Home
ช่วยตอบคำถามนี้หน่อยเถอะครับ
ลองอ่านคำถามของท่านนี้ที่เว็บ pantip
→ https://pantip.com/topic/37104903
และช่วยตอบคำถามนี้หน่อยเถอะครับ
[1] นี่เป็นปัญหาของท่านด้วยหรือเปล่า
[2] ถ้าเด็กรุ่นน้อง-รุ่นลูก-รุ่นหลาน ถามท่านด้วยคำถามนี้อย่างจริงจัง, ท่านจะตอบเขาว่าอย่างไร
eBook เล่มนี้ ฝากให้ "คนบ้าดิก" เหมือนกัน
ผมเองเป็นคนบ้าดิกขนานแท้มาตั้งแต่อายุน้อย ตอนอยู่ชั้น ม.1 เคยลองท่องดิกอังกฤษ-ไทย ของ ม.ล. มานิช ชุมสาย และตอนอยู่ ปี 1 ก็ลองท่องดิกอังกฤษ Longman เมื่อเริ่มท่องดิกทั้ง 2 ครั้งต่างก็ตั้งใจจะจำศัพท์ให้หมดเล่มภายใน 2-3 ปี แต่หลังจากท่องไปได้ไม่กี่วันก็เลิกและล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า ทั้ง ๆ ที่สมัยนั้นสมองยังดีจำอะไรได้ไวกว่าตอนนี้เยอะ
การท่องดิกอย่างคนบ้าเมื่อวัยรุ่นตอนต้นและตอนปลาย 2 ครั้งโน้นสอนให้รู้ว่า (1)เป็นไปไม่ได้ที่ใครจะท่องดิกให้จำได้จนหมดเล่ม (2) เราไม่ต้องรู้ศัพท์มากเกินจำเป็น แค่รู้เท่าที่จำเป็นต้องใช้บ่อย ๆ ก็พอแล้ว ถ้าไปเจอคำไหนที่ไม่รู้ก็เดาเอาบ้างก็ได้ หรือถ้าจำเป็นจริง ๆ ก็เปิดดิก
แต่ "เท่าที่จำเป็นต้องใช้ " ในการฟัง-พูด-อ่าน-เขียน มันแค่ไหนและกี่คำ? คำถามง่าย ๆ นี้ตอบยาก แต่ก็พอตอบได้โดยยึด CEFR ของยุโรปเป็นหลัก คือเขาแบ่งระดับความเก่งจากเก่งน้อยไปเก่งมากเป็น 6 ระดับ คือ Level A1, A2, B1, B2, C1 และ C2 และก็บอกด้วยว่า แต่ละ Level ต้องรู้ศัพท์คำว่าอะไรบ้าง, ในความหมายใดบ้าง (ไม่ต้องรู้ทุกความหมาย) ใครที่ต้องการฟิตศัพท์ก็ไต่ไปตามลำดับแล้วกัน ซึ่งแน่ใจได้ว่าศัพท์ที่ CEFR เขาจัดไว้นี้มัน "จำเป็นต้องใช้" จริง ๆ
ด้วยนิสัย "บ้าดิก" ที่คงฝังเข้ากระดูกดำแล้ว ผมจึงไปขุดศัพท์ที่เป็น noun, verb และ adjective แยกออกเป็น Level ตั้งแต่ A1 ถึง C2 ออกมาจาก Cambridge Dictionary (ซึ่งทำงานร่วมกับ CEFR) ได้ออกมาเป็น eBook 1 เล่ม (146 หน้า), โดยผมได้ทำ Bookmarks หรือสารบัญให้ท่านคลิกเข้าไปดูง่าย ๆ แยกเป็น noun - verb - adjective และแยก Level A1 - A2 - B1 - B2 - C1 - C2, เมื่อท่านไล่ดูและรู้สึกว่า Level ต่ำ ๆ เช่น A1, A2 รู้หมดแล้ว, ท่านก็เลื่อนขึ้นไปไล่ดู Level สูง ๆ ได้เลยครับ
คลิกดู → https://goo.gl/Np72va
