Home
ขอลางาน 4 วัน
สวัสดีครับ
ผมขอลางาน 4 วัน
ไปล้างพิษตับที่เมืองกาญจน์
จะกลับวันที่ 12 ตุลา ครับ
พิพัฒน์
ฝึกพูดซ้ำ ๆ กับประโยคง่าย ๆ-ศัพท์ง่าย-ใช้บ่อย
สวัสดีครับ
ที่ลิงค์นี้
http://www.youtube.com/playlist?list=PLDsaecWm7XsW56W8aiDPrnO7X3ebweCqj
มีวีดิโอทั้งหมด 21 คลิป รวมความยาว 3 ชั่วโมง 29 นาที
โดยวีดิโอจะแสดงประโยคบนจอ อ่านออกเสียงช้า ๆ ให้ท่านฟัง และเว้นว่างให้ท่านฝึกพูดตามไปทีละประโยค ๆ
แต่ละคลิปจะกำหนด pattern ของประโยคต่างกันไป แต่ก็ล้วนเป็น pattern พื้นฐานที่ใช้ในการพูดสนทนาทั้งสิ้น และศัพท์ที่นำมาผูกประโยคก็เป็นศัพท์พื้นฐานที่ใช้บ่อย ๆ เช่นกัน คลิปชุดนี้จึงมีประโยชน์มากในการฝึกภาษาอังกฤษ ทั้งการออกเสียง, การฝึกพูด, การเรียนรู้รูปประโยคและศัพท์ที่ใช้ในการพูด
ผมเข้าใจว่า สื่อการฝึกภาษาอังกฤษในลักษณะนี้ ซึ่งต้องอาศัยการพูดออกเสียงอย่างซ้ำ ๆ อ่านซ้ำ ๆ จะทำให้คนที่มีความอดทนน้อยเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายได้ง่ายที่สุด และนี่ก็เป็นสาเหตุที่ใหญ่มากที่ทำให้คนรุ่นใหม่ทุกวันนี้ฝึกพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้ผล เพราะเอาแต่ยืนกรานว่า ถ้าไม่สนุกจะไม่ยอมฝึก ส่วนวิธีที่สนุกนั้น พวกเราเคยวิเคราะห์กันบ้างหรือไม่ว่า มันได้ผลมากและเร็ว คุ้มค่ากับเวลาและเงินทองที่ต้องเสียไปหรือไม่
ผมสังเกตว่า วิธีฝึกพูดภาษาอังกฤษที่ครูดัง ๆ ทุกวันนี้ใช้สอน มักจะตัดวิธีการให้ฝึกพูดซ้ำ ๆ ซาก ๆ ออกไปเลย เพระมันเป็นวิธีที่ขัดกับจริตของคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ค่อยมีความอดทน (แต่มีเงินจ่ายเข้าคอร์สสนทนาภาษาอังกฤษ) แม้ว่าวิธีฝึกพูดซ้ำ ๆ ซาก ๆ จะได้ผลมากกว่าวิธีเรียนที่สนุก นั่งลุกสบาย หลายเท่าก็ตาม
การพูดภาษาอังกฤษได้ จะต้องมีทั้งการเข้าใจและจำได้ และการจำได้จะต้องจำด้วย 2 อวัยวะ คือ 1)จำด้วยสมอง และ 2)จำได้ด้วยปากเพราะพูดจนเจนปาก หลายคนที่จบจากคอร์สสนทนาภาษาอังกฤษ อาจจะได้ความเข้าใจและความสนุกมาเต็มเปี่ยม แต่ไม่ได้ติดนิสัยในการบอกให้สมองท่องจนจำได้ และไม่ได้ติดนิสัยในการบอกให้ปากพูดจนเจนปากและจำได้ ถ้าเป็นอย่างนี้ก็น่าเสียดายนัก เพราะความเข้าใจและความสนุกไม่เท่าไรก็ลืม
สำหรับท่านที่ฝึกภาษาอังกฤษ คงเคยได้ยินประโยค Practice makes perfect. ซึ่งแปลว่า ถ้าได้ทำอะไรก็ตามซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็จะทำให้เกิดความชำนาญและทำสิ่งนั้นได้ดี ผมอยากจะบอกว่า สำหรับการฝึกพูดประโยคภาษาอังกฤษ ที่ใช้ pattern เดิม ๆ ศัพท์เดิม ๆ บ่อย ๆ โดยไม่ยอมแพ้ความเบื่อ จะช่วยให้เราพูดภาษาอังกฤษได้เก่งและเร็ว
ศัพท์เจาะจงที่หมายถึงการทำซ้ำ ๆ ซาก เพื่อให้เกิดความชำนาญนี้ ภาษาอังกฤษ คือคำว่า drill และผมเชื่อว่า Drill makes perfect.
