บันทึกสุดท้าย

เรียนท่านผู้อ่าน

พี่พิพัฒน์เขียนวันที่ 8 เม.ย.แล้วเข้าโรงพยาบาล วันที่ 9         

จนกระทั่งเสียชีวิตวันที่ 23 เม.ย.จึงทำให้เขียนไม่จบ

พี่โหยก ภรรยาพี่พิพัฒน์ ส่งมาให้ผมนำมาลง e4thai.com ให้แฟนๆ อ่าน

เพราะเห็นว่าน่ามีประโยชน์สำหรับทุกๆคน

ผมได้ตรวจ และเพิ่มคำบางคำเขียนตกไปเท่านั้น

ประสาร เขียน

19/05/62

#####################################################

วันนี้ผมรู้สึกไม่อยากมีชีวิต

เรื่องที่จะคุยต่อไปนี้เป็นเรื่องที่คนมะเร็งคนหนึ่งอยากจะบอกชาวมะเร็งด้วยกัน

และบอกเลยไปถึงเพื่อนฝูง

ญาติมิตร และคนนอกที่ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่มิตร ถึงความรู้สึกของคนมะเร็งคนหนึ่ง

ผมไม่ได้เหมาว่าคนมะเร็งทุกคนรู้สึกนึกคิดอย่างผม

แต่ผมเห็นว่าการเป็นมะเร็งเป็นสถานการณ์พิเศษของชีวิต

จึงควรใช้มาตรการพิเศษรับมือ

ซึ่งรวมถึงการถือโอกาสเช็คสต็อกชีวิตที่ผ่านไปแล้วและชีวิตในอนาคตที่ไม่แน่นอน

ในเรื่องที่เล่านีผ้ มยกตัวอย่างจากชีวิตตัวเอง

ไม่ใช่เพื่อโชว์แต่เพราะมันเห็นชัดดี นี่คือสิ่งที่ผมทำ – คิด – และเชื่อ

ท่านไม่จำเป็นต้องทำ – คิด – หรือเชื่อเหมือนผม ผมเพียงหวังว่า

เรื่องที่ผมเล่าจะช่วยให้ท่านเข้าใจคนไข้

โรคมะเร็งคนหนึ่งมากขึ้น ไม่มากก็น้อย

และบางแง่มุมอาจจะคล้ายกับท่านเองที่เป็นมะเร็ง หรือคนที่ท่านดูแล

[1] เมื่อความรู้สึกไม่อยากมีชีวิตโผล่ในใจ

จนถึงวันนีค้ รบรอบ 4 เดือนในการเป็นมะเร็ง

เป็นสี่เดือนที่ผมทำสิ่งต่อไปนีม้ ากที่สุดในชีวิต คือกินยาเม็ดมาก

ที่สุดในชีวิตกว่า 2,500 เม็ด รับยาฉีดมากที่สุด

ถูกเข็มเจาะตรวจเลือดให้ยาเลือดที่สุดเป็นร้อย ๆ รู

นั่งรถจกบ้านไปโรงพยาบาลบ่อยที่สุด

ได้รับการตรวจผ่าน x‐ray MRI CT‐scan bone‐scan มากที่สุด

และอีกหลายที่สุดจำไม่ได้ แต่ผมก็ไม่เคยคิดอยากตาย

คนเป็นมะเร็งถ้าโคม่าก็เหมือนถูกศาลสั่งประหารชีวิต

ถ้าไม่โคม่าก็เหมือนถูกจำคุก ถ้าอาการดีขึ้น ก็เหมือน

ได้รับการลดเวลาถูกขัง แต่ไม่ว่าศาลจะพิพากษาอย่างไร ผมก็ไม่เคยคิดอยากตาย

ผมเดาว่าหลายคนที่เป็นมะเร็งมานานอาจจะรู้สึกคล้าย ๆ ผม

คือ ถ้าจะต้องตายก็ตายเถอะ แต่ไม่อยากเจ็บ

ก่อนตาย แต่ความอยากนีอ้ อกจะกระโดดไปหน่อย

เพราะเขาให้เราเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย เราขอคืนเจ็บเอาแค่ เกิด-แก่-ตาย

