Home
ขอพูดอีกครั้งเรื่องคนไทยกับภาษาอังกฤษ
คลิกภาพเพื่ออ่านเรื่องราวน่าประทับใจในการฟิตภาษาอังกฤษของหนุ่มถีบ 3 ล้อชาวจีนคนนี้
เท่าที่ผมสังเกต คนที่ทำงานซึ่งมีทักษะภาษาอังกฤษใช้งานได้ มักมาจากครอบครัวที่พ่อแม่ฐานะดี สามารถส่งลูกเข้าโรงเรียนอินเตอร์, หรือไปเข้าคอร์ส/เข้าแคมป์/เข้าเรียนต่างประเทศ เด็กพวกนี้ต่อให้ขยันอย่างแกน ๆ พอจบก็มักมีทักษะภาษาอังกฤษติดตัวมามากหรือบ้าง แม้ทิ้งแต่เมื่อฟิตก็มักฟื้นได้ไม่ยาก ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้รวยอย่างกลุ่มแรก เข้าโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยธรรมดา ๆ แต่สนใจและขยัน ก็เก่งได้เหมือนกัน อาจจะเก่งเท่าหรือเก่งกว่าคนจบนอกด้วยซ้ำ
คราวนี้มาดูเด็กทั่วไปที่ขยันพอกะเทิน ระบบการสอนในโรงเรียนก็พอกะเทิน เกรดที่ได้จึงพอกะเทินเช่นกัน พอได้งานทำถ้าในที่ทำงานต้องการคนเก่งอังกฤษ เด็กกลุ่มนี้มักไม่ได้อยู่แถวหน้าที่ถูกคัดเลือก เพราะเด็กกลุ่มแรกเอาไปกินหมด
แต่โลกยุคเน็ตมันเปลี่ยนมาก-เปลี่ยนเร็ว-เปลี่ยนทุกเรื่อง และทักษะภาษาอังกฤษก็แซมเข้าไปในทุกสิ่ง เด็กซึ่งตอนนี้เป็นผู้ใหญ่มีงานทำแล้ว ที่ไม่เก่งและไม่เคยแยแสภาษาอังกฤษ ก็อยากจะเก่งบ้าง คำถามในฟอรั่มต่าง ๆ ก็มักมาจากคนกลุ่มนี้แหละ เช่น
- ทำยังไงให้เก่งภาษาอังกฤษเร็ว ๆ
- ไปเรียนที่ไหนให้พูดได้คล่องเร็ว ๆ
- ฟังฝรั่งพูดไม่รู้เรื่อง ทำไงดี
- สอบโทอิค/โทเฟล ได้คะแนนน้อย จะไปสอบใหม่ฟิตยังไงให้สอบผ่าน
- เจ้านายให้ต้อนรับแขกต่างประเทศเดือนหน้า พูดได้ไม่คล่องทำไงดี
- ไปเข้าคอร์สเรียนพูดอังกฤษมาแล้ว แต่ก็ยังงั้น ๆ ชักเสียดายเงิน
- อยากไปเที่ยวเมืองนอกกับทัวร์ แต่ก็อยากเที่ยวเองมากกว่า แต่กลัวสื่อสารกับคนต่างชาติไม่รู้เรื่อง
- ฯลฯ
ถ้าไม่คิดมากและหาคำตอบเร็ว ๆ ให้คำถามเหล่านี้ ก็ตอบได้ทันทีว่า เข้าไปที่ยูทูปซี มีเรื่องให้เรียนเป็นล้าน หรือตามเว็บต่าง ๆ ก็มีเป็นกะตั๊ก ๆ จะเรียนอะไรก็เลือกเอาเลย ไม่ต้องเสียเงินด้วย เรียนไม่เท่าไหร่ก็น่าจะเก่ง
แต่แม้เน็ตจะเข้ามาเมืองไทยได้ 30 ปีแล้ว แต่คำถามข้างต้นก็ยังมีซ้ำซาก และคำตอบก็ซ้ำซากเช่นกัน และรายงานการสำรวจอย่างเป็นทางการทุกปีเกี่ยวกับทักษะภาษาอังกฤษคนไทยก็ซ้ำซากคือเก่า – เราอยู่ในกลุ่มเกือบติดบ๊วย
World Ranking :→ https://www.ef-danmark.dk/epi/
อย่างนี้จะให้ผมตีความว่ายังไง เพราะแม้แต่เวียดนามซึ่งระดับเศรษฐกิจก็น่าพอ ๆ กับไทย ยังอยู่ในกลุ่ม Moderate เลข 34 แต่ Thailand อยู่ในกลุ่ม Low เลข 53 ตามหลังเขา 20 อันดับ