ผมจึงขอชวนให้ท่านฝึกพูดภาษาอังกฤษ โดยออกเสียงดัง ๆ ตามคลิปในลิงค์นี้
http://www.youtube.com/playlist?list=PLDsaecWm7XsW56W8aiDPrnO7X3ebweCqj
โดยพยายามฝึกซ้ำ ๆ แบบเบื่อไม่เป็น ผลสำเร็จอยู่ไม่ไกลหรอกครับ ขอให้ท่านลองฝึกด้วยวิธีนี้เพิ่มเติมกับวิธีอื่นที่ท่านใช้ฝึกแล้วได้ผล แต่ถ้าท่านลองฝึกมาแล้วหลายวิธีแต่ไม่ได้ผลสักวิธี ลองวิธีนี้ดูนะครับ
หมายเหตุ: ผมได้นำคลิปทั้ง 21 คลิป มาให้ท่านดาวน์โหลดแล้วครับ
ที่นี่:คลิก ดาวน์โหลด คลิป ฝึกพูดซ้ำ ๆ กับประโยคง่าย ๆ-ศัพท์ง่าย-ใช้บ่อย
พิพัฒน์
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
ความสำเร็จในการพูดภาษาอังกฤษ
สวัสดีครับ
ผมไปเจอคลิป The Dance of Learning
http://www.youtube.com/watch?v=GFu5bV-lUfA
ซึ่งได้อธิบายเรื่อง ความก้าวหน้าและความก้าวหน้าที่หยุดชะงักในการพูดภาษาอังกฤษ แต่ถ้าเรายังคงฝึกฟังและฝึกอ่านเรื่อยไปไม่หยุดยั้ง – ความสำเร็จในการพูดภาษาอังกฤษ จะมีมาเองโดยอัตโนมัติ
ผมประทับใจในคลิป/บทความนี้มาก จนไม่อยากย่อความเพราะกลัวว่าย่อแล้วจะทำให้สูญเสียสาระและรส จึงขอนำมาแปลเสนอ คำต่อคำ ข้างล่างนี้ครับ
When learning any difficult skill, there is a dance that goes on.
We do not learn in a regular, linear, methodical way.
ไม่ว่าจะเรียนรู้เรื่องยากอันใด ทุกเรื่องมีจังหวะของมันอยู่
และจังหวะที่ว่านี้ มิได้เคลื่อนเป็นเส้นเดี่ยวตามลีลาปกติ หรือมิได้มีระบบระเบียบอะไรนัก
Learning occurs in spurts.
Sudden jumps in skill are interspersed with plateaus
in which nothing much seems to happen.
การเรียนรู้เกิดขึ้นแบบปะทุ
ทักษะที่เกิดปุบปับมักปนกับความก้าวหน้าที่ชะงัก
ในเวลาที่ดูเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นสักเท่าไหร่
Of course, we generally love the sudden improvements,
and become very frustrated during the plateaus.
It’s easy to understand why.
แน่นอนละ เรามักชอบช่วงเวลาที่เราเก่งขึ้น
และรู้สึกอึดอัดขัดใจกับความก้าวหน้าที่ชะงัก เรื่องนี้เข้าใจได้ไม่ยาก
We were working hard. We were making fast progress.
Then suddenly, all progress seems to stop.