เขาคงไม่ยอม แต่แม้ว่าจะเจ็บก่อนตาย ผมก็ยังไม่รีบตาย

อีกอย่างหนึ่งที่คนไร้มะเร็งอาจไม่รู้ คือชาวมะเร็งทุกคนต่างรู้ว่า

มะเร็งเหมือนกับสายลมเรรวน มีอ่อนโยน-ดุดัน

นึกจะมาก็มา นึกจะไปก็ไป และเป็นพวกไบโพลา

คือเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ผีเข้าผีออก

เพราะฉะนัน้ อย่าดีใจจังว่าวันนีทุ้เลา

เพราะพรุ่งนี้อาจจะต้องเศร้าใจจังจากอาการทุรนทุรายก็ได้

แต่ทั้งๆ ที่รู้อย่างนี้ผมก็ยังไม่อยากตาย

และอีกอย่างหนึ่งที่คนมะเร็งต่างก็รู้และยอมรับ

คือ ต่อให้มีคนที่รักสุด ๆ มาดูแลอย่างสุดใจ แต่เขาก็ไม่ได้เข้าใจ

ความรู้สึกของเราทุกเม็ด

นิยามในความรู้สึกของคำว่า เจ็บ ปวด ขัด ยอก เครียด ตึง ยามรุนแรงมันแรงจริง ๆ

และแม้ยามไม่รุนแรงแต่อยู่กับเราเหมือนเช่าบ้านถาวร

ก็กลายเป็นรู้สึกรุนแรงได้ เหมือนร่างกายก่อนเป็นมะเร็งเป็นรถมอเตอร์ไซค์ใหม่

ถอดด้าม ทั้ง สวย-แรง-แกร่ง-ไม่กินน้ำมัน

แต่เมื่อมะเร็งเข้ามาก็แย่งมอเตอร์ไซค์ไป ทิ้งรถจักรยานสองล้อโกโรโกโสให้ถีบ

เหนื่อยด้วยสองขา แม้เรื่องนี้เป็น “ปัจจัตตัง”

ที่คนมะเร็งย่อมรู้ได้เฉพาะตน แต่ผมก็ไม่คิดเลยไปถึง เอหิปัสสิโกคือชวน

ใคร ๆ ว่าท่านจงมาเป็นโรคนีด้วยกันเถิด

ก็ผมยังไม่อยากตาย และไม่ยอมชวนคนร่วมโรคมาร่วมตายเป็นเพื่อน

ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับชาวมะเร็งด้วยกัน ผมน่าจะเฮงมากกว่าหลายคน

ข้างบ้านผมมีคนขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างคนหนึ่ง

เป็นมะเร็งอันเดียวกันและอายุไล่เลี่ยกับผมเลย แต่อาการแย่เพราะตังค์น้อย

ผมมีตังค์มากกว่าเขาหลายบาท

พอไปไหวและก็ไม่คิดจะตาย แม้จะเป็นอย่างข้างบน

แต่วันนี้ผมเกิดความรู้สึกนี้จริง ๆ คือรู้สึกไม่อยากมีชีวิต จิตใจมันเงียบ ๆ เศร้า ๆ

ยังไงก็ไม่รู้ เหมือนสายลมอ่อน ๆ

แต่ไม่เย็นออกจะแห้งพัดเข้ามาในใจ และพักค้างอยู่ครู่ใหญ่ก่อนค่อย ๆ จางหาย นี่เป็น

ความรู้สึกครั้ง แรกในชีวิต 60 ปี

พอรู้ตัวก็ตกใจตามด้วยแปลกใจ เอ๊ะ! นี่เราหรือวะ? รู้สึกอยากตายไม่อยากอยู่เป็นกับเขาด้วย นี่ไม่ใช่เรานี่หว่า

[2] ไม่เคยคิดอยากตาย

ผมเคยเล่าไว้ที่ “เรื่องส่วนตัวที่ผมอยากเล่า”

ภาคแรกเรื่องที่ผมเฉียดตาย 3 ครั้ง คือ 1. ตายคาเตียงที่

โรงพยาบาลเพราะโรคดีซ่านแต่พยาบาลให้ยาเกิน

2.ตายคาทะเลเพราะตกเรือประมงตอนดึกที่ปากอ่าวเมืองระนอง โชคดี

ที่ว่ายเข้าฝั่งได้ก่อนหมดแรง และครั้งที่

3.ตายคาห้องพักเกสต์เฮาส์เพราะเบาหวานน้ำตาลลดและวูบ โชคดีเพื่อนแซะตัวไป

ส่งโรงพยาบาลทัน เหตุการณ์ใกล้ตายอย่างนี้นอกจากไม่ทำให้ผมอยากตาย

ยังทำให้ผมกลัวตายอีกด้วย

และผมก็ไม่นิยมแฟชั่นหาความสนุกจากการเสี่ยงตาย

ครั้งหนึ่งในวัยหนุ่มนั่งซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ที่เพื่อนขับ

