Home
เมื่อหลวงพ่อชาพูดเรื่องตายแล้วเกิดใหม่
เท่าที่เคยอ่านพบ หลวงพ่อชาท่านสอนว่าไม่ควรไปสนใจเรื่องชาติหน้า ถ้าทำปัจจุบันให้ดีทุกอย่างมันก็ดีเอง และเรื่องชาติหน้านั้น ถึงบอกว่ามีหรือไม่มีมันก็พิสูจน์ให้เห็นจริงไม่ได้ ควรปฏิบัติในเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วนก่อนดีกว่า
==> อ่านที่นี่ครับ
แต่ครั้งหนึ่งผมไปที่ วัดบุญญาวาส จ.ชลบุรี ซึ่งเจ้าอาวาส คือ พระอาจารย์อัครเดช (ตั๋น) ถิรจิตโต ลูกศิษย์หลวงพ่อชา ผมได้เปรยกับท่านอาจารย์ตั๋นว่า ไม่เห็นหลวงพ่อชาพูดเรื่องชาติหน้าเลย ท่านอาจารย์ตั๋นตอบว่า ทำไมจะไม่ได้พูด การที่ท่านตอบอย่างนี้ ผมเข้าใจว่า ในช่วงชีวิตที่ได้อยู่ใกล้ชิดกับหลวงพ่อชาที่วัดหนองป่าพง หลวงพ่อชาคงได้พูดเรื่องนี้กับพระลูกศิษย์ในวัดบ้าง แต่สิ่งที่ท่านสอนอาจจะไม่ได้มีการนำมาเผยแพร่เป็นกิจจะลักษณะ
และวันนี้ผมบังเอิญได้เจอคำสอนของหลวงพ่อชาเรื่องนี้เป็นภาษาอังกฤษ
==> It can be done คลิกอ่านที่นี่ หรือ ที่นี่
ถ้าท่านต้องการอ่านที่ย่อหน้านั้นโดยตรงก็เริ่มที่บรรทัดที่บอกว่า It is like this. Throughout all our becoming and birth,......
หรือฟังเสียงอ่านเป็นภาษาอังกฤษก็ ==> เริ่มที่คลิป นาทีที่ 27
เสียดายที่คำสอนเรื่องนี้ไม่ได้บันทึกวันเดือนปีที่หลวงพ่อเทศน์
นี่เป็นการตีความของผมนะครับว่า หลวงพ่อชาพูดเรื่องตายแล้วเกิดชัด ๆ คือตายแล้วไปเกิดเป็นคนเราตัวเป็น ๆ นี่แหละ ไม่ใช่ตาย-เกิดในลักษณะความรู้สึกนึกคิดทางจิตใจซึ่งเป็นคำสอนที่เราได้ยินบ่อย ๆ
สรุปง่าย ๆ ก็คือ การเกิด-ตาย เป็นจริงได้ในทั้ง 2 ความหมาย คือ (1) การมีสติรู้เห็นการเกิด-ดับในจิตใจ ให้เห็นอนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา จนค่อย ๆ ปล่อยวางได้ นี่เป็นเรื่องที่ต้องสนใจก่อน ต้องปฏิบัติเป็นนิตย์ (2) การเกิด-ดับทางร่างกายก็เป็นเรื่องจริง ถ้ากิเลสยังไม่สิ้น นี่เป็นเรื่องที่ยังไม่ต้องสนใจก็ได้ แต่หลวงพ่อชาท่านก็ไม่ได้ปฏิเสธ แต่ก็ไม่เน้น และแทบไม่ได้พูดถึง
ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยนะครับ เพราะนี่เป็นเพียงความเข้าใจส่วนตัว อาจจะผิดก็ได้
ตรงนี้แหละครับ ↓↓↓↓↓ ที่ผมเจอว่าท่านพูดถึงเรื่อง ตายแล้วเกิดใหม่ตรง ๆ
It is like this. Throughout all our becoming and birth, all of us are so
terribly anxious about so many things. When there is separation, when
there is death, we cry and lament. I can only think, how utterly foolish
this is. What are we crying about? Where do you think people are going
anyhow? If they are still bound up in becoming and birth they are not
really going away. When children grow up and move to the big city of
Bangkok they still think of their parents. They won't be missing someone
else's parents, just their own. When they return they will go to their
parents' home, not someone else's. And when they go away again they
will still think about their home here in Ubon. Will they be homesick for
some other place? What do you think? So when the breath ends and we
die, no matter through how many lifetimes, if the causes for becoming
and birth still exist, the consciousness is likely to try and take birth in a
place it is familiar with. I think we are just too fearful about all of this.