ผมเองลองไล่ดูก็แล้วก็เห็นว่า ศัพท์ทุกคำ / ทุกความหมาย ใน eBook เล่มนี้ ถ้าจำได้ไม่ขาดทุนแน่ ๆ มีแต่จะได้กำไร และเชื่อว่าไม่เหลือวิสัยที่ท่านจะจำได้หมดทั้งเล่ม โดยค่อย ๆ ฝึกฝน อย่าหักโหม
และขอแนะนำตัวช่วย คือ add-on Longman Dictionary และ Google Translate [ คลิก → https://goo.gl/W4Pv5M ] เพื่อดูความหมาย, ประโยคตัวอย่าง, และยังสามารถฟังเสียงอ่านคำศัพท์และประโยคตัวอย่างอีกด้วย
ผมเชื่อว่า ถ้าท่านมี "เชื้อบ้าดิก" อยู่บ้าง ของที่ผมนำมาฝากวันนี้น่าจะถูกใจบ้าง แต่ถ้าท่านไม่มีเชื้อเลย ก็ถือว่าฟังเล่น ๆ แล้วกันครับ
พิพัฒน์
https://www.facebook.com/En4Th/
browse เว็บ e4thai.com เล่น ๆ
♥ ท่านผู้อ่านครับ ที่เว็บ e4thai.com มีเนื้อหาหลากหลายให้ท่านเลือกศึกษา ผมเองแม้เป็นคนหาเนื้อหามาลง, บางเรื่องก็จำไม่ได้, พอไปเจออีกทียังแปลกใจเลยว่า เอ๊ะ! เรื่องนี้เราลงไว้ด้วยรึเนี่ย? เอาอย่างนี้แล้วกันครับ ผมขอชวนให้ท่านเข้าไปที่นี่
→ คลิก
♠และคลิกเล่น ๆ ไปเรื่อย ๆ ผมเชื่อว่า ท่านน่าจะเจอของใหม่ที่ท่านชอบใจและใช้ประโยชน์ได้ ไม่มากก็น้อย ♥
Reading Practice: อ่านเรื่องดัง ที่ไม่สนใจ - ไม่เห็นด้วย - ไม่ค่อยรู้เรื่อง
สวัสดีครับ
English Reading skill เป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อเราอ่านเราจะได้ข้อมูล และข้อมูลนี้จะนำมาซึ่งความรู้, ความเพลิดเพลิน, คำแนะนำ, แนวทาง ฯลฯ มากมาย ปราชญ์จึงยกย่องว่าการอ่านเป็นอัญมณีของชีวิต
คุณประยูร จรรยาวงษ์ "ราชาการ์ตูนไทย" (2458-2535) ได้เขียนไว้ในหนังสือวันเด็กปีหนึ่ง เรื่อง "เรียนเก่งเรียนอย่างไร" ซึ่งท่านได้แนะว่า ให้เรียนด้วยการอ่านอย่างใฝ่รู้และเพลิดเพลิน
"เรียนเก่งเรียนอย่างไร เรียนด้วยใจหิววิชา
อยากรู้ดูตำรา ยิ่งค้นคว้ายิ่งพาเพลิน
ยิ่งเรียนยิ่งสนุก ผลักความทุกข์พ้นทางเดิน
ไม่หิวไม่อิ่มเกิน ไม่ห่างเหินไม่โหมเอย"
ในฐานะ webmaster ของ e4thai.com ผมมาพิจารณาดูแล้วก็เห็นว่า สำหรับคนไทยแต่ละคน ทักษะภาษาอังกฤษก็มีประโยชน์และความจำเป็นมากน้อยแตกต่างกันไป แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ English Reading skill นอกจากทำให้เรียนเก่ง ยังเป็นทางมาของความรู้และความเพลิดเพลินอันไม่รู้จบ
เท่าที่เคยได้ยินได้อ่าน เขามักแนะว่า ให้อ่านเรื่องที่ตัวเองชอบหรือสนใจ
แต่ผมมาพิจารณาดูก็พบจุดโหว่ของคำแนะนำนี้ คือผมไม่แน่ใจใน 2 - 3 ข้อนี้
