึกว่า นี่เป็นสิ่งที่คนไทยยุคใหม่ หรือยุคเก่า-ยุคกลาง –ต่อยุคใหม่ จะต้องปรับกาย-ปรับใจ รับให้ได้ แม้ว่ามันจะขัดกับสิ่งที่ตกค้างจากวัฒนธรรมดั้งเดิมอยู่บ้าง เช่น
- สมัยก่อนเมื่อเรียนหนังสือ ในโรงเรียน, ในวิทยาลัย, ในมหาวิทยาลัย ในนั้นก็มีครู มีอาจารย์เป็นผู้ให้ความรู้ ต่อมาภายหลังเมื่อมีมหาวิทยาลัยเปิด คือ รามคำแหงฯ และมสธ. ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนก็จางลงบ้าง เพราะนักเรียนต้องเรียนกับชุดการสอน สื่อทางไกล ศูนย์การเรียนรู้ CD และยุคต่อ ๆ มาเมื่อมีอินเทอร์เน็ต ความสัมพันธ์เช่นนี้ก็จางลงไปอีก เพราะครูของนักเรียน กลายเป็นคนที่ไม่มีหน้าซึ่งมีชื่อว่า เว็บ, ลิงค์, e-book, app ฯลฯ
- ผมเองไม่เคยเป็นครู ไม่เคยเรียนวิชาครู แต่ผมรู้สึกว่าคนเป็นครูทุกวันนี้น่าเห็นใจเพราะต้องทำงานหนักกว่าเดิม คือ นอกจากต้องอบรมสั่งสอนให้นักเรียนมีความรู้(และความประพฤติดี)แล้ว ยังต้องสอนให้เขารู้จักหาความรู้ด้วยตัวเองอีกด้วย ในขณะที่ผมซึ่งขณะนี้ชักจะเป็นคนแก่แล้ว ภูมิใจในความที่ตัวเองเป็น “ศิษย์มีครู” ภูมิใจในสถาบันการศึกษาที่จบมา ภูมิใจที่รู้สึกว่าส่วนหนึ่งของความมีแก่นสารในชีวิตเกิดขึ้นได้ก็เพราะได้พระคุณของครูและโรงเรียนเหล่านี้บ่มเพาะ ผมก็ยังมีความคิดว่า ถ้าประเทศไทยของเราจะก้าวหน้าต่อไป คนไทยเราจำต้องสมบูรณ์ทั้งการเป็น “ศิษย์มีครู” และ “ศิษย์ไม่มีครู”
“ศิษย์ไม่มีครู” ก็คือศิษย์ที่เรียนกับครูซึ่งไม่มีหน้าตา เช่น เรียนกับอาจารย์กู(เกิ้ล) และอาจารย์ยู(ทูป) ผมอาจจะเห็นต่างจากคนอื่น คือหลายคนรู้สึกว่า อาจารย์กูกับอาจารย์ยูนี้ใจดี ถามอะไรก็ตอบทั้งนั้น แต่ผมกลับรู้สึกว่า มีคนไทยจำนวนไม่มากนักที่พยายามฝึกหัดวิธีถาม (search) ให้อาจารย์กูและอาจารย์ยูตอบอย่างเป็นระบบ ทำให้เราได้รับคำตอบที่เป็นประโยชน์สูงสุด เพราะฉะนั้นการเป็น “ศิษย์ไม่มีครู” ที่ใช้การเรียบแบบ self-study จึงเป็นสิ่งที่ต้องฝึกกันพอสมควร
ย้อนมาถึงเรื่องที่ผมต้องการพูดเป็นพิเศษในวันนี้ คือเรื่องทักษะภาษาอังกฤษของคนไทยโดยทั่วไป จากสายตาตัวเองที่มองเห็น และจากรายงานการสำรวจต่าง ๆ ที่อ่านเจอ ล้วนแสดงตรงกันว่า คนไทยมีทักษะภาษาอังกฤษในระดับที่ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน แต่ผมก็รู้สึกว่า ณ นาทีนี้ ป่วยการที่จะไปค้นคว้าหาสาเหตุที่ทำให้คนไทยตกอยู่ในสภาพนี้
ถ้าจะแก้ปัญหานี้ ผมขอเปรียบเทียบอย่างนี้แล้วกันครับ เรามีตุ่มเปล่าอยู่ 1 ตุ่ม และเราก็ต้องการบรรจุน้ำให้เต็มตุ่ม เพื่อเอาไว้ใช้ในยามขาดแคลนหรือจำเป็นต้องใช้ ผมจะไม่เสียเวลาซักไซ้ถามว่า ทำไมในตุ่มไม่มีน้ำ แต่ผมจะพยายามหาน้ำมาเติมใส่ตุ่มทุกวัน มากบ้างน้อยบ้าง แต่เติมทุกวัน ทั้งวันที่ผมขยันและวันที่ขี้เกียจ, วันที่มีแรงและหมดแรง, วันที่มีกำลังใจและท้อแท้, วันที่มีความหวังและหมดหวัง น้ำนี้ก็คือทักษะภาษาอังกฤษที่ผมพยายามเติมใส่ตัวเอง... ทุกวัน ไม่เว้นแม้แต่วันเดียว