เป็นมอเตอร์ไซค์เสือหมอบแบบที่เขาใช้ตอนเข้าแข่ง

เขาขี่แบบซิ่งไปได้นิดเดียว ผมต้องตะโกนบวกตะคอกว่า

มึงหยุดเดี๋ยวนี้กูจะลง เชิญมึงไปตายเดี่ยว กูไม่ตายด้วย

เขาถามว่ากลัวตายหรือ ผมตอบเขาไปว่าใช่ ! กูกลัวตาย เชิญมึงไปตาย

เชิญมึงไปตายส่วนตัวตามสะดวก วันนี้ผมนึกถึงเรื่องของตัวเองในวันนั้น

และคิดถึงวัยรุ่นไทยในวันนี้อาจจะมีบางคนตาย

เพราะความใจอ่อนไม่กล้าพูด ยอมติดหลังเพื่อนไปตายโดยไม่ปริปาก

ถ้าผมเป็นพ่อแม่คงเศร้ามาก

ตัวอย่างอีกครั้ง หนึ่งของความขลาดไม่กล้าเสี่ยงตายปนความสนุก

ผมไปเที่ยวนิวซีแลนด์ถึงที่หนึ่งจำชื่อไม่ได้แล้ว

มันเป็นสะพานข้ามหุบเหวลึกระหว่างเขาสูงสองลูกวิวงามตระการตาปานภาพวาด (นี่สำนวนจีนกำลังภายในครับ)

มีจุดให้คนเช่าบริการโดดบันจีจั้มพ์ ผมสนใจทันทีแต่ก็รีรอ

สุดท้ายความกลัวตายมีอำนาจมากกว่า

ถ้าไม่กลัวตายอาจลงท้ายด้วยศพไม่สวย

เล่าให้ฟังเพราะอยากจะบอกว่าผมรักชีวิตมากเพียงใด

ผมเชื่อว่าชาวมะเร็งทุกคนก็รักชีวิตตัวเองเหมือน ๆ กันนี่

แหละ และก็ไม่อยากตาย แต่บางแวบในใจ

ความรู้สึกอยากตายก็เป็นผีโผล่หน้ามาหลอก

[3] ทำไมเกิดความรู้สึกอยากตาย

แต่ทั้ง ๆ ไม่ได้คิดอยากตาย แต่ทำไมจึงแววรู้สึกอยากตายขึ้นมาได้

เรื่องนี้ ไม่ซับซ้อนเลยอธิบายได้ง่ายมาก คือ

พวกเราไม่อยากเป็นภาระของคนอื่น ตอนแรกเริ่มเป็นอาจจะรู้สึกอย่างนี้ไม่รุนแรง

แต่เมื่อเนิ่นนานขึ้น ก็รู้สึกหนักขึ้น คนดูแล

ที่รักเราอาจไม่รู้สึกว่าเขาต้องรับภาระ

แต่เราเองอดไม่ได้ที่จะรู้สึกว่าเป็นเราเป็นภาระของเขา ยิ่งถ้ามีเรื่องเงินให้กังวลยิ่งคิด

มาก ถ้ามีพอเจียดจ่ายไหวก็พอทำเนา

แต่ถ้าเขาต้องลำบากเดือดร้อนขาดเงินใช้ เพราะต้องนำมาใช้เกี่ยวข้องกับการรักษา

โรคซึ่งหลายเรื่องเบิกไม่ได้ เช่น ค่าเดินทาง ค่าอาหาร

ค่าผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ ค่าทำพิธีสะเดาะเคราะห์ขอพรเทพ ฯลฯ

ยิ่งถ้าการรักษายืดเยื้อ ต้องจ่ายต่อเนื่องเป็นแสนเป็นล้าน จะให้เรารื่นเริงได้ยังไง

ปุบปับความคิดแรกก็คงไม่ได้รู้สึกอยากตายหรอก

แต่พอเนิ่นนานไปความรู้สึกอาจจะค่อย ๆ ก่อตัว และถ้าเกิด

ได้เรื่อย ๆ ไม่หยุด ก็อันตรายมาก อันตรายยังไง อันตรายอย่างนี้ครับ เขาไม่ได้ฆ่าตัวตายหรอก