[1] คนไทยรักการอ่านเพื่อแสวงหาความรู้มากน้อยแค่ไหน พูดง่าย ๆ ก็คือ คนไทยแต่ละคนอ่านหนังสือโดยเฉลี่ยวันละกี่หน้า คำถามนี้ถามเรื่อง "ปริมาณ"
[2] หนังสือที่คนไทยโดยทั่วไปชอบอ่าน มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร มันเป็นเรื่องที่ให้ประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตหรือการทำงานมากน้อยเพียงใด ที่ผมสงสัยข้อนี้ก็เพราะว่า เราพูดกันว่าคนไทยมีนิสัยรักสนุก ไม่ซีเรียส จึงชวนให้สงสัยว่า ถ้าเป็นหนังสือดีมีประโยชน์ แต่อ่านแล้วไม่ค่อยสนุกหรือออกจะซีเรียสสักหน่อย, ถ้าไม่ใช่นักศึกษาที่อาจารย์สั่งให้อ่าน, หรือไม่ใช่คนทำงานที่หัวหน้าสั่งให้อ่าน, หนังสืออย่างนี้จะมีคนไทยสักกี่ % ที่อ่านโดยสมัครใจ คำถามนี้ถามเรื่อง "คุณภาพ" ครับ
[3] และคำถามสุดท้ายก็คือ และถ้าหนังสือดีมีประโยชน์นั้นมันเป็นภาษาอังกฤษล่ะ คนไทยสักกี่ % จะหยิบขึ้นมาอ่าน
พูดมากก็ยาวความ ผมขอให้ความเห็นสั้น ๆ อย่างนี้ว่า ถ้าเราเป็นคนรักความรู้ เราก็น่าจะอ่านอย่างเปิดใจ
หนังสือภาษาอังกฤษที่เราหยิบขึ้นมาอ่านนั้น อย่าอ่านเพียงเรื่องที่เราสนใจ, เห็นด้วย, หรืออ่านรู้เรื่อง
แต่ควรอ่านเรื่องที่เราไม่สนใจ, เรื่องที่เราไม่เห็นด้วย, หรือเรื่องที่เราอ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง ด้วย
โดยวิธีคัดเลือกอย่างง่าย ๆ ก็คือ เป็นเรื่องที่มีชื่อเสียง, เป็น bestseller ระดับสากล, หรือเป็นหนังสือ classic หรืออมตะมาแต่อดีต เพราะนี่แสดงว่า อย่างน้อยหนังสือพวกนี้มันต้องมีดีอะไรสักอย่างที่ทำให้คนทั่วโลกชอบอ่านกันเยอะ ทั้งหนังสือประเภท fiction และ nonfiction
ท่านผู้อ่านอาจจะถามผมว่า ถ้ามันเป็นเรื่องที่เราไม่สนใจ - ไม่เห็นด้วย - หรืออ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง จะให้อ่านไปทำไม? ขอตอบอย่างนี้ครับ
คือถ้าเราเห็นว่า ความรู้เป็นอัญมณีของชีวิต เราก็อย่าได้จำกัดตัวเองอยู่เฉพาะกับความรู้ที่เราชอบ, ที่เราเห็นด้วย, หรือกับเรื่องที่เราอ่านรู้เรื่อง
ถ้าเรายอมเปิดใจให้กว้าง ยอมอ่านเรื่องที่เราไม่ชอบ, เรื่องที่เราไม่เห็นด้วย, หรืออ่านภาษาอังกฤษที่เราอ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง ลองอ่านไปสักระยะหนึ่ง, สักบทหนึ่ง, สักเรื่องหนึ่ง เหมือนกับอาหารประเภทที่เราไม่สนใจจะกิน เพราะไม่ชอบรส - ไม่ชอบกลิ่น - ไม่ชอบเครื่องปรุงของมัน แต่ถ้าท่านลองกินสัก 3 - 4 คำ สัมผัสรสชาติพอเป็นความรู้แม้รสชาติจะไม่ถูกปากหรือแปลกลิ้น สติปัญญาของเราก็จะกว้างขวางขึ้น