การเติมน้ำใส่ตุ่ม กับการเติมทักษะภาษาอังกฤษใส่ตัว ดังที่เปรียบเทียบข้างบนนี้ หรือถ้าจะเปรียบอีกอย่างก็เหมือนการหยอดเหรียญใส่กระปุกออมสินทุกวัน ดูเหมือนจะถูกต้อง แต่มันไม่ถูกต้องซะทีเดียวหรอกครับ เพราะว่ามันผิดอย่างน้อย 2 เรื่อง
- การเติมน้ำใส่ตุ่ม หรือการหยอดเหรียญใส่กระปุกออมสิน ถ้าวันไหนตักน้ำออกใช้ หรือทุบกระปุกเพื่อเอาเงินใช้ น้ำหรือเงินที่สะสมก็เกลี้ยงหมด ไม่เคยเต็มตุ่ม-ไม่เคยเต็มกระปุกสักที แต่การสะสมทักษะภาษาอังกฤษ ด้วยการฝึก ฟัง-พูด-อ่าน-เขียน มากบ้างน้อยบ้าง ทุกวันไม่เว้น ต่อให้เททักษะออกมาใช้งาน เทออกใช้มากเพียงใดทักษะก็ไม่เคยหมด มีแต่จะมากขึ้น ๆ
- การเติมน้ำใส่ตุ่ม หรือการหยอดเหรียญใส่กระปุกออมสิน ถ้าวันไหนไม่ยอมเติม-ไม่ยอมหยอด น้ำในตุ่ม หรือเงินในกระปุก มันก็ยังคงเท่าเดิม แต่ทักษะภาษาอังกฤษไม่ใช่อย่างนั้น ถ้าในวันใหม่ไม่ยอมฝึกเติมให้มัน ทักษะเก่าของวันวานจะค่อย ๆ หายไป ๆ เหมือนคำพูดในภาษาอังกฤษว่า use it or lose it นั่นแหละครับ และนี่คือความต่างที่เด่นชัดที่สุด ระหว่างการเติมน้ำใส่ตุ่มกับการเติมภาษาอังกฤษใส่ตัว
ในแง่นี้ การเติมทักษะภาษาอังกฤษใส่ตัว จึงต้องเปรียบเทียบเหมือนการปลูกไม้ยืนต้นให้โต เมื่อต้นไม้ยังเล็กอยู่ เราต้องหมั่นรดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย ให้ต้นไม้เติบโต จนรากงอกลึกยาวลงไปใต้พื้นดินและหาน้ำหาอาหารเลี้ยงตัวเองได้ เมื่อต้นแข็งแรงและโตใหญ่เช่นนี้แล้ว ภาระในการดูแลต้นไม้ของเราก็ลดน้อยลง ในหน้าแล้งที่รากของมันหาอาหารได้ยาก แต่มันก็ไม่ตาย เพราะเราดูแลมันตั้งแต่เป็นต้นอ่อนจนกลายเป็นไม้ยืนต้นไปแล้ว ในหน้าแล้งอย่างนี้ เราเพียงให้น้ำหรืออาหารเสริมบ้างมันก็สดชื่นขึ้นได้ ทักษะภาษาอังกฤษในตัวเองที่เรายอมออกแรงดูแลตั้งแต่เป็นต้นอ่อนจนมันกลายเป็นไม้ยืนต้น ก็มีลักษณะเหมือนกัน มันจะไม่ตายง่าย ๆ
ผมนำเรื่องนี้มาพูดก็เพราะผมเห็นว่า ทักษะภาษาอังกฤษมันเป็นความจำเป็นของยุคสมัย และประเทศไทยซึ่งแผ่นดินตั้งอยู่ ณ ตรงนี้ของผืนโลก ก็ถูกคาดหวังว่า เจ้าของแผ่นดินจะสามารถพูดภาษาสากลภาษานี้ ที่แขกบ้านแขกเมืองเขาพูดได้ ถ้าเราพูดไม่ได้(และอ่านไม่ได้) มันคงไม่ใช่เรื่องดีเลย
เมื่อ 100 ปีที่แล้ว ถ้าเราเคยเกิดมาแล้วในประเทศนี้บนแผ่นดินนี้ และในอีก 100 ปีข้างหน้าหลังจากที่เราตายไปแล้วและมาเกิดใหม่บนแผ่นดินนี้อีก ในเวลานั้น(อดีต)และเวลาโน้น(อนาคต) เราชาวบ้านคนไทย อาจไม่จำเป็นต้องพูด – ไม่จำเป็นต้องอ่านภาษาอังกฤษ แต่ ณ วันนี้เราจำเป็น และเราก็ไม่ควรหลีกเลี่ยง เพราะมันเป็นหน้าที่เพื่อตัวเอง เพื่อครอบครัว เพื่อที่ทำงาน และเพื่อประเทศชาติของเรา
และเราก็สามารถทำได้ ถ้าเราตั้งใจจะทำจริง ๆ
พิพัฒน์
มีดิก Longman แผ่นนี้, เหมือนมีครูฝรั่งสอนภาษาส่วนตัวอยู่ที่บ้าน – เชิญดาวน์โหลดครับ
สวัสดีครับ
ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านที่ใช้ดิกชันนารี อังกฤษ – อังกฤษ ที่เรียกว่า Learner’s Dictionary อยู่เป็นประจำ [คลิกดู ข้อ 1ที่ลิงค์นี้]จะเห็นว่า ทุกวันนี้ดิกแต่ละยี่ห้อพยายามแข่งขันกันด้วยคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือดิกเล่มที่พิมพ์ออกขาย(พร้อมแผ่นโปรแกรมดิก) หรือเว็บดิกที่มีให้บริการฟรี(และช่วยโฆษณาหนังสือ) จะมีแทบทุกอย่างที่เราต้องการจากดิก และก็พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ คือ
- ความหมาย (definition)
- synonym หรือ thesaurus
- เสียงอ่านคำศัพท์ บางยี่ห้อมีทั้งสำเนียงอังกฤษ และอเมริกัน
- ประโยคตัวอย่าง
- phrasal verb
- idiom
- collocation
- usage
- word list หรือ core vocabulary
- photo หรือ image
- บางเว็บให้เรา sign up และ log in เข้าไป comment และ ถามคำถามได้อีกด้วย
ผมเองสมัยก่อนที่ยังเป็นนักเรียน ก็ได้อาศัยดิกพวกนี้แหละครับที่เป็นอาจารย์พิเศษส่วนตัว โดยที่สมัยนั้นคุณภาพของดิกก็ยังไม่ดีเท่าสมัยนี้ แถมยังไม่มีเว็บหรือ CD ให้คลิกฟังเสียง ผมต้องหัดอ่านโฟเนติกส์เอาเอง แต่สมัยนี้ทุกเว็บ จัดหนัก จัดเต็ม ให้พร้อม เพรียบ และฟรี รอให้ผู้มีใจรักที่จะศึกษา เดินเข้าไปหาเท่านั้นเอง
และวันนี้ผมมีของใหม่มาเสนออีกแล้ว คือ แผ่นดิก Longman Dictionary of American English (2008) – ของใหม่ชิ้นนี้มีอะไรที่ในเว็บไม่มี?, มีหลายอย่างครับ... ที่แน่ ๆ ก็คือว่า เมื่อดาวน์โหลดไฟล์โปรแกรมดิกนี้ไปติดตั้งลงเครื่องคอมฯ แล้ว ท่านใช้งานได้โดยไม่ต้องต่อเน็ต
เรื่องการอธิบายการใช้โปรแกรมดิก CD นี่นะครับ, ถ้าพูดมากคนที่รู้แล้วก็จะรำคาญว่าพูดมาก แต่ถ้าพูดน้อยคนที่ไม่รู้เรื่องมาก่อนก็จะรำคาญเช่นกันว่าพูดน้อยไม่เห็นรู้เรื่อง เอาเป็นว่า ผมขออธิบายด้วยภาพ 2 – 3 ภาพข้างล่างนี้แล้วกันครับ
[1] ให้ท่านดาวน์โหลดไฟล์ .rar Longman Dictionary of American English (2008)
- ขนาดประมาณ 500 MB → คลิก
- ในขั้นตอนการติดตั้ง ขอให้เลือก full, ตรงนี้อย่าลืมนะครับ
[2] เมื่อติดตั้งเสร็จ และเปิดคอมฯ ขึ้นมาแล้ว มันจะเป็นรูปนี้
ท่านจะเป็น 5 ปุ่มด้านซ้ายมือ นี่เป็นบริการที่ดิก Longman มีให้เรา, ขอให้ท่านคลิกปุ่มแรกในกรอบสี่เหลี่ยม
[3] ท่านจะมาถึงหน้านี้ ผมลงหมายเลข 1 – 6 และตัว A – G ไว้ และขออธิบายคร่าว ๆ ไปทีละตัวแล้วกันครับ
1.SETTINGS: คลิก Select Font Size ใหญ่, ปกติ, เล็ก, คลิกให้โชว์โฟเนติกส์
2.TEACHER’S CORNER จะเป็นมุมของครู จะมีเนื้อหาตามนี้ ให้ท่านศึกษา คลิกดูที่นี่
3.DICTIONARY อันนี้เป็นหัวข้อใหญ่ เดี๋ยวผมค่อยย้อนกลับมาพูดนะครับ
4.ACADEMIC Study Center เป็นเรื่อง คำศัพท์ การอ่าน การเขียน การออกเสียง การสะกดคำ การฝึกทำข้อสอบ ในเชิงวิชาการ
5.THESAURUS ขอเรียนว่า ตรงนี้มีประโยชน์มากครับ และ thesaurus ของ Longman นี่นะครับ เขาไม่ได้ไปขุดเอาศัพท์วรรณคดี ศัพท์โบราณ หรือศัพท์เทคนิค ที่คนธรรมดาสามัญ ไม่เคยเจอ ไม่จำเป็นต้องรู้ มาให้เราเรียน แต่เขานำเอาศัพท์ธรรมดาสามัญนี่แหละมาให้เราเห็น และก็เสนอคำในกลุ่ม thesaurus เพื่อให้เรามีตัวเลือกหลากหลายขึ้นเมื่อถึงเวลาต้องใช้ เครื่องมือนี้มีประโยชน์จริง ๆ ครับ คลิกดูตัวอย่าง คำว่า say ที่ลิงค์นี้