แต่ใจเขาเหี่ยว ไม่มีพลัง ยาและอาหารเสริมค่อย ๆ

ถูกร่างกายปฏิเสธ เคยได้ผลมากก็กลายเป็นได้ผลน้อย

เชื่อฟังคำสั่งของหมอน้อยลง

ดื้อต่อคำแนะนำของญาติที่ดูแลหรือหวังดี

[4] ผมยังตายไม่ได้

ผมเชื่อว่าร้อยทั้งร้อยของคนเป็นมะเร็งไม่มีใครอยากตาย

อยากหายเร็ว ๆ และถ้าร่างกายเจ็บปวด ผิดเพี้ยน

เพราะโรคหรือแพ้ยา ก็ขอให้ทรมานน้อยที่สุด

เขาพยายามคิดในแง่ดีว่าเขาต้องหาย ไม่ตาย และไม่เจ็บ

เมื่อหายแล้วเขาจะได้เพลิดเพลินกับชีวิตและความสำเร็จได้ดังเดิม

ผมเองก็เหมือนคนอื่น ๆ คืออยากหายเร็วและตายช้า

แต่ผมก็รู้ว่า แม้สมัยนี้ยาดีและหมอเก่งกว่าสมัยก่อน

แต่มะเร็งก็ยังคงเอกลักษณ์ของมะเร็ง คือทำนายอนาคตไม่ได้

และแม้ว่าจะได้รับการรักษาและปฏิบัติตัวอย่างดีที่สุด

ผลก็มีทั้ง 2 อย่าง คือ รักษาหาย และรักษาไม่หาย

การมีความหวังสูงส่งไม่เสื่อมคลายว่าฉันจะต้องหาย แม้ช่วยเสริมกำลังใจ

และประสิทธิภาพการรักษา แต่อะไรที่มันไม่แน่มันก็ยังไม่แน่อยู่นั่นเอง

และถ้าเรายึดมั่นฝังหัวว่ามันต้องแน่และออกมาดี

แต่ถ้ามันไม่แน่และออกมาไม่ดี เราก็จะเจ็บและตายไม่สงบ

เพราะเจ็บอย่างไม่เต็มใจ ตายอย่างไม่เต็มใจ โดยเฉพาะอย่าง

ยิ่งญาติมิตรและผู้หวังดีที่พูดกรอกหูเราทุกวันว่า ทำใจดี ๆ ไว้นะ

อย่าท้อ ไม่นานก็หาย เป็นคำปลอบที่ช่วยให้คนไข้อ่อนแอ

ไม่เปิดใจรับความเจ็บ ไม่เต็มใจรับความตาย

ในฐานะชาวพุทธ ผมเชื่อแน่นแฟ้นในกฎแห่งกรรม

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำงานหาเงินหรือการรักษาโรค การจะ

ได้หรือเสีย ดีหรือร้าย ย่อมเป็นผลจากกรรมในปัจจุบันที่ทำแล้วยังพอจำได้

และจากกรรมในอดีตที่ทำนานแล้วจำไม่ได้

และทั้ง หมดก็เป็นกรรมที่เราทำเอง ก็ต้องรับผลด้วยตัวเอง

ผมตั้งจุดในใจไว้อย่างนีตั้งแต่ผมเริ่มเป็นมะเร็ง

และก็เช็คสต็อกชีวิตของตัวเอง และก็ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า

จะใช้ชีวิตทีละวัน และทำวันนี้ให้ดีที่สุด แต่การทำวันนี้ให้ดีที่สุดคือทำอย่างไรล่ะ?

ยิ่งถ้าส่วนใหญ่ต้องอยู่กับบ้านไปไหนไม่ได้ยังจะทำอะไรได้อีกหรือ ?

มันก็ต้องกลับมาถามตัวเองด้วยคำถามเดิม ๆ

หรือถ้าไม่เคยถามก็ควรเริ่มถามตอนนี้คือ เราเกิดมาทำไม? เรามี

ชีวิตอยู่เพื่ออะไร? สิ่งประเสริฐที่ชีวิตควรได้ก่อนตายคืออะไร?

สำหรับผม คือโอวาทครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้าก่อนปรินิพพาน

วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ

สังขารทั้ง หลาย มีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจง (ยัง

ประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น) ให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาทเถิด”

ซึ่งท่านอาจารย์พุทธทาสใช้คำว่า ชีวิตที่ดีที่สุด คือ

ชีวิตที่เยือกเย็นเป็นสุข และเป็นประโยชน์รอบด้าน

budhadasa

ไม่ว่าชีวิตเราจะอยู่ในสภาพใด

จุดมุ่งหมายของการมีชีวิตอยู่ก็ต้องเป็นอย่างนี้คือทำจิตใจของตนเองให้เยือกเย็น

และเอือ้ เฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์ ผมดูแล้วก็เห็นว่า

ธรรมะแต่ละข้อที่พระพุทธเจ้าสอนแม้จุดเน้นอาจต่างกัน แต่อานิสงส์

ที่เหมือนกันแน่ ๆ คือ ช่วยทำจิตใจให้สงบสุขและมีเมตตากรุณา

และโดยส่วนตัว ผมดึงบุญกิริยาวัตถุ ๓ คือทาน-ศีล-

ภาวนา มาเป็นหลักประจำใจในการดำเนินชีวิต

ทาน – แต่ละวันควรได้ทำอะไรให้เป็นประโยชน์ต่อคนอื่นบ้าง

ทำมากไม่ได้ก็ทำน้อย ทำทางกายไม่ได้ก็ทำทาง

วาจา หรือที่ทำได้แน่ ๆ แม้ไม่มีเวลาหรือเงินทองบริจาค ก็คือ

ตั้งใจให้สงบและแผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์ ซึ่งต้องรวมถึงคนที่