การกินอาหารเป็นอย่างไร การอ่านหนังสือภาษาอังกฤษก็เป็นอย่างนั้น เมื่อกินแล้ว-อ่านแล้ว, จะเลิกกิน-เลิกอ่าน, หรือ กินต่อ-อ่านต่อ ก็แล้วแต่อัธยาศัย แต่ไม่ควรปฏิเสธ ตั้งแต่ยังไม่ได้กิน-ยังไม่ได้อ่าน, หรือคายตั้งแต่ยังไม่ได้เคี้ยว
ผมไปเจอหนังสือ 3 เล่มนี้ จึงนำมาให้ท่านชิมดู
เล่มที่ 1(nonfiction): "A Brief History of Time" โดย สตีเฟน ฮอว์คิง ตีพิมพ์ปี 1988
- eBook-_A Brief History of Time
- https://simple.wikipedia.org/wiki/A_Brief_History_of_Time
- https://en.wikipedia.org/wiki/A_Brief_History_of_Time
เล่มที่ 2 (nonfiction): "The Universe in a Nutshell" โดย สตีเฟน ฮอว์คิง ตีพิมพ์ปี 2001
- eBook -The Universe in a Nutshell
- https://th.wikipedia.org/wiki/จักรวาลในเปลือกนัท
- https://en.wikipedia.org/wiki/The_Universe_in_a_Nutshell
เล่มที่ 3 (fiction): The Wizards of Once โดย Cressida Cowell
ขอบคุณคุณน่อยครับที่แนะนำเล่มนี้
More Articles...
- 101 วิธีฟิตภาษาอังกฤษ
- ประสบการณ์ส่วนตัวในการฝึกอ่านและฟังข่าวภาษาอังกฤษให้รู้เรื่อง
- หน้ารวมลิงก์ฝึกภาษาอังกฤษประจำวัน
- สาวน้อยจากประเทศต่าง ๆ พูดความใฝ่ฝันเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศ
- บทความ: "7 เหตุผลความเป็นจริง...ที่ทำไม ภาษาอังกฤษโคตรยาก!"
- การฝึกฟังภาษาอังกฤษ ต้องมี 4 อย่างนี้
- ถามตรงๆกับจอมขวัญ : วิจารณ์ยับ! สอนภาษาอังกฤษผิด
- บทเรียนภาษาอังกฤษจากการเดินทางร่วมงานวันไผ่โลก
- ค่อยเจอกันใหม่ 24 กันยาฯ ครับ
- ขอลางาน 1 สัปดาห์, ไปเป็นอาสาสมัครงาน World Bamboo Day 2017 Trail @ Thailand
- ถ้าลูกถามอย่างนี้ ท่านจะตอบยังไง?
- วิธีหา บทความยอดนิยมของเว็บ e4thai.com
- ชีวิตกับแอปเปิ้ล 1 ลูก
- ฝึกภาษาอังกฤษด้วยหัวใจ สมอง และสายตา ที่แจ่มใส
- "กฎแห่งกรรม" ของการฝึกภาษาอังกฤษ
- ทำไมเว็บฝรั่งดี ๆ คนไทยไม่เข้าไปเรียน
- วิธี ฝึกอ่าน-ฝึกฟัง ภาษาอังกฤษ ให้ประสบความสำเร็จ
- วิธีฝึกศัพท์พื้นฐานเพื่อเป็นต้นทุนในการประกอบกิจกรรมภาษาอังกฤษ
- ยิ่งพึ่งความเข้าใจจากคำแปลที่คนอื่น"จัดให้" มากเพียงใด ยิ่งไปไม่ถึงไหน
- ขอแนะนำเว็บเรียนอังกฤษที่ "ไม่น่าสนใจ" - esl.about.com