6.PHOTO DICTIONARY ตรงนี้เป็นการสอนคำศัพท์ด้วยภาพและคลิปวีดิโอ อันที่จริงในเว็บ e4thai.com นี้ก็ได้รวบรวมเนื้อหาทำนองนี้ไว้บ้างแล้ว แต่ในดิก Longman แผ่นนี้ได้รวบรวมไว้อย่างเป็นระบบในที่เดียวกัน ให้ท่านคลิกดูได้อย่างง่ายดาย คลิกดูที่นี่
คราวนี้ผมขอย้อนกลับมาอธิบาย ข้อ 3 เรื่อง DICTIONARY ขอให้ท่านดูภาพข้างบน ตั้งแต่ ตัว A ถึง G อีกครั้ง
- ตัว A ถึง F เป็นการ search ตามวิธีปกติ ที่เรียกว่า simple search
- ส่วนตัว G เป็นการ search แบบก้าวหน้า ที่เรียกว่า advanced search
ค่อย ๆ ดูไปทีละตัวนะครับ
A – ท่านพิมพ์คำศัพท์ลงไปในช่องนี้, สมมุติเป็นคำว่า light แล้ว Enter
ท่านจะเห็นว่า ในคอลัมน์ซ้ายมือ ด้านล่างลงมา เขาจะแสดงคำว่า light แยกตามประเภทของคำ ท่านจะเห็นในวงรีสีแดง A1 เป็น light 1 noun, light 2 adjective, light 3 verb, light 4 adverb; และต่อด้วย light ในวงสีเขียว A2 เป็นคำประสม หรือคำอื่น ๆ ที่นำหน้าด้วย light
เมื่อท่านคลิกคำว่า light ในกลุ่ม A1 หรือ A2 โปรแกรมก็จะแสดงผลในคอลัมน์กลางหน้า
B – คลิกฟังการออกเสียงคำศัพท์ สำเนียงอเมริกัน จะคลิกฟังซ้ำ ๆ กี่ครั้งก็ได้ แต่ควรถือโอกาสนี้ฝึกออกเสียงตาม ผมขอแนะนำอย่างดัง ๆ ให้ใช้ปุ่มนี้ เป็นที่ฝึกฟังให้ชินหู และฝึกออกเสียงให้ชินปาก ขอเรียนว่า ฝึกกับตรงนี้ สะดวกกว่าฝึกกับเว็บ เพราะคลิกแล้วจะได้ยินเสียงทันทีเลย ไม่ต้องรอเหมือนกับฝึกกับเว็บ ซึ่งเน็ตอาจจะช้าหรือล่ม ส่วนคุณครูก็สามารถนำไปเปิดสอนเด็กได้ทันทีเช่นกัน
BB – จะเป็นไอคอนรูปลำโพงหน้าประโยค ให้ท่านคลิกฟังการอ่านประโยคทั้งประโยค สำหรับผม นี่เป็นปุ่มที่โดดเด่นที่สุดของ CD Dict แผ่นนิ้ เพราะโดยปกติที่ผ่านมา เราจะเจอแต่ที่เขาออกเสียงให้ฟังเป็นคำ ๆ แต่ที่นี่ เขาอ่านให้ฟังทั้งประโยคเลย และเสียงที่ฟังก็เป็นเสียงธรรมชาติ ไม่ใช่เสียงอิเล็กทรอนิกส์หรือเสียงหุ่นยนต์ เป็นเสียงดังฟังชัด เราสามารถฝึกพูดตามได้เป็นอย่างดี ครั้งแรก ๆ อาจจะพูดพร้อมกับอ่าน แต่ครั้งต่อ ๆ ไป ก็ลองพูดตามโดยไม่ต้องอ่าน และอาจจะพลิกแพลงฝึกอย่างอื่น เช่น คลิกฟังและเขียนตามที่ได้ยิน แล้วนำที่เขียนมาเทียบกับประโยคบนจอ ดูซิว่าตรงกันหรือไม่ เช่น ผิดตรงเสียงท้ายคำ –e, -ed, -s, -es หรือเปล่า? เรื่องอย่างนี้ถ้าตั้งใจก็ฝึกได้เยอะครับ หรือถ้าวันไหนไม่มีแรงหรือขี้เกียจก็แค่คลิกฟังเฉย ๆ ให้เสียงภาษาอังกฤษมันเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา ก็เชื่อว่ามีประโยคกว่าอยู่เฉย ๆ
- ลำดับแรก แบบไม่ต้องคิดอะไรมาก ตอนนี้ใน stock สมองของท่านรู้ศัพท์คำว่าอะไรบ้าง ก็พิมพ์คำนั้นแหละครับลงไป และอ่านความหมาย, คลิกฟังเสียงอ่านคำศัพท์(+ออกเสียงตาม), คลิกฟังเสียงอ่านประโยค(+พูดตาม) เอาแค่นี้แหละครับ วันละประมาณ 20 คำ