So please don't go crying about it too much. Think about this. 'Kammam.
satte vibhajati' kamma drives beings into their various births - they don't
go very far. Spinning back and forth through the round of births, that is all,
just changing appearances, appearing with a different face next time, but
we don't know it. Just coming and going, going and returning in the loop
of samara, not really going anywhere. Just staying there. Like a mango
that is shaken off the tree, like the snare that does not get the wasps' nest
and falls to the ground; it is not going anywhere. It is just staying there.
So the Buddha said, 'Nibbana paccayo hotu ': let your only aim be Nibbana.
Strive hard to accomplish this; don't end up like the mango falling to the
ground and going nowhere.
พิพัฒน์
อ่านทั้ง fiction และ non-fiction ให้ได้ทั้งภาษา ความเพลิดเพลิน และความรู้
คำแนะนำพื้นฐานที่ผมให้บ่อย ๆ สำหรับท่านที่ต้องการฝึก reading skill ก็คือ แรกสุดต้องหาให้พบเรื่องที่ (1)เราชอบอ่านและสนใจ เพราะจะอ่านได้นานไม่เบื่อง่าย (2) เรื่องที่ไม่ยากเกินไป และอย่ายาวนัก เพื่อเราจะได้อ่านจบ ภูมิใจในตัวเอง และมีแรงใจอ่านเรื่องใหม่ ๆ
แต่เอาเข้าจริง ๆ เกณฑ์ 2 ข้อข้างต้นก็ยังไม่พอในการเลือกเรื่องมาฝึกอ่าน เพราะมันน่าจะมีอีก 2 ข้อที่สำคัญไม่น้อยกว่ากัน คือ (1) ใช้ภาษาดี คือคำศัพท์ และลีลาภาษา ถูกต้อง เหมาะสม สวยงาม คมคาย กระชับ และชัดเจน และ(2) ให้ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ต่าง ๆ ที่น่ารู้มาก ๆ แต่เรารู้น้อยเกินไปหรือยังไม่รู้เลย หรือให้ความเพลิดเพลินที่มาพร้อมกับความรู้ และเนื้อเรื่องตาม 2 ข้อนี้ เราอาจจะไม่รู้ว่ามันอยู่ที่ไหน โดยเฉพาะท่านที่ search หน้าเว็บที่เป็นภาษาอังกฤษยังไม่ค่อยเก่ง
เนื้อหาภาษาอังกฤษมักแบ่งได้ง่าย ๆ ออกเป็น fiction และ non-fiction
FICTION
สำหรับ fiction กับพวกเราที่จะฝึกอ่านภาษาอังกฤษ อาจจะหาเนื้อหาได้ง่ายหน่อย คือมีเนื้อหาให้เลือกหลากหลาย ง่าย-ยากหลายระดับ เขียนโดยนักเขียนดังหรือผู้เชื่ยวชาญของสำนักพิมพ์ที่กลั่นกรองทั้งการใช้คำศัพท์และความถูกต้องของภาษา ผมรวบรวมไว้ที่นี่
==> fiction
NON-FICTION
และอีกประเภทหนึ่ง คือ non-fiction ซึ่งอาจจะอ่านไม่สนุกเหมือน fiction โดยทั่วไปเว็บข่าวต่างประเทศที่มีชื่อเสียง มักใช้ภาษาดีและเราสามารถศึกษาจดจำได้ เช่น
==> รวมเว็บข่าวเพื่อการศึกษาภาษาอังกฤษ
ภาษาข่าวนั้น มักเขียนอย่างกระชับ ชัดเจน ตรงไปตรงมา นอกจากให้ความรู้ยังสามารถให้ความเพลิดเพลินอีกด้วย แม้ภาษาข่าวอาจจะต่างจากภาษาที่เขียน story ก็ตาม
ในเว็บ e4thai.com นี้ ผมได้รวบรวมเนื้อหาประเภท non-fiction ที่นำเรื่องราวความรู้ยาก ๆ มาเขียนใหม่ให้ง่าย ๆ ผมอยากชักชวนเป็นพิเศษให้ท่านที่คุ้นเคยกับการอ่านเฉพาะเนื้อเรื่องประเภท fiction ให้ลองอ่านประเภท non-fiction บ้าง เพราะแม้ว่าอ่านแล้วจะได้ความเพลิดเพลินน้อยกว่า แต่ความรู้น่าจะได้มากกว่า และขณะเดียวกันก็ได้รู้คำศัพท์และลีลาของภาษาด้วย