คำตอบก็คือ ผมไม่ตีความครับ เพราะมีคนอธิบายเรื่องนี้ไว้เยอะมาก และทุกคำอธิบายก็มักจะชี้นิ้วโบ้ยความผิดไปยังสิ่งนั้น-สิ่งนี้ หรือคนนั้น-คนนี้ อ่านแล้วใจเหี่ยว
แต่ผมขออนุญาตพูดสั้น ๆ หน่อยเดียว คือ ถ้าท่านหวังจะฟิตให้อังกฤษของท่านเฟิร์มกว่าเดิม ก็พอทำได้ครับ แค่หาภาษาอังกฤษมาอ่านและฟังทุกวัน
คำแนะนำของผมสั้นนิดเดียวแค่นี้แหละครับ แต่จริงใจที่สุด
พิพัฒน์
www.facebook.com/en4th
เรื่องเก่าที่เขียนไว้
เริ่มดู บางย่อหน้า/บางหน้า/บางบท ที่สนใจก่อน
เริ่มดู บางย่อหน้า/บางหน้า/บางบท ที่สนใจก่อน อย่าปล่อยจนมีเวลาว่างสุด ๆ จึงค่อยเริ่มคลิกเข้าไปดู
ดูคร่าว ๆ ให้ทั่ว แต่ไม่ต้องอ่านทุกหน้า-ทั้งเล่ม, เลือกอ่านเฉพาะบางบท-บางหน้า ที่สนใจหรือใช้ประโยชน์ได้
สมัยก่อนโน้น เมื่อผมเข้าร้านหนังสือและจะซื้อสักเล่มต้องดูแล้วดูอีก ถ้าชอบไม่กี่หน้าก็ยืนอ่านตรงนั้นเลยไม่ซื้อเพราะเสียดายเงิน, แต่ทุกวันนี้มี eBook ให้อ่านฟรีมากมาย, เราจึงสามารถอ่านได้ทุกเล่ม แต่ไม่ต้องอ่านทุกหน้า-ทั้งเล่ม, เราแค่เลือกอ่านเฉพาะบางบท-บางหน้า-หรือบางย่อหน้า ที่สนใจหรือใช้ประโยชน์ได้ อย่างเล่มนี้ ❝ American Idioms and Some Phrases Just for Fun ❞
• → https://tinyurl.com/yd99u2os
ผู้เรียบเรียงเขาก็มุ่งหวังให้เราใช้หนังสือของเขาให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยฝึกอย่างนี้ - อย่างนั้น - อย่างโน้น ซึ่งถ้าเราฝึกได้อย่างที่เขาแนะก็คงดีมาก
แต่ผมเองบางทีก็ขี้เกียจ เมื่อได้หนังสือมาเล่มนึง ก็ไล่ดูสารบัญหรืออ่านสัก 1 บทดูคร่าว ๆ ว่า เราจะใช้ประโยชน์ได้ตรงไหนหรือชอบอะไร และก็เจาะดูตรงนั้น
อย่างเล่มนี้ เขามี idiom หรือ phrase 110 ตัวที่เจอบ่อย ๆ ในบทสนทาให้ศึกษา โดยให้ความหมายและประโยคตัวอย่าง ผมก็ศึกษาตามสไตล์ที่ผมชอบ คืออ่านประโยคตัวอย่าง และดูว่าสามารถเข้าใจ idiom หรือ phrase นั้นหรือไม่ และก็ทบทวนอย่างนี้ ไล่ไปทีละคำ ไม่นานก็ดูหมดทั้ง 110 คำ
• ดูได้เลยครับ → https://tinyurl.com/ya3cebr6
eBook ที่ผมนำมาเสนอท่านเรื่อย ๆ นี้ ท่านอย่าได้รอจนมีเวลาว่างอย่างสมบูรณ์จึงเริ่มเข้าไปคลิกดู, อย่าทำอย่างนั้นเลยครับ ใช้วิธีลุยเข้าไปดูคร่าว ๆ และเลือกจุดที่สนใจ และอ่านตรงนั้นก่อนสัก 1 ย่อหน้า, ใช้วิธีนี้ดีกว่าครับ
พิพัฒน์
www.facebook.com/en4th
ถือโอกาสนี้เรียนรู้ภาษาอังกฤษ ผ่านสื่อไทยและสื่อฝรั่งไปพร้อมกัน