เราฝึกหนัก และเห็นผลอย่างรวดเร็ว
แต่ปุ๊บปั๊บดูเหมือนว่าความก้าวหน้าจะหยุดกึกเอาดื้อ ๆ
We keep working. We keep listening and reading. We keep reviewing.
We might even increase the time and energy we devote to language learning.
Yet nothing much seems to happen.
เราฝึกต่อไป เราฝึกฟัง เราฝึกอ่าน เราทบทวนบทเรียน
เราอุทิศเวลาและเรี่ยวแรงมากขึ้นกับการเรียนภาษาอังกฤษ
แต่ดูเหมือนไม่มีอะไรก้าวหน้าขึ้นเลย
At such times, it’s easy to panic. We start having crazy thoughts like,
"I'm never going to learn English", "I'm not learning anymore", "this is impossible".
พอเจออย่างนี้เราก็ตกใจ ชักจะคิดเตลิดไปว่า
เราเรียนภาษาอังกฤษไม่ได้ผลอะไรเลย เราไม่เรียนมันแล้ว ถึงเรียนไปก็ไม่รู้เรื่อง
If we indulge these feelings, we may start to lose our motivation.
We become frustrated and depressed, and convince ourselves that we will never again make good progress.
ถ้าเรามัวแต่รู้สึกอย่างนี้ กำลังใจก็จะหมด เราจะรู้สึกอึดอัด ขัดข้อง หดหู่
เอาแต่พร่ำบอกตัวเองว่า ถึงฝึกไปก็คงไม่ก้าวหน้าอีกแล้ว
During such times, it’s important to realize that this phenomenon is universal.
It applies to learning ANY skill-- not just language learning.
Athletes experience the same cycles of rapid progress and plateaus.
ในห้วงเวลาอย่างนี้ สิ่งสำคัญคือมองให้ออกว่า ของอย่างนี้ใคร ๆ ก็เจอ
มันไม่ใช่เฉพาะการเรียนภาษา แต่ไม่ว่าจะฝึกทักษะอะไรก็ไม่ต่างไปจากนี้
พวกนักกีฬาก็เจอวงจรเดียวกัน - เก่งขึ้นพรวดพราดสลับกับเก่งเท่าเก่าไม่ก้าวหน้า
At times, their strength, skill, and endurance improve quickly.
At other times, they train intensely yet make only a little bit of progress.
Athletes must deal with the same frustrations that language learners face.
บางเวลา ความเข้มแข็ง เก่งกาจ ทนทาน พุ่งขึ้นปรู๊ดปร๊าดอย่างรวดเร็ว
แต่บางเวลา แม้จะฝึกหนักแต่ความก้าวหน้าแทบไม่กระดิก
นักกีฬาก็เจออย่างนี้เหมือนอย่างที่คนเรียนภาษาเจอ
What we must realize is that the plateaus are natural and necessary.
In fact, many psychologists believe that the plateaus are where the real learning is taking place.
ความจริงที่เราต้องตระหนักก็คือ ช่วงความก้าวหน้าหยุดชะงัก เป็นเรื่องธรรมดาและจำเป็น
และจริง ๆ แล้ว นักจิตวิทยามากมายก็เชื่อว่าห้วงเวลาที่ความก้าวหน้าหยุดชะงัก
คือเวลาที่การเรียนรู้อันแท้จริงกำลังเกิดขึ้น
While you seem to be making no progress, your brain is in fact processing all the new information,
creating new neural networks, linking pieces of information together, and learning how to access and use it.
เวลาที่ความก้าวหน้าหยุดชะงัก แท้จริงแล้วเป็นเวลาที่สมองกำลังประมวลข้อมูลใหม่
สร้างเครือข่ายใหม่ในสมอง โยงใยข้อมูลเข้าด้วยกัน และเรียนรู้วิธีเข้าถึงและใช้งาน
Your speech may not seem to be improving- but inside your brain, dramatic changes are happening.
Once these changes are complete you "suddenly" make rapid progress again.