ลองไปดูที่นี่ครับ
==> มีเนื้อเรื่อง nonfiction ง่าย-ยาก หลาย Level ให้ดาวน์โหลดไปอ่านและฟัง
และ non-fiction อีกอย่างหนึ่งที่ผมแนะนำหลายครั้งแล้ว แต่บางท่านอาจจะไม่ชอบเพราะคิดว่ามันอ่านยาก คือ หนังสือประเภท encyclopedia หรือสารานุกรมภาษาอังกฤษที่เขาเขียนให้เยาวชนอ่าน นี่ก็เป็นอีกแหล่งหนึ่งที่อ่านแล้วได้ทั้งการพัฒนาภาษาอังกฤษ, ได้ความรู้ และความเพลิดเพลิน ถ้าเป็นเเรื่องที่ท่านสนใจ ซึ่งนี่หมายความว่า ยิ่งมีความสนใจใคร่ในความรู้มากเท่าไร ก็ยิ่งมีเรื่องให้อ่านเพื่อความเพลิดเพลินมากเท่านั้น ซึ่งต่างจากคนที่เพลิดเพลินเฉพาะกับเรื่องง่าย ๆ พอยากหน่อยก็ไม่เอาแล้ว จึงได้ความเพลิดเพลินจากภาษาอังกฤษเฉพาะเรื่องตื้น ๆ ง่าย ๆ
ตามความเห็นของผม เราน่าจะขยับตัวเองให้สามารถอ่านเพื่อเพลิดเพลินกับเรื่องยาก ๆ ที่เป็นความรู้ประเภท non-fiction ให้มากกว่าเดิม และที่เว็บ e4thai.com ก็ได้รวบรวมไว้บ้าง ที่นี่
==> หนังสือประเภท encyclopedia หรือสารานุกรมภาษาอังกฤษที่เขาเขียนให้เยาวชนอ่าน
พิพัฒน์
www.facebook.com/en4th
ฟังเรื่องเล่าวิธีฝึกภาษาอังกฤษที่ประสบความสำเร็จ
ฟังเรื่องเล่าวิธีฝึกภาษาอังกฤษที่ประสบความสำเร็จ
My Story of Learning English: 7 Unforgettable Lessons
คน ๆ นี้เขาพูดแนะนำวิธีฝึกให้ตัวเองเก่งอังกฤษ ซึ่งสรุปตามนี้
คลิกขยายภาพ ↓↓↓↓↓ คลิกขยายภาพ
ท่านผู้อ่านครับ จากที่เคยผ่านคำแนะนำพวกนี้มาหลายครั้ง ทำให้เห็นว่า วิธีฝึกที่ครูหรือคนที่ประสบความสำเร็จในการฝึกเล่าให้ฟัง ก็มักคล้าย ๆ กัน
ปัญหาของพวกเราที่เป็นคนรับคำแนะะนำ ก็คือ
【1】เขาแนะนำหลักการหรือแนวทางทั่วไป แต่เราต้องหารายละเอียดในวิธีการเองว่า เราจะฝึกยังไง และรายละเอียดพวกนี้แหละครับที่สำคัญมาก เราจะฝึกได้ผลมากหรือน้อยก็อยู่ตรงที่เราจัดการตัวเองยังไงนี่แหละะครับ
【2】 เราขาดครูที่ช่วยไขข้อข้องใจ เราคนเดียวจึงต้องเป็นทั้งครูและนักเรียน มันยากตรงนี้ เราจึงต้องฝึกให้เก่ง ๆ หน่อย ในการ Search เพื่อตอบปัญหาที่เราสงสัย ต้องขยันถามอาจารย์กู(เกิ้ล)
【3】 เราขาดเพื่อน หรือที่ปรึกษาที่สามารถให้กำลังใจ และถ้าเราไม่สามารถสร้างกำลังใจให้ตัวเอง เราก็จะเรียนอย่างคนหมดแรง
ท่านจะเห็นได้ชัดว่า แม้เน็ตจะเป็นผู้ช่วยที่วิเศษ แต่เราก็ต้องช่วยตัวเอง เพราะไม่มีใครช่วยเรา
ลองคลิกเข้าไปฟังดูซักหน่อยซีครับ มี script ให้อ่านด้วย
==> https://www.lucalampariello.com/learning-english-7-lessons/
พิพัฒน์
https://www.facebook.com/pg/En4Th/posts/?ref=page_internal
ท่านใดมีไฟล์ pdf หนังสือ "ไทยรบพม่า" โดย สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ผมขอครับ
ท่านใดมีไฟล์ pdf หนังสือ "ไทยรบพม่า" โดย สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ผมขอครับ
คือเล่มนี้ครับ
==> http://drmlib.parliament.go.th/securepdf/p_417787.pdf
เท่าที่ผมเจอ มีแต่ข้างล่างนี้
- พงษาวดารเรื่องเรารบพม่า...