- ลองพิมพ์คำศัพท์ที่ใช้ตั้งต้นประโยคคำถาม เช่น what, when, where, how, why, who และฝึกพูดตาม ให้คุ้นเคยกับประโยคพวกนี้
C – นี่คืออักษร โฟเนติกส์ (เมื่อตะกี้ในข้อ 1.SETTINGS ผมบอกให้ท่านติ๊กตรงนี้เพื่อให้มันโชว์โฟเนติกส์) ถ้าต้องการศึกษาอักษรโฟเนติส์ ว่าออกเสียงยังไง ก็ศึกษาของจริง ได้ที่นี่แหละครับ
D – Etymology คลิกตรงนี้เขาจะบอกที่มาของศัพท์คำนี้อย่างคร่าว ๆ เช่น คำว่า love เป็น [Origin: Old English lufu]
E – listen and repeat ตรงนี้เราต้องมีหูฟังที่มีแจ๊ก 2 ตัว คือแจ๊กไมโครโฟนสีชมพู และแจ๊กลำโพงสีเขียว เสียบเข้าไปที่เครื่องคอมฯ เมื่อฟังเสียงอ่านประโยคแล้ว ก็คลิก Record your own sound และพูดประโยคนั้น และคลิก Play your own sound เพื่อฟังเสียงของตัวเอง และเปรียบเทียบว่า มันถูกต้องใกล้เคียงกับกับเสียงต้นฉบับหรือไม่ แต่เรื่องนี้ต้องขอสารภาพครับว่า ผมทำไม่สำเร็จ เพราะเครื่องคอมฯ มันไม่ยอมอัดเสียงของผม ไม่รู้ว่าเกิดจากอะไร ท่านใดไม่มีปัญหาเรื่องนี้ เขียนมาเล่าบ้างนะครับ ขอบคุณมากครับ
F – ถ้าต้องการคลิกดูความหมายของคำใด ก็ดับเบิ้ลคลิกคำนั้น และมันจะมีหน้าต่างเล็กแสดงความหมายของคำนั้น พูดง่าย ๆ ว่า เปิดดิกในดิกอีกที อย่างตัวอย่างข้างบน เมื่อคลิกคำว่า traffic ก็จะมีหน้าต่างเล็กโชว์ความหมายของ traffic เมื่อดูเสร็จก็คลิกปิดหน้าต่างเล็กนี้
เอาละครับ ที่พูดมาทั้งหมด ตั้งแต่ A ถึง F นี้ คือ simple search
ต่อไปให้ท่านคลิก ที่ตัว G ในภาพ ซึ่งจะนำท่านไปสู่ advanced search ตามภาพข้างล่างนี้ ซึ่งมีประโยชน์มาก ซึ่งหลายคนอาจจะรู้สึกว่ายุ่งยาก แต่ผมขอยืนยันว่า แม้ท่านอาจจะรู้สึกว่ายุ่งยาก แต่มันก็มีประโยชน์เยอะ คุ้มค่ากับความยุ่งยาก ซึ่งจริง ๆ แล้วมันก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร ขอให้ท่านคลิกที่ตัว G และค่อย ๆ ตามผมไปที่ละ step ตามภาพข้างล่างนี้
มีปุ่มที่จะศึกษาทั้งหมด 10 ปุ่ม ตามหมายเลข 1 ถึง 10 ข้างบน
อันดับแรก
ผมขอแนะนำการใช้ปุ่มที่ 1 ถึง ปุ่มที่ 5 ซึ่งใช้พิมพ์คำศัพท์ เพื่อ search ข้อมูล ดังต่อไปนี้
ปุ่มที่ 1.Headwords เป็นการพิมพ์หาศัพท์ที่ใช้เป็นคำตั้งต้น (ตัวดำ) ในดิก
ปุ่มที่ 2.Keywords เป็นการพิมพ์หาศัพท์ที่ใช้เป็นคำหลัก เช่น เป็นคำที่เป็นส่วนผสมของ phrasal verb, idiom, collocation อย่างเช่น เราต้องการรู้ว่า คำว่า dog ไปเป็นคำหลักใน ถ้อยคำ สำนวน คำพูดที่ติดปาก อะไรบ้าง ก็สามารถหาได้ด้วยวิธีนี้
ปุ่มที่ 3.Academic Wordlist นี่คือการหาคำที่เป็นศัพท์วิชาการ วิธีหาอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ติ๊กปุ่มที่ 3 และติ๊กปุ่มที่ 6 โดยในปุ่มที่ 6 นี้ เลือกสาขาที่ท่านสนใจ เช่น Economics ท่านก็จะได้ศัพท์วิชาการทั้งหมดที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