เราเกลียดหรือเกลียดเรา คนที่เอาเปรียบ-เบียดเบียน-ทำร้ายเรา

หรือคนหรือสัตว์ที่ถูกเราเปรียบ-เบียดเบียน-ทำร้าย

บุคคลเหล่านี้คือ “เจ้ากรรมนายเวร” ที่เรารู้จักและควรแผ่ส่วนบุญให้ ก่อน

“สรรพสัตว์” ที่เราไม่รู้จัก คนเป็นมะเร็งให้ทาน

อย่างนี้ได้แน่ ๆ ผมขอใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษเพื่อจำง่าย ๆ ว่า ทาน คือ help

สำหรับคนไข้โรคมะเร็ง ทานแบบที่พูดนี้ทำได้แน่ ๆ

และบางคนที่มีเงินเหลือเจียดบริจาคได้โดยไม่เดือดร้อน ก็ทำ

เลยครับ เรื่องนี้ผมรู้สึกสะดุดคิดเล็กน้อย

คือดู ๆ ไปแล้วคนไทยเรานี่ก็เป็นคนมีน้ำใจมากอยู่ สังเกตง่าย ๆ ว่าพอใครหรือ

ภาคใดได้รับภัยเดือดร้อน คนในสังคมก็หยิบยื่นความช่วยเหลือ

แต่พอพ้นช่วงรณรงค์หรือออกสื่อ ความช่วยเหลือก็หดหรือ

หาย แต่จริง ๆ แล้วมีคนเดือนร้อนมากมายในสังคมนีที้่สื่อไม่ได้ออกข่าว

เขามีความทุกข์อยู่เงียบ ๆ ส่งเสียงบอกใครไม่ได้

และก็ยังมีหลายกลุ่มคนหรือองค์กรที่สังคมไม่รู้จัก

ทำงานช่วยเหลือคนเดือดร้อนที่สังคมก็ไม่ค่อยรู้จักเช่นกัน ถ้าท่านเป็น

คนไข้โรคมะเร็งที่ต้องการทำบุญให้ทาน ผมว่าน่าจะดีมาก ๆ

ถ้าท่านสามารถหาให้เจอคนหรือกลุ่มคนที่ว่านี้ ผมเชื่อว่าจะ

ได้บุญมากกว่า ไปซื้อปลาเป็น ๆ ซึ่งกำลังจะถูกทุบหัวขายให้ลูกค้าที่ตลาดสดและนำไปปล่อยแม่น้ำ ลำคลอง

ศีล – คือการไม่เอาเปรียบ เบียดเบียน ทำร้ายใคร ด้วยการกระทำและคำพูด

ขอใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษ ว่าไม่

harm หรือ hurt ใคร ๆ ทั้งนั้น

แต่คนโรคมะเร็งที่ร่างกายไม่แข็งยังจะมีแรงไปทำร้ายใครอีกหรือ?คือยังจะผิดศีลได้อีก

หรือ? ผิดได้ครับ คือศีลข้อ ๔ ศีลข้อนี้ไม่ควรจะแปลว่า โกหก อย่างเดียว

แต่ควรจะรวมถึงการพูด การเขียน หรือท่าทาง

การแสดงออกทุกอย่าง ที่เป็นการให้ร้าย – โกหก – ยกตน – หยาบคาย – ยุแยง – เพ้อเจ้อ

ผมคิดถึงตัวเองที่เป็นปุถุชน และ

ก็คิดถึงเพื่อนชาวมะเร็งที่เป็นปุถุชนเหมือน ๆ กัน บางครั้ง หรือบ่อยครั้ง

ผมหงุดหงิดหรือถือดี พูดจาล่วงเกินแม้แต่ผู้ดูแลที่

แสนดี และถ้าทำอย่างนี้ไม่หยุดหรือไม่ยั้ง

หรืออาจจะยิ่งมากเพราะร่างกายที่ทรุดโทรมทำให้จิตใจหงุดหงิด ทำให้ทำบาป

ด้วยปากเป็นอาจินต์ นี่หมายความว่ายังไง?