ท่านผู้อ่านคงจะสังเกตได้ชัดว่า ตั้งแต่มีเรื่องการช่วยเหลือ "หมูป่า" ที่ติดถ้ำ มีสื่อมวลชนทั่วโลกรายงานข่าวนี้ และอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ หลาย ๆ ครั้งสื่อไทยเรานี่แหละนำเรื่องที่สื่อฝรั่งรายงานผ่านหน้าเว็บหรือผ่านคลิป มาบอกเล่าให้คนไทยรู้อีกต่อหนึ่ง และอันนี้แหละครับที่พวกเราสามารถใช้เป็นอุปกรณ์ในการศึกษาภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี บางครั้งบทความของสื่อไทยก็บอกลิงก์ให้เราคลิกย้อนไปหาบทความของสื่อฝรั่งได้ง่าย ๆ แต่บางครั้งก็ไม่บอก เราซึ่งเป็นผู้ศึกษาก็ต้องซอกแซกหาเอาหน่อย
อย่างบทความนี้ของ นสพ ข่าวสด เสนอ " สื่อต่างประเทศ ตีแผ่ชีวิต 'อดุลย์' หมูป่าไร้สัญชาติ ผู้ใช้ภาษาอังกฤษได้ "
→ https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_1343831
ซึ่ง " สื่อต่างประเทศ " ก็คือ สำนักข่าว CBSN สำนักข่าวของสหรัฐอเมริกา
→ https://www.facebook.com/YorlokOfficial/videos/1966480816724194/
จะเจอของฟรีที่เรียนได้เหมาะใจก็ต้องสอดส่ายเอาหน่อยครับ
♣
ในเว็บหรือคลิปภาษาไทยที่โฆษณาคอร์สภาษาอังกฤษ เขามักจะมีของฟรีให้เราเรียน ถ้าเราไม่มีเวลาเดินทางไปเรียนหรือยังไม่อยากจ่ายเงิน ก็เรียนกับของฟรีพวกนี้แหละครับ เขาไม่ว่าอะไรหรอก และในเน็ตก็มีเป็นกะตั้ก ๆ เรื่องของเรื่องก็คือ เมื่อท่านเข้าไปที่เว็บพวกนี้ ท่านต้องขยันกวาดสายตาไปให้ทั่ว ๆ หน่อย ทั้งบน-ล่าง-ซ้าย-ขวา-ตรงกลาง-หรือหาผ่านช่อง Search ก็ได้ เพราะว่าของฟรีที่เขาให้เราเรียนนี้ บางทีมันก็เห็นไม่ชัด ที่เห็นชัดมักจะเป็นโฆษณาที่เขาจะให้เราสมัครเรียน
ยกตัวอย่างนิดหน่อยข้างล่างนี้ครับ
【1】 เข้าไปแล้ว คลิก Load More ที่บรรทัดล่าง เพื่อดูเรื่องอื่น ๆ
➔ https://tinyurl.com/yaa7qdpo
【2】เข้าไปแล้ว คลิกลิงก์ใต้หัวข้อ CATEGORIES ที่คอลัมน์ขวามือ
➔ https://tinyurl.com/y928swnd
【3】 https://tinyurl.com/yc8yur7u
พิพัฒน์
www.facebook.com/en4th
" 1 ในทีมปีนผาจิตอาสาที่ช่วยน้องๆหมูป่าให้สัมภาษณ์สื่อต่างชาติได้โคตรเท่ครับ"
1 ในทีมปีนผาจิตอาสาที่ช่วยน้องๆหมูป่าให้สัมภาษณ์สื่อต่างชาติได้โคตรเท่ครับ
แต่มี 2 เรื่องที่ขอบอก
❶ ท่านเองก็พูดอย่างนี้ได้ การพูดภาษาอังกฤษได้คล่อง ไม่ใช่ "พรสวรรค์" แต่เป็น "พรแสวง" และความรู้สึกชื่นชมยินดีที่เห็นคนอื่นทำได้ดี ควรเป็นแรงผลักดันให้เราเชื่อว่า เราก็น่าจะ "ทำได้อย่างเขา" ไม่ใช่ยิ่งทำให้ตัวเองท้อว่า เราคง "ทำอย่างเขาไม่ได้"