ปุ่มที่ 4.Definitions นี่เป็นเครื่องมือการ search ที่น่าสนใจมาก ๆ คือ เราสามารถหาได้ว่า ศัพท์คำนี้ เช่น คำว่า computer เขานำไปเป็น definition หรือคำจำกัดความของศัพท์คำใดบ้างในดิกทั้งเล่ม พูดง่าย ๆ นี่ก็คือ การหาศัพท์หมวดนั่นเอง และด้วยการคลิกเพียงครั้งเดียว คลิกดูคำอธิบาย
ปุ่มที่ 5.Examples
นี่เป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์มาก ๆ ของดิก Longman แผ่นนี้ คือ เราสามารถหาได้ว่า ศัพท์คำที่ต้องการหานี้ มีประโยคหรือวลีตัวอย่างอะไรบ้างที่แสดงการใช้ และด้วยการคลิกเพียงครั้งเดียวเราก็สามารถหาได้ทั้งเล่ม การหาก็ทำวิธีเดียวกับการหา definition เพียงแต่เปลี่ยนมาติ๊กหมายเลข 5 Examples อย่างเช่น ท่านต้องการหาประโยคตัวอย่างของคำว่า computer ก็จะได้ HITS:92 คือมีทั้งหมด 92 ประโยคตัวอย่างที่ใช้คำว่า computer
และประโยคตัวอย่างทั้งหมดนี้แหละครับ ที่ท่านสามารถฝึกฟัง-ฝึกพูด ให้ชำนาญ เลือกได้เลยครับ ตามที่ชอบ
อันดับต่อไป
ผมขอแนะนำการใช้ปุ่มที่ 6 ถึง ปุ่มที่ 10 โดยท่านไม่ต้องพิมพ์คำในช่อง search แต่สามารถติ๊กที่ปุ่มตามหมายเลขได้เลย ดังนี้
ปุ่มที่ 6.Content Vocabulary
ศัพท์บางคำในดิก Longman แผ่นนี้ เป็นศัพท์ที่มีการใช้ค่อนข้างเจาะจงในแวดวงหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะ ซึ่งเขาแบ่งไว้ในปุ่ม Content Vocabulary นี้เป็นทั้งหมด 13 กลุ่ม เรียงตามลำดับตัวอักษร เริ่มตั้งแต่ biology ไปจบที่ Social science, ที่ปุ่มหมายเลข 6 นี้ เราเพียงคลิกเลือกที่สาขาใดสาขาหนึ่ง เช่น Social science , คลิก GO, ก็จะเห็น HITS:57 แสดงว่าในดิก Longman แผ่นนี้มีศัพท์ที่ใช้ในความหมายของ social science 57 แห่ง
ปุ่มที่7.Part of Speech
นี่เป็นอีก 1 ปุ่มที่มีประโยชน์มาก ๆ คือโดยทั่วไป ศัพท์คำหนึ่ง ๆ อาจจะทำหลายหน้าที่ เช่น คำว่า light เป็นทั้ง noun = แสงไฟ, เป็น verb = จุดไฟ, เป็น adjective = น้ำหนักเบา แต่บางครั้งเราต้องการศึกษาคำศัพท์ที่ทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เราต้องการรู้ว่า ในดิกเล่มนี้ เฉพาะคำที่เป็น verb มีคำว่าอะไรบ้าง และมันมีความหมายว่าอย่างไร เราก็สามารถหาได้ โดยปุ่มที่ 7.Part of Speech นี้ เมื่อคลิกเลือก verb, GO ก็จะพบว่า มี HITS:4262; หรือ adjective มี HITS:5113; หรือ noun เมื่อใช้คู่กับ 6.Content Vocabulary – Politics ก็จะมี HITS:157 เป็นต้น เราสามารถใช้ปุ่มที่ 7 (Part of Speech) ค้นหาได้หลายลักษณะ ซึ่งอาจใช้ควบคู่ไปกับปุ่มที่ 6.Content Vocabulary, และปุ่มที่ 8 Labels
ปุ่มที่ 8.Labels เป็นการบอกความสูง-ต่ำ, ละเอียด-หยาบ, อารมณ์-ความรู้สึก, และการใช้ภาษาในลักษณะต่าง ๆ เราสามารถ search[คลิก GO] ให้ดิกโชว์เฉพาะคำพวกนี้ก็ได้ เช่น
Formal ภาษาทางการ [HITS:1405]– informal ภาษาไม่เป็นทางการ[HITS:1346]
Written ภาษาเขียน [HITS:36] – spoken ภาษาพูด [HITS:505] –
Approving ภาษาแสดงความชื่นชม เช่น (child-like น่ารักซื่อ ๆ แบบเด็ก ๆ) [HITS:28]