มันหมายความว่ายิ่งเป็นมะเร็งนานเท่าไหร่ยิ่งผิดศีลข้อ ๔ มากเท่านั้น แม้คน

ที่เราพูดออกไปเขาอาจจะไม่ถือสาอภัยให้

แต่การให้อภัยของเขาก็ไม่ได้ทำให้เราบริสุทธิ์ไม่ผิดศีล

ภาวนา – ขอใช้ศัพท์ว่า heart นี่เป็นเรื่องของจิตใจ

คือการทำจิตให้สงบเป็นสมาธิด้วย “สมถะ” และการ ”

มองเห็น” ความรู้สึกนึกคิดที่เกิด-ดับในใจ และปล่อยวาง หรือ “วิปัสสนา”

ในทางปฏิบัติ 2 สิ่งนี้เป็นเรื่องเดียวกัน สงบจิต

เพื่อดูใจ ดูใจจนปล่อยวางและเห็นความสงบ

คนที่จิตใจสงบและปล่อยวางจะเป็นคนเย็นใครเข้าใกล้ไม่ร้อน มีจิตเมตตา-

กรุณาโดยอัตโนมัติโดยไม่ต้องรอให้ใครลุ้นว่ามาทำบุญกันเถิด

และจะไม่ทำบุญเหลวไหลที่หลายแห่งชอบชวนให้ทำ

และผมขอยืนยันว่าคนมะเร็งทุกคนสามารถปฏิบัติเรื่องภาวนาได้แน่ ๆ

ทั้ง ทาน-ศีล-ภาวนา คือทางดำเนินชีวิตที่เป็นประโยชน์ตน-ประโยชน์ท่าน

อันเป็นอุดมคติที่ทุกคนปฏิบัติได้

เรื่องภาวนาเป็นเรื่องที่ต้องคุยกันอีกหลายคำ ขอยกยอดไปหัวข้อถัดไปแล้วกันครับ

[5] วางแผนเพื่อการเกิดใหม่ในชาติหน้า

ความเชื่อเรื่องนี้ของผมเป็นเรื่องที่เล่าก็ยาว

ผมจะพยายามพูดให้กระชับแต่กระจ่างท่านจะได้ไม่ต้องเสียเวลาอ่านนาน

ที่ผมพูดเรื่องนี้ก็เพราะว่า มะเร็งอาจจะทำให้ผมตายเร็ว

เพราะฉะนั้นการเตรียมใจต้อนรับความตาย พร้อม ๆ

กับเตรียมกายรักษาโรคให้หาย จึงน่าจะสมเหตุสมผล

แต่ว่าชีวิตที่เหลือก็ไม่มาก เราก็น่าจะเตรียมตัวเผื่อชาติหน้าด้วย

เหมือนหน่วยงานที่วางแผนทั้ง ระยะสั้นและ

ระยะยาว การวางแผนเพื่อชีวิตในชาติหน้าจึงน่าจะสมเหตุสมผลเช่นเดียวกัน

แต่เรื่องชาติหน้านี่แหละที่ยากและต้องพูดกันยาว

คนทั่วไปมักไม่เชื่อฟันธงเด็ดขาดลงไปว่า

1. ตายแล้วก็แล้วกันไม่มีอะไรไปเกิด หรือ

2.ตายแล้วไปเกิดแน่ ๆ เมื่อ

เชื่ออย่างครึ่ง ๆ กลาง ๆ คือเราตายแล้วจะเกิดใหม่หรือเปล่าก็ไม่รู้

เมื่อไม่รู้และรู้ไม่ได้ก็ไม่สนใจดีกว่า ใช้ชีวิตเหมือนแบบ

เกิด – แก่ – เจ็บ – ตาย ‐‐ > จบ.

และพยายามวิ่งหนีความแก่ – ความเจ็บ – ความตาย อย่างไม่คิดชีวิต เพื่อให้ชีวิตจบช้า

ที่สุด แม้แต่พระผู้ใหญ่บางรูป

ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดก็รวมท่านอาจารย์พุทธทาสองค์หนึ่ง

ที่สอนว่าไม่ต้องไปสนใจชาติหน้า

หรอก ทำวันนี้ชาตินี้ให้มันดีก็จะได้ดีทันที ณ นาทีที่ทำ

ถ้าชาติหน้ามีจริงสิ่งดีที่ทำไว้ก็จะตามไปด้วย เราไม่ต้องเสียเวลา

ไปพะวงกับมัน แต่ปุถุชนอย่างผมก็รู้สึกอย่างปุถุชน

คือใบไม้ทั้ง ป่าคือเรื่องไร้ประโยชน์พระพุทธเจ้าไม่สอน ทรงสอนเพียงสิ่งที่

จำเป็นเร่งด่วนต่อชีวิตเพื่อการพ้นทุกข์คือใบไม้กำมือเดียวในฝ่ามือของพระองค์

แต่ผมก็อดใจไม่ได้ที่จะอยากรู้เรื่องที่ไม่สอน ไม่ได้อยากรู้ทุกเรื่องหรอกครับ อยากรู้แค่ 2 เรื่องเท่านั้น

1.ชาติหน้าหรือการไปเกิดใหม่มีจริงหรือเปล่า?

2.กรรมในชาตินี้ตามไปให้ผลในชาติหน้าอย่างไร?