อาจจะดูเหมือนว่า คุณไม่ได้พูดภาษาอังกฤษดีขึ้นเลย
แต่จริง ๆ แล้ว ภายในสมองของคุณกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย
และทันทีที่การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เสร็จสมบูรณ์
คุณจะพบว่าได้เกิดความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว “ฉับพลัน” ขึ้นมาอีกครั้ง
In other words, what you do during the plateaus
determines how much and how fast you improve during the learning jumps.
พูดอีกอย่างก็คือ ภาษาอังกฤษที่คุณฝึกระหว่างช่วงความก้าวหน้าหยุดชะงัก
จะเป็นตัวกำหนดว่า เมื่อถึงช่วงที่ความก้าวหน้ากระโดดไปข้างหน้า
มันจะไปได้มากหรือเร็วเพียงใด
This relates to another common experience that most researchers and language learners recognize
-- understanding is usually more advanced than speaking.
ประสบการณ์แบบนี้เหมือนกับที่นักวิจัยและคนเรียนภาษาส่วนใหญ่เคยเจอ
– นั่นก็คือ คนเราเข้าใจได้ เร็วกว่าพูดได้
For example, you may hear and understand a word many times
before you are actually able to use it correctly in speech.
Many learners complain about this.
ยกตัวอย่างเช่น กว่าเราจะนำศัพท์คำหนึ่งมาใช้พูดได้ถูกต้อง
เราอาจจะต้องฟังและเข้าใจศัพท์คำนั้นมาแล้วไม่รู้กี่ครั้ง
คนเรียนภาษาที่ไหนก็บ่นเรื่องนี้
They are frustrated that they understand words or phrases
but struggle to use them. But native English speakers are no different.
พวกเขารู้สึกอึดอัดขัดใจที่เข้าใจศัพท์หรือวลีเป็นอย่างดี
แต่พอเอาไปใช้พูดกลับลำบากยากเย็น
แต่กระนั้นฝรั่งที่พูดภาษาอังกฤษมาตั้งแต่เกิดก็ไม่ต่างไปจากนี้
Various research shows that with native speakers,
listening/understanding ability is usually about one year ahead of speaking/writing ability.
งานวิจัยหลายครั้งชี้ว่า แม้แต่ฝรั่งที่พ่อแม่พูดภาษาอังกฤษ
ก็ฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่อง ก่อนที่จะพูดได้-เขียนได้ ประมาณ 1 ปี
In other words, all the progress you are making right now,
by listening and reading and reviewing,
won't show up in your speech until next year!
พูดง่าย ๆ ก็คือ ความก้าวหน้าทั้งหลายแหล่ที่คุณฝึกสะสมไว้ในตอนนี้
ไม่ว่าจะเป็นการฟัง การอ่าน หรือการทบทวนบทเรียน
จะไม่แสดงผลดีต่อการพูดภาษาอังกฤษ จนกว่าจะผ่านไป 1 ปี
With speech, we generally have a long plateau.
There is a long delay between learning new English and actually using it in conversation.
เรื่องทักษะการพูดนี้ ห้วงเวลาที่ความก้าวหน้าหยุดชะงักมักจะนานสักหน่อย
คือ เมื่อเรียนภาษาอังกฤษแล้วกว่าจะเอาไปใช้พูดได้ ก็คงพักใหญ่ ๆ ทีเดียว
There is not much you can do about this.
With intense practice, you can shorten the plateaus.
But the best attitude is to accept them. Realize that they are useful.
เรื่องอย่างนี้เราทำอะไรไม่ได้มากนักหรอก
เพียงแต่ว่า ถ้าเราฝึกหนักก็จะทำให้ช่วงที่ความก้าวหน้าชะงัก - สั้นลงได้
แต่ทัศนคติที่ดีที่สุดก็คือ ยอมรับความจริงข้อนี้ และมองให้เห็นความจริงว่ามันมีประโยชน์
Realize that while you may feel you are not improving,
in fact your brain is working hard.