– disapproving ภาษาแสดงความรังเกียจ เช่น (childish – งี่เง่ายังกะเด็ก ๆ) [HITS:251]
Humorous ภาษาขบขัน [HITS:34] – slang ภาษาสแลง [HITS:45]
ปุ่มที่ 9.Prefixes
ปุ่มที่ 10.Suffixes
ปุ่มที่ 9 และ 10 นี้คล้าย ๆ กัน คือ เราสามารถระบุคำที่ขึ้นต้นด้วย prefix หรือ suffix ที่เราต้องการศึกษาเป็นการเฉพาะ และอาจใช้ร่วมกับปุ่มที่ 7.Part of Speech ก็ได้ เช่น
- ปุ่มที่ 9.Prefixes{mis-} ใช้คู่กับ ปุ่มที่ 7.Part of Speech{verb} ได้ HITS:72 คือ คำที่ขึ้นต้นด้วย mis- และเป็น verb มีทั้งหมด 72 คำ
- ปุ่มที่ 10.Suffixes{-less}ใช้คู่กับ ปุ่มที่ 7.Part of Speech{adjective} ได้ HITS:154 คือ คำที่ลงท้ายด้วย –less และเป็น adjective มีทั้งหมด 154 คำ
ท่านผู้อ่านครับ ทั้งหมดนี้เป็นการแนะนำที่ค่อนข้างยึดยาวและอาจจะน่าเบื่อ ซึ่งจริง ๆ แล้ว สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยอาจจะต้องจัดเป็นคอร์สใช้เวลาอบรมเต็มวัน แต่ผมหวังว่า เท่าที่ชี้แจงมานี้ คงช่วยทำความเข้าใจเบื้องต้นในการใช้ได้บ้าง ผมขอแนะนำให้ท่านที่เห็นประโยชน์ของโปรแกรมดิก Longman แผ่นนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านครูอาจารย์พยายามทำความเข้าใจกับมัน ผมเชื่อว่าเด็กจะได้รับประโยชน์มากทีเดียว ทั้งในการทำข้อสอบ และในการเพิ่มทักษะการฟัง-พูด-อ่าน-เขียน ซึ่งเอาไปใช้ได้ในชีวิตจริง แม้จะไม่มีในข้อสอบ
พิพัฒน์
https://www.facebook.com/En4Th/
หลงป่า:ยิ่งเดินยิ่งหลง; แต่ งงอ่าน:ยิ่งอ่านยิ่งหายงง
สวัสดีครับ
ผมเคยถามเพื่อนคนหนึ่งว่า เคยอ่าน นสพ.ฝรั่งจบเล่มไหม? เพื่อนคนนั้นตอบว่า เมื่อปีที่แล้วควักเงินซื้อ Bangkok Post มาอ่านฉบับหนึ่ง ปีนี้ยังอ่านไม่จบเลย ผมชมว่าเขาอ่านได้ประหยัดมาก แค่ 30 บาทอ่านได้ข้ามปี
ผมเข้าใจดีครับว่า ถ้าเราอ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง ก็คงไม่มีกำลังใจจะอ่านต่อ เพราะอ่านไปโดยไม่รู้เรื่องก็คงเหมือนเดินหลงทางในป่า ถ้าเตลิดเปิดเปิงก็จะไปกันใหญ่ หยุดนั่งอยู่กับที่รอให้คนมาช่วยจะดีกว่า ยิ่งเป็นป่าที่ไม่คุ้นด้วยแล้วไม่ควรหาญ
ผมจะบอกว่าคำอุปมาข้างบนนี้ เป็นคำอุปมาที่เหลวไหลไร้สาระสุด ๆ เพราะการออกเดินลุยฝึกภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นการฟัง, พูด, อ่าน, หรือเขียน ต่อให้เรารู้สึกว่า “ไม่รู้เรื่อง” แต่มันก็ “ได้เรื่อง” ไม่มากก็น้อย และถ้าเราลุยต่อไปเรื่อย ๆ มันก็จะได้เรื่องและรู้เรื่องมากขึ้นเอง ทั้งนี้เพราะผมเชื่อว่า มนุษย์เป็นสัตว์ภาษา เมื่อเราใช้ภาษาโดยการ “ส่งสาร” และ “รับสาร” ต่อให้การส่งและรับสารเป็นไปอย่างมั่วๆสะเปะสะปะไม่รู้เรื่องเพราะไม่มีครูสอน แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเองเรื่อย ๆ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ภาษาที่มีพรสวรรค์ในการเรียนรู้ภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิดทุกคน ในเรื่องภาษา มนุษย์ไม่ได้เปรียบเหมือนสัตว์ป่าที่จะต้องหลงป่าอยู่ร่ำไปทั้งชีวิตถ้าไม่มีครูเป็นพรานคอยนำทาง