 

ผมโชคดีที่ไม่รู้สึกสงสัยในข้อ

1. คือผมเชื่อเด็ดขาด 100% ว่าการไปเกิดใหม่ในชาติหน้าเป็นเรื่องจริง พระภิกษุที่

ผมเคารพคือ หลวงพ่อชา

และท่านอาจารย์ชยสาโร ก็พูดยืนยันเรื่องนี้โดยยืนยันด้วยหลักฐานต่าง ๆ มากมายที่น่าเชื่อถือทั้งนั้น

ผมเชื่อว่าชีวิตคือการเดินทางตามกระแสกรรม

การเกิด 1 ครั้ง ก็เหมือนการขึ้นรถสาธารณะจากจังหวัด ก. ไปจังหวัด ข.

จุดตั้งต้นของจังหวัด ก. เมื่อแรกเกิดเราพอรู้อยู่บ้าง

แต่การเดินทางไปให้ถึงจุดหมายปลายทางคือจังหวัด ข.

เรารู้ได้ยาก ก็คือเราไม่รู้วันตาย แต่รู้ว่าวันตายมาถึงเราแน่ ๆ

เพราะฉะนั้น วันตายก็ไม่ต่างจากนั่งรถสุดสายหรือถึง

ปลายทาง เมื่อไปถึงก็ต่อรถคันใหม่

ความตายแล้วเกิดใหม่ก็คือถึงที่หมายแล้วไปต่อรถที่นั่น มันก็แค่นั้นเอง

ยิ่งถ้ามีทั้ง บุญและปัญญาเป็นเสบียง ยิ่งไม่ต้องกังวล

ขอแทรกแถมสักเรื่องหนึ่งครับ

เมื่อแน่ใจไม่กังขาในเรื่องขาติหน้าเช่นนี้

การวางแผนเพื่อชีวิตเกิดใหม่ในชาติหน้าก็ทำได้อย่างมั่นคง วางแผน

ยังไง? ก็วางแผนเรื่องกรรมที่จะตามไปเกิดด้วย

แต่เราแน่ใจได้ยังไงว่ากรรมจะตามไปเกิดด้วย

แม้ในพระไตรปิฎกจะเขียนไว้ แต่เรารู้ได้ยังไงว่าเป็นคำพูดของ

พระพุทธเจ้า ไม่ใช่อาจารย์ชั้นหลังเขียนอ้างว่าเป็นพุทธพจน์

ถ้าถามอย่างนี้ ผมตอบไม่ได้เพราะผมไม่มีคำถามนี้ให้ต้องคิด

ตอบ ผมเชื่อเรื่องการให้ผลของกรรมจากชาติก่อนมาชาตินี้

ที่พระภิกษุเช่นหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรีเล่า

เพราะฉะนั้นผมจึงเชื่อเช่นเดียวกันว่า

ผลกรรมที่ทำในชาตินี้ย่อมตามไปให้ผลในชาติหน้าด้วย

แต่กรรมให้ผลอย่างไร คือเราเชื่อว่ากรรมให้ผลแน่

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หลักใหญ่ ๆ เป็นอย่างนี้แต่รายละเอียด

ล่ะเป็นยังไง ผมลองหาอ่านก็พบว่าพระไตรปิฎกกล่าวเรื่องกรรมไว้ละเอียดทีเดียว

แต่ผมอ่านแล้วก็ไม่ซึ้ง คือทราบแต่ไม่ซึ้ง

สิ่งที่จะคุยด้วยต่อไปนี้ไม่ได้บอกว่าผมเป็นผู้รู้

แต่มันเป็นเรื่องที่ผมคิดและเชื่อ

ทำไมจึงคิดแบบนี้และเชื่อแบบนี้นี่ผมก็ตอบไม่ได้เหมือนกันครับ

มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมนั่งคุยกับผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็น ผอ. กอง

แกพูดถึงลูกชายของนักการเมืองคนหนึ่งของไทยที่

ฝีปากคมมาก ๆ แต่เจ้าลูกชายคนนี้ป็นเพล์บอย

ใช้เงินเต็มมือตามที่พ่อเต็มใจให้ผลาญ และเป็นคนเกะกะละลาน ทำผิด

ถึงขั้นฆ่าคนก็พ้นผิดเพราะพ่อช่วย

ผอ. บอกว่าเจ้าเด็กหนุ่มคนนี้ทำบุญมาดี สบายโดยไม่ต้องลำบาก ตอนนั้น ผมนึกแย้งที่

ผอ. พูดแต่ไม่รู้ว่าจะแย้งยังไง แต่ตอนนี้ผมแน่ใจแล้วว่า ผอ.พูดผิดตรงไหน

คือไอ้เด็กหนุ่มคนนี้อาจจะทำบุญให้ทานมาเยอะจริง

จึงมีเงินทองวัตถุปรนเปรอชีวิตแบบง่าย ๆ แต่คงไม่ได้เจริญ

ปัญญาจึงเกิดมาพร้อมความโง่ ปัญญาทึบ

ใช้เงินทองที่เกิดจากวัตถุทานในชาติก่อน ทำความชั่วในชาตินี้อย่างเต็มมือ

และตามัว พูดง่าย ๆ ก็คือคนอับปัญญาที่เกิดมาพร้อมอุปกรณ์เสริมในการทำความชั่ว

อาจจะทำบาปได้น้อยกว่าคนที่ยากไร้

 