มองให้เห็นความจริงว่า ขณะที่คุณรู้สึกว่าไม่ได้ก้าวหน้าอะไรเลย
แต่จริง ๆ แล้วสมองของคุณกำลังทำงานหนัก
And most importantly, realize that the work you are doing right now
won't actually show results for weeks, months, or even a year.
และที่สำคัญที่สุดก็คือ มองให้เห็นความจริงว่า
การฝึกภาษาอังกฤษ ณ ขณะนี้ยังจะไม่แสดงผล
จนกว่าจะผ่านไปหลายสัปดาห์ หลายเดือน หรืออาจจะถึงปี
In this way, we must develop the attitude of professional athletes.
We must realize that the benefits of training are delayed.
ด้วยวิธีนี้ เราต้องพัฒนาทัศนคติแบบนักกีฬาอาชีพ
เราต้องตระหนักในความจริงที่ว่า ผลประโยชน์ของการฝึกมักจะมาช้าสักหน่อย
You don't run 10 miles one day and expect to be faster and stronger the next day.
It takes time for the body to adapt, change, and grow.
ถ้าวันนี้คุณวิ่งได้ 10 ไมล์ แล้วฝันว่าพรุ่งนี้จะวิ่งได้เร็วกว่าวันนี้ จะแข็งแรงกว่าวันนี้
คงเป็นไปไม่ได้หรอก
ร่างกายต้องการเวลาปรับตัว เปลี่ยนแปลง และเติบโต
The same is true of the brain.
So..... even when you feel nothing is happening
- keep listening, keep reading, and keep up your motivation.
ร่างกายเป็นอย่างไร สมองก็เป็นอย่างนั้น
ดังนั้น.... แม้แต่เวลาที่คุณรู้สึกว่าการฝึกไม่เกิดอะไรก้าวหน้า
– ก็ขอให้ฝึกฟัง ฝึกอ่าน ต่อไป รักษากำลังใจไว้มิให้เสื่อมคลาย
Enjoy yourself.
Read and listen to interesting content.
Focus more on communication and fascinating content than on obsessing about your progress.
ขอให้สนุกกับการฝึกภาษาอังกฤษ
อ่านและฟังเรื่องที่น่าสนใจ
ใส่ใจกับการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและเนื้อหาที่ดึงดูดใจ
อย่ามัวแต่ไปกังวลเรื่องความก้าวหน้าจากการฝึก
If you continue to listen and read
repetitively and consistently
- your progress is automatically guaranteed.
ถ้าคุณยังคงฝึกฟังและฝึกอ่าน
เรื่อยไปไม่หยุดยั้ง
– ความก้าวหน้าจะมีมาเองโดยอัตโนมัติ
So relax and enjoy the ride!
ทำใจให้สบาย ๆ และฝึกไปอย่างไร้กังวล
****
พิพัฒน์
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
รวมเว็บไทย,ตำราไทย,ตำราไทยควบอังกฤษ เพื่อฟิตภาษาอังกฤษ ที่มีอยู่ใน e4thai.com
สวัสดีครับ
ผมหวังว่า 2 ลิงค์นี้ที่รวบรวมไว้ใน e4thai.com คือ
[1] รวม ดาวน์โหลด ตำราภาษาไทย ใช้เรียนภาษาอังกฤษ (คนไทยแต่ง)
[2] เว็บภาษาไทย เข้าไปเรียนภาษาอังกฤษ
จะมีประโยชน์ต่อท่านที่ต้องการฝึกภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง หรือคุณครูที่สอนภาษาอังกฤษ ไม่มากก็น้อย
พิพัฒน์
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
ขอลางาน 4 วันครับ
สวัสดีครับ
ขอลางาน 4 วันครับ
ผมไปธุระต่างจังหวัด
จะกลับเข้ากรุงเทพวันอาทิตย์ที่ 16 กย.