ย้อนมาถึงเพื่อนของผมคนที่อ่าน Bangkok Post เล่มเดียวข้ามปีคนนั้น ผมจะบอกว่า เขาทำผิดที่นั่งอยู่เฉย ๆ รอให้คนมาช่วย เพราะการอ่านภาษาอังกฤษแล้วไม่รู้เรื่องนั้นต่างจากการหลงป่า การหลงป่านั้นยิ่งเดินยิ่งหลง แต่การอ่านแม้ไม่รู้เรื่องแต่ยิ่งลุยอ่านกลับยิ่งหลุดพ้นออกมาจากความหลง มันต่างกันตรงนี้
และวันนี้ผมมีนิตยสารมาให้ท่านลุยอ่าน 1 เล่ม คือนิตยสาร The Economist ของอังกฤษ ซึ่งมีทั้งไฟล์ pdf ให้อ่าน และไฟล์ mp3 ให้ฟัง
ตามปกติที่เว็บ www.englishtips.org มีไฟล์นิตยสารรายสัปดาห์ฉบับนี้ให้ดาวน์โหลด เขามักจะให้เฉพาะ audio file ยกเว้นบางฉบับโชคดีมีให้ครบทั้งไฟล์ mp3 และ pdf วิธีดาวน์โหลดไฟล์ก็ง่าย ๆ โดย (1)เข้าไปที่เว็บนี้ (2) register และ log in (3)ถ้าภาษาในเว็บเป็นรัสเซียอ่านไม่รู้เรื่องก็ให้คลิกรูปธงชาติอังกฤษตอนบนของเว็บ (4)พิมพ์คำค้นว่า The Economist ลงค้นในช่อง Search ของเว็บ (5)ดาวน์โหลดไฟล์ โดยอย่าลืมคลิกที่ Mirror ของลิงค์ดาวน์โหลด (6)ถ้าเป็นไฟล์ Rar หรือ Zip ตอน extract ไฟล์อาจจะต้องใส่ code englishtips.org, ก็เท่านี้แหละครับ
อย่างวันนี้ ผมมีไฟล์ pdf และ mp3 มาให้ท่านลองฝึกอ่าน และ ฝึกฟัง จาก The Economist ฉบับวันที่ 8 – 14 November 2014
ทดลองอ่านและฟัง เรื่อง China – Foreign Policy
คลิกดาวน์โหลดทั้งฉบับ
นี่เป็นอุปกรณ์ฟรีที่ใช้ลุยฝึกอ่านและฝึกฟังภาษาอังกฤษโดยไม่เสียเงิน ถ้าท่านสนใจก็เข้าไปดาวน์โหลดมาอ่านและฟังได้เรื่อย ๆ ที่เว็บ www.englishtips.org นี้
พิพัฒน์
More Articles...
- ช่วยหาที่ผิดให้หน่อยครับ...
- 10 เทคนิคบอกลาความ “ขี้เกียจ” (สำหรับนักเรียน)
- ดาวน์โหลด Fundamentals of English Grammar
- “เคล็ดลับ 10 ข้อในการฝึกพูดภาษาอังกฤษ ที่จะช่วยให้คุณกล้าพูดได้อย่างมั่นใจ!!”
- สัญญานั้นสำคัญ...
- วิธีฝึกศัพท์ให้ จำได้+เข้าใจ+ใช้เป็น
- หา story ที่ชอบให้พบ, และอ่านเรื่องนั้นทุกวัน, ไม่มากก็น้อย จะได้ประโยชน์มหาศาล
- ขอทราบความเห็นของท่านผู้อ่านหน่อยครับ
- เว็บ e4thai.com เปิดคอลัมน์ พูดคุย แลกเปลี่ยน ถามตอบ ปัญหาภาษาอังกฤษ แล้วครับ
- ศัพท์ ภาษา จินตนาการ
- อย่าเอาแต่เรียนภาษาอังกฤษอยู่ใน comfort zone เลยครับ
- วิธีฝึกอ่าน e-book สำหรับท่านที่ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง
- ถ้าวางแผนให้ลูกหลานโตขึ้นเป็นนายกฯ ควรหัดให้พูดภาษาอังกฤษคล่อง ๆ ตั้งแต่วันนี้
- ฝึกภาษาอังกฤษแบบสบาย ๆ ตามสไตล์ของผม
- ทำไมเวลาเราพูดผิด เพื่อนฝรั่งไม่ช่วยแก้ให้ถูก
- "นักเรียน" ที่ผมอยากเห็น...
- ฝึกอังกฤษในวันที่ไม่มีเวลา เหนื่อย เบื่อ และ “ฝนตก”
- แนะนำ เว็บเรียนภาษาอังกฤษฟรี กับ อาจารย์อดัม
- ข้อแนะนำเรื่อง การศึกษา “คำศัพท์-คำแปล-คำนิยาม-ประโยคตัวอย่าง”
- 20 วิธีที่ช่วยให้เรียนภาษาอังกฤษได้เร็วขึ้น