- ประวัติศาสตร์พม่า โดย หม่องทินอ่อง
- รวมตำราเก่าประวัติศาสตร์ไทย
- พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
- เว็บตำราเรื่องราวเก่า ๆ ของไทย
ลิงก์ 1
ลิงก์ 2
ลิงก์ 3
พิพัฒน์
https://www.facebook.com/pg/En4Th/posts/?ref=page_internal
ครูสอนภาษาอังกฤษสำเนียงอเมริกันผ่าน YouTube ที่ผมชอบเป็นพิเศษ
ครูสอนภาษาอังกฤษสำเนียงอเมริกันผ่าน YouTube ที่ผมชอบเป็นพิเศษ
อันที่จริงก็มีหลายท่าน แต่เอาเป็นว่าโดยส่วนตัวผมชอบ ครู Alisha และครู Stefanie Here เป็นพิเศษ ท่านพูดด้วยความเร็วปกติ ไม่ได้พูดช้าลงเพื่อให้คนฝึกภาษาอังกฤษได้ฟังง่าย ๆ เราจึงได้ฟังภาษาอังกฤษที่เป็นธรรมชาติ และน้ำเสียงของทั้งสองท่านก็สดใสมาก ฟังคล้าย ๆ สำเนียงของผู้ประกาศข่าวทีวีระดับโลกค่ายอเมริกัน ลองเข้าไปฟังดูหลาย ๆ คลิปซีครับ
ครู Alisha - ENGLISH CLASS 101
- https://www.youtube.com/user/ENGLISHCLASS101
- https://www.youtube.com/user/ENGLISHCLASS101/videos
- https://www.youtube.com/user/ENGLISHCLASS101/playlists
- https://www.youtube.com/user/ENGLISHCLASS101/search?query =พิมพ์คำค้น+ตรงนี้
- https://www.facebook.com/EnglishClass101
ครู Stefanie Here - The English Coach
- https://www.youtube.com/channel/UC-g0gSStENkYPXFRsKrlvyA
- https://www.youtube.com/channel/UC-g0gSStENkYPXFRsKrlvyA/videos
- https://www.youtube.com/channel/UC-g0gSStENkYPXFRsKrlvyA/playlists
- https://www.youtube.com/channel/UC-g0gSStENkYPXFRsKrlvyA/search?query=พิมพ์คำค้น+ตรงนี้
- https://www.facebook.com/stefanietheenglishcoach/
แถมท้าย : ถ้าท่านไม่ติดใจครูสองท่านนี้ ก็ไปที่ครูท่านอื่นก็ได้ครับ
สันโดษคือความสำเร็จทันทีที่เพิ่มขึ้นไม่หยุด - ในการฝึก English listening
มีคำถามเป็นอเนกว่าทำยังไงจึงจะฝึกฟังภาษาอังกฤษได้รู้เรื่องอย่างรวดเร็ว แต่ก็มีคำตอบเป็นอนันต์ที่ช่วยตอบว่าต้องทำยังไง แต่ถึงอย่างนั้นก็ดูเหมือนว่า คำถามและคำตอบเดิม ๆ ก็ยังมีอยู่เช่นเดิม .... คำตอบเดิม ๆ กับ listening skill ของหลายคนที่ยังอยู่ที่เดิม ๆ
แต่วันนี้ผมขอบอกว่า สันโดษคือความสำเร็จทันทีที่เพิ่มขึ้นไม่หยุด - ในการฝึก English listening
แน่นอนละ เราต้องเลือกเรื่องฝึกฟัง ที่เหมาะกับตัวเอง เรื่องที่เราชอบ สนใจ ไม่ยาวเกินไป ไม่ยากเกินไป
แต่แม้เลือกได้เรื่องแบบนี้ ก็อาจจะยังฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง หรือรู้เรื่องน้อยเกินไป หรือไม่รู้เรื่องเลย
คำแนะนำสั้น ๆ ที่มาจากการฝึกปฏิบัติโดยตรงของผมก็คือ....