พิพัฒน์
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
วิธีเตรียมตัวสอบ TU-GET, CU-TEP, KU-TEST,TOEIC, TOEFL, IELTS
สวัสดีครับ
มีเพื่อนที่ทำงานคนหนึ่งถามผมว่า เขาจะไปสอบ CU-TEP สัปดาห์หน้า ควรจะต้องเตรียมตัวยังไง? ผมขอนำคำแนะนำที่ผมให้แก่เพื่อนมาเล่าต่อกับท่านผู้อ่านนะครับ
คำแนะนำที่ผมจะให้ต่อไปนี้ มาจากการเตรียมตัวเข้าสอบ TU-GET,TOEIC และ TOEFL ของผมเองเมื่อเนิ่นนานมาแล้ว หวังว่าตอนนี้ยังคงใช้ได้ คือผมขอพูดถึงการเตรียมตัวเข้าสอบภาษาอังกฤษของหลาย ๆ แห่งแล้วกันครับ ไม่ว่าจะเป็น TU-GET (ธรรมศาสตร์), CU-TEP(จุฬาฯ), KU-TEST (เกษตรศาสตร์),TOEIC (ใช้ในการสอบเข้าทำงาน), TOEFL (สอบภาษาอังกฤษ ตามแนวสหรัฐฯ), IELTS (สอบภาษาอังกฤษ ตามแนวอังกฤษฯ) หรือจะสอบที่ไหนก็แล้วแต่ เอาเป็นว่าเป็นวิธีการเตรียมตัวโดยทั่วไปแล้วกันครับ ไม่เจาะจงว่าเป็นที่ไหน และเป็นการเตรียมตัวด้วยตัวเอง
[1] ขอให้ท่านไปหาซื้อหนังสือข้อสอบภาษาอังกฤษเก่าชุดล่าสุดของมหาวิทยาลัยนั้น หรือของสถาบันนั้นมาลองทำ ท่านอย่าหาในเน็ตเลยครับ เพราะมันไม่มีหรอก ขอให้ซื้อมา 1 ชุด ซึ่งต้องมีทั้งหนังสือและ CD ก่อนจะจ่ายเงินขอให้ดูให้ดีนะครับ ว่ามันมี complete set ของข้อสอบเก่าอย่างที่เราต้องการ รวมทั้งไฟล์ mp3 ในแผ่น CD ซึ่งใช้ฟังตอนทำ listening test
[2] เมื่อกลับมาถึงบ้าน ขอให้ท่านศึกษาโครงสร้างของข้อสอบ คือ มีฟัง-อ่าน-เขียน-แกรมมาร์-ศัพท์ อะไรบ้าง อย่างละกี่ข้อ part ละกี่คะแนน กี่นาที
[3] ขอให้ท่านลงมือทำ test ชุดนั้นเหมือนประหนึ่งว่า ท่านทำ test จริง ๆ ในห้องสอบ คือ ทำ part ไหนก่อน – หลัง, part ละกี่นาที, โดยเตรียม answer sheet ที่ต้องใช้ไว้ให้เรียบร้อย
ก่อนเริ่มทำ ขอให้เข้าห้องน้ำให้เรียบร้อย ปิดอุปกรณ์สื่อสารทุกประเภท และบอกทุกคนไม่ให้มากวน เพราะขณะนี้ท่านกำลัง “เข้าห้องสอบ”
ผมขอแนะว่า ข้อไหนที่ไม่แน่ใจท่านก็เดาไปได้ แต่ขอให้ที่ท่านไม่รู้คำตอบโดยสิ้นเชิง ก็ว่างไว้อย่าไปทำมันเลยครับ อย่างนี้เป็นการ test ที่แน่นอนกว่า
[4] เมื่อทำจนหมดเวลาแล้วให้หยุดทำทันที (อย่าทำต่อ) และตรวจผลการทำ test ของท่านจากเฉลยที่หนังสือให้ไว้
[5] จากคะแนนที่ได้ ขอให้ท่านวิเคราะห์ตัวเองว่า ท่านอ่อนอะไรมาก-น้อย ขนาดไหน ปัญหาของท่านอยู่ตรง part ไหน อย่างไร เช่น ท่านทำได้แต่ทำไม่ทัน, หรือถึงให้เวลาขนาดไหนก็ทำไม่ได้เพราะท่านไม่เข้าใจ, หรือว่าเข้าใจแต่จำไม่ได้ หรือทำได้ทุกอย่างแต่ไม่แน่ใจสักอย่างเดียว ท่านต้องวิเคราะห์ตัวเองให้ออกนะครับ ขืนให้คนอื่นวิเคราะห์คงไม่ดีแน่