❷ แต่ท่านต้อง "แสวงหา" อย่างเอาจริงเอาจัง คือฝึกพูดเป็นนิตย์ ไม่เหยาะแหยะ ถ้า "ล้ม" ก็พยายาม "ลุกเอง" อย่ารอให้คนมา "ช่วยฉุด"
→ https://www.youtube.com/watch?v=YXgb42QypI4
ครูต่างชาติใช้บทเรียน"ถ้ำหลวง"สอนภาษาอังกฤษเด็ก
ในคลิปข้างล่างนี้ "คุณครูแฟรงกี้" แห่งโรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ พูดถึงความประทับใจหลังจากที่ได้ชมคลิปวิดิโอที่นักประดาน้ำชาวอังกฤษพบตัวเด็กๆและสามารถโต้ตอบเป็นภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว เขาเน้นความสำคัญของภาษาอังกฤษว่า เมื่อเวลานั้นมาถึงมันจะให้ประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างมาก
→ https://www.posttoday.com/world/557283
→ https://hilight.kapook.com/view/175055
→ https://www.youtube.com/watch?v=IVM6jhgVl1E
ผมเองเห็นด้วยกับคุณครูแฟรงกี้เต็มที่ แต่ขอเพิ่มเติมว่า โดยทั่วไปในเมืองไทยเราเน้นเรื่องความสำคัญของการพูดสื่อสาร จนหลายคนไม่เห็นความสำคัญของการอ่านเท่าที่ควร ทั้ง ๆ ที่การอ่านก็สำคัญไม่น้อยกว่าการพูด แม้ว่าการอ่านจะเป็นทักษะที่ไม่สามารถโชว์หรือแสดงออกได้เท่ากับการพูดก็ตาม
More Articles...
- 2 แง่คิด จากกรณีเด็กติดถ้ำพูดสื่อสารกับฝรั่ง
- ผมเชื่อในปาฏิหาริย์
- มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ...
- มาเลเซียสั่งข้าราชการฟิตภาษาอังกฤษ (มองเขาและกลับมามองเราเอง)
- BBC กับ VOA : 2 เว็บใกล้ตัวสุดวิเศษ ที่เข้าไปฝึกภาษาอังกฤษได้ทันที
- ตำราภาษาอังกฤษวิชาวิทยาศาสตร์ เด็ก ๆ
- ฝึก อ่าน-ฟัง-พูด-เขียน ภาษาอังกฤษให้ได้ผลจริง ๆ
- 8 คุณประโยชน์ของการเรียนภาษาอังกฤษที่คุณอาจไม่เคยรู้
- กฎทองคำ ที่ต้องจำ ให้ขึ้นใจ ในการฝึกภาษาอังกฤษ
- คำถามและทางออก : จบมหาวิทยาลัยแต่ภาษาอังกฤษยังใช้งานไม่ได้?!
- ดาวน์โหลด / เปิดไฟล์ ผ่าน smartphone อาจจะไม่ได้
- วิธีฝึกพูดภาษาอังกฤษของแจ็ก หม่า ก่อนที่จะเป็นมหาเศรษฐี
- การใช้ประโยชน์จากตำราสอบภาษาอังกฤษยาก ๆ กับการฝึกแบบบ้าน ๆ ของเรา
- Search เว็บ e4thai แบบง่าย ๆ
- ขอขอบคุณทุกท่านที่อวยพรให้พ่อผมหายป่วย
- 15 อย่างต่อไปนี้อย่าทำเมื่อเรียนภาษาอังกฤษ
- "81 วิธีเก่ง Eng จนฝรั่งกราบ"
- ถ้าท่านเลือกภาษาอังกฤษเป็นเพื่อนร่วมเดินทาง สู่เป้าหมายในชีวิต
- ขอคุยเรื่องวันวาเลนไทน์สักหน่อย
- กลับมารายงานตัวเข้าทำงานดังเดิมครับ