ให้มีสันโดษหมดใจขณะฟัง "สันโดษ" ตามพจนานุกรมบอกว่า "ความยินดีหรือพอใจเท่าที่ตนมีอยู่หรือเป็นอยู่" ซึ่งในกรณีนี้ก็คือ ความยินดีหรือพอใจเท่าที่ฟังเข้าใจ
เรื่องที่ฟัง ขนาดยาวเรียกว่าประโยค, ขนาดกลางเรียกว่าวลี, ขนาดสั้นเรียกว่าคำ
ไม่ว่าเราจะฟังเข้าใจขนาดยาว ขนาดกลาง ขนาดสั้น ก็ให้ยินดีพอใจในขนาดที่ฟังรู้เรื่อง แต่ถ้าฟังไม่เข้าใจแม้แต่ขนาดเดียว ก็ยังมีความพอใจ ภูมิใจในความตั้งใจฝึก ไม่รู้สึกหงุดหงิด
ใจที่สันโดษเป็นใจที่เปิดกว้าง สามารถรับสารคือเสียงที่เข้าโสตประะสาท ได้เต็มกำลัง และสันโดษยังช่วยให้ไม่หงุดหงิด ไม่ร้อนใจ
แม้เราอาจจะฟังไม่รู้เรื่อง แต่สมองก็คล้ายมีดที่ถูกถูให้คม แม้ตัดไม่ขาดหรือทำได้แค่เถือ คือฟังไม่รู้เรื่องหรือรู้เรื่องแบบเถือไม่เข้า แต่ขอบอกว่า ทุกนาทีที่ฝึกฟังด้วยสันโดษ, listening skill ก็ถูกลับให้คมขึ้น
เรื่องที่กำลังเข้าหูอาจฟังไม่รู้เรื่อง แต่ไม่ใช่การฝึกฟังครั้งนี้ไม่ได้เรื่อง เพราะแม้ว่าทักษะที่น้อยทำให้ฟังเรื่องยากไม่รู้เรื่อง จนเราเผลอท้อและปิดใจ แต่จริง ๆ แล้วเราสามารถใช้มันฟังเข้าใจเรื่องที่ง่ายกว่า เมื่อเรายังไม่มีขวานโค่นต้นไม้ใหญ่มาทำบ้าน ก็ไม่ควรทิ้งมีดโต้ให้ขึ้นสนิม ... มีดโต้ที่เมื่อลับให้คมก็ฟันลำไผ่ขาด นำมาทำแขร่นั่งให้เย็นใจได้
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องติดแหง็กฟังแต่เรื่องง่าย ๆ ไปทั้งชีวิต
เราติดแหง็กเพราะเราปิดใจตัวเอง ถ้าทุกครั้งที่ฟัง 1 ประโยค, หรือ 1 วลี, หรือ 1 คำ ไม่รู้เรื่อง เรารำคาญหงุดหงิดไม่มีสันโดษ นั่นคือเราค่อย ๆ ปิดใจตัวเอง ยิ่งฟังก็ยิ่งไม่รู้เรื่อง
แต่ถ้าเรามีสันโดษ คืออ้าใจเปิดไว้เสมอ ฟังรู้เรื่องมากก็พอใจ, ฟังรู้เรื่องน้อยก็พอใจ, หรือฟังไม่รู้เรื่องเลยก็ยังพอใจ สมองของเราจะไม่เคยปิด
ทุกวันนี้ ผมพยายามฝึกฟังเรื่องยากที่ฟังแทบไม่รู้เรื่อง และมีสันโดษในทุกคำ, ทุกวลี, ทุกประโยค ที่ฟังรู้เรื่องและฟังไม่รู้เรื่อง ตอนฟังรู้เรื่องก็ดีใจ แต่ตอนงงหรือไม่รู้เรื่องก็ไม่เสียใจ ไม่หงุดหงิด และไม่ปิดใจ