[6] ท่านต้องวางแผนในการฟิตตัวเองก่อนถึงวันสอน การวางแผนก็ทำง่าย ๆ ครับ คือ
- นับดูว่า ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ท่านจะไปสอบจริง ๆ มีทั้งหมดกี่วัน, และเป็นวันที่ท่านมีเวลานั่งลงฟิตภาษาอังกฤษของตัวเองกี่วัน, วันละประมาณกี่ชั่วโมง เป็นช่วงไหนของวัน (เช้า-สาย-บ่าย-เย็น-ค่ำ-มืด) ตอนวิเคราะห์วัน-เวลา-ชั่วโมง ที่ท่านสามารถให้แก่การฝึกนี้ ท่านต้อง realistic นะครับ อย่าวางแผนแบบฝันหวานเกินจริงจนทำไม่ได้ หรือวางแผนแบบขี้เกียจจนไม่ได้ออกแรงทำตามที่ควรจะออก
-ใส่วิชาที่ท่านจะฟิตอังกฤษลงไปในห้วงวันว่างเหล่านั้น ให้มันเหมาะสมตามที่ท่านวิเคราะห์ตัวเอง วิชาไหนควรฝึกมาก ฝึกน้อย สลับกันยังไง ให้มันฝึกได้ไหลลื่น ได้ผล และไม่เบื่อ
[7] เมื่อวางแผนเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องทำให้ได้ตามที่สัญญากับตัวเอง เพราะมันผิดศีลข้อ 4 คือพูดปดถ้าผิดสัญญา
คำแนะนำของผมก็ง่าย ๆ อย่างนี้แหละ ขอจบดื้อ ๆ เลยนะครับ
พิพัฒน์
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
More Articles...
- 10 นิสัยเจ้าปัญหาของคนไทย ในการเรียนภาษาอังกฤษ
- ขอลางาน 4-5 วัน
- ประสบการณ์ของผมในการพูดภาษาอังกฤษ
- E4thai.com มีหน้า “ถาม-ตอบ” แล้วครับ
- ทำไม Google Translate จึงแปลไม่รู้เรื่อง (ดูตัวอย่าง)
- ขอแนะนำ อ.ยุทธนา เลาหะวิสุทธ์ มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่
- e4thai.com มี Search Box ที่ด้านบนของเว็บแล้วครับ
- คนไทย ชอบเรียนภาษาอังกฤษ แบบนี้
- โรคติดเน็ตและ social media ลดสมรรถภาพการฟิตภาษาอังกฤษ
- A ถึง Z ในการเรียนภาษาอังกฤษ
- วิธีฝึกฟังภาษาอังกฤษให้รู้เรื่องอย่างรวดเร็ว
- 10 เว็บฟิตภาษาอังกฤษ รายวัน
- คำแนะนำในการพูดภาษาอังกฤษ โดย แอนดรูว์ บิ๊กส์
- จะเป็นหนู ที่ยืนกลัวตัวสั่นต่อหน้าแมว หรือเป็นแมวที่กล้าล้อเล่นกับหมา
- เปิดตัวช่อง YouTube ของเว็บ e4thai.com
- วิธีฝึกพูดภาษาอังกฤษ: หนทางมีที่คนไม่ค่อยเดิน
- Tip การอ่าน นสพ. Bangkok Post
- พระทำกรรมฐาน กับ เราเรียนภาษาอังกฤษ ไม่ต่างกันเลยครับ !!
- แค่เรียนภาษาอังกฤษ แบบ active ไม่พอหรอกครับ !!
- ประโยชน์ของการอ่าน หนังสือนอกเวลา และวิธีการอ่าน ที่ถูกต้อง