และมันช่วยให้ English listening skill ของผมดีขึ้น... ดีขึ้นแบบไม่ต้องรอรับผลในอนาคต เพราะใน 1 เรื่องจำนวน 500 คำที่กำลังฟัง ถ้าผมฟังรู้เรื่อง 10 คำ ผมก็ได้ทันที 10 คำ, ผมไม่ได้สูญเสีย 490 คำ, ไม่ได้สูญเสีย 40 วลี, หรือไม่ได้สูญเสีย 14 ประโยคที่ฟังไม่รู้เรื่อง ทุุกครั้งที่ฟังผมมีแต่ได้ และได้ทันที เพราะมีสันโดษ... การมีสันโดษเหมือนเติมปุ๋ยให้การฝึกฟังภาษาอังกฤษที่ขาดสารอาหาร
ขอแนะนำสั้น ๆ เพียงเท่านี้ แต่ขอยืนยันว่า นี่คือประสบการณ์จากการฝึกจริง ได้ผลจริง ไม่ได้มุสา
ท่านไม่ต้องเชื่อเรื่องที่ผมพูด แต่ผมอยากให้ลองฝึกด้วยตัวเอง และเชื่อผลที่เจอเอง นั่นจริงกว่าเยอะ
สันโดษคือความสำเร็จทันทีที่เพิ่มขึ้นไม่หยุด - ในการฝึก English listening
นี่คือคำขาดครับ
พิพัฒน์
More Articles...
- วัด/แหล่งศิลปะโบราณเมืองไทย น่าจะเขียนป้ายข้อมูลภาษาอังกฤษง่ายกว่านี้ให้นักท่องเที่ยวอ่าน
- ชวนฝึกอ่านภาษาอังกฤษ : วิตามินรวมและอาหารเสริม ควรกินเมื่อไหร่ - กินยังไง?
- ประสบการณ์ในการสอบอังกฤษชิงทุนไปเมืองนอกกับการเดินจงกรม
- ฝึกอ่าน simple sentence เป็นประจำช่วยให้พูดอังกฤษเก่งขึ้น (ขอยืนยัน)
- Tip ในการพูดภาษาอังกฤษ แต่นึกศัพท์ไม่ออก
- ทบทวนชีวิตที่ผ่านมา # 1
- ดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บ e4thai ได้แล้วครับ ( 8 กุมภาพันธ์ 2562
- ฝึกแปลศัพท์ ไทย --> อังกฤษ เพื่อเป็นต้นทุนในการพูดและเขียน
- สั่งสอนตัวเองด้วยภาพเมื่อวัยยังแข็งแรง
- ฝึกให้เก่งอังกฤษเหมือนกินยาขม ไม่กินก็ไม่เก่ง
- ปีนถึงแน่ ๆ แม้จะเป็น The Great Hill
- วิธีง่าย ๆ หา eBook ฟรีจากเน็ต และวิธีเริ่มใช้ไม่เก็บเงียบ
- ฝึกภาษาอังกฤษกับช่อง BBC YouTube ดีแน่ ๆ
- วิธีฝึกแปลศัพท์+แปลประโยคพื้นฐาน จากไทยเป็นอังกฤษ เพื่อใช้พูดจริง ๆ
- อาการล่าสุดของโรคมะเร็งกระดูกในระบบเลือดของผม (22 มกราคม 2562)
- อาการล่าสุดของโรคมะเร็งกระดูกในระบบเลือดของผม (22 มกราคม 2562)
- ฝึก reading skill ด้วยการอ่าน world news จากหลาย ๆ สำนักข่าว
- พระมาโปรดถึงห้องนอน
- รายงานผลครับ ( 11 มกราคม 2562 )
- วันนี้อาการผมดีขึ้นมาก