เพราะฉะนั้นผมจึงเชื่อว่า กรรมที่เตรียมทำในชาตินี้เพื่อชีวิตในชาติหน้า

ต้องมีครบ 2 อย่าง คือ ทำ “ทาน”

เพื่อให้ชีวิตสะดวกสบาย และ “ภาวนา” เพื่อสะสมปัญญา

ส่วนเรื่อง “ศีล” นั้น ก็แน่นอนอยู่แล้วว่าอย่าทำผิด เพราะมันคือยา

พิษสร้างผลกรรมอันเป็นพิษต่อชีวิตในทุกชาติ

และในห้วงเวลาประมาณ 5‐6 เดือนที่ผมถูกมะเร็งเล่นงานนี้

ผมเห็นชัดประจักษ์ใจเลยว่า คนเป็นมะเร็งมีโชคที่

คนอื่นไม่มี คือได้รับบทเรียนที่ดีเยี่ยมสำหรับการเจริญภาวนา

เพื่อสร้างและสะสมปัญญา เพื่อชีวิตทั้งในชาตินี้และชาติ

หน้า โดยเฉพาะในชาติหน้าที่เพราะชีวิตในชาติผมขอเน้นเป็นพิเศษ

นี้อาจมีเหลือนิดเดียว

http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=93

แต่จะภาวนายังไงให้เกิดปัญญา

พระสอนว่า ปัญญาเกิดจากมองเห็นทุกข์ เห็นความอยาก

และปล่อยวางได้ นี่ก็คือการปฏิบัติตามหลักอริยสัจ ๔

นั่นแหละครับ คนไม่เป็นคงไม่รู้ว่า

เพราะโรคนี่แหละทำให้คนมะเร็งเป็นทุกข์และอยากมากกว่าคนธรรมดา เป็นความอยาก

ที่สนองไม่ได้เพราะร่างกายไม่อำนวย

อยากออกไปเที่ยว ไปดู ไปดื่ม ไปฟัง พบปะเพื่อนฝูง กินก็ห้ามเพราะแสลงโรค

อยากจะหายเจ็บเพราะมันเจ็บไม่รู้จักหาย

ถ้าเจ็บน้อยก็รำคาญ ถ้าเจ็บมากก็ทรมาน ถ้าเจ็บนานก็ทรคาญ

พระสอนให้ดูความทุกข์จากความเจ็บกาย

และดูสารพัดความอยากที่เกิดขึ้น ตามมา และปล่อยวางอย่าไปยึด

ผมเชื่อว่าท่านที่เคยฟังพระสอนเรื่องดูจิตดูใจและหัดปล่อยวางมาบ้าง

คงเข้าใจเรื่องนี้ได้ไม่ยาก แต่เรื่องของเรื่อง

ของคนเป็นมะเร็งก็คือ ความทุกข์และความอยากมันเกิดบ่อย

เมื่ออารมณ์กระทบใจ มันเป็นเพียงแวบเดียวเท่านั้น

ระหว่างความรู้สึกว่า “กูเจ็บ” กับ “ก็แค่เจ็บ”

ถ้าเผลอใจให้แวบไปว่ากูเจ็บก็เป็นใจของปุถุชนคนมืด แต่ถ้ามีสติคุมใจให้

เห็นว่าก็แค่เจ็บ ก็เป็นพุทธะคนสว่าง เพราะฉะนั้น มันก็ขึ้น อยู่กับว่า

เมื่อทุกข์มากเพราะเจ็บมาก หรือทุกข์น้อยเพราะเจ็บ

น้อยนั้นเราเผลอมากหรือเผลอน้อย ปล่อยวางได้แค่ไหน หรือปล่อยวางไม่ได้เลย

คนมะเร็ง ถ้า “มองโลกในแง่ดี” โดย “มองโรคในแง่ดี”

ก็เท่ากับเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส แถมเป็นโอกาสทองซะด้วย

คนมะเร็งโชคดีที่มีบทเรียนล้ำค่าทางธรรมมาให้ศึกษาถึงเตียงคนไข้

ผมเชื่อว่าถ้าตั้งใจฟังครูสอนไม่ใจลอย

ยอมรับความจริงอย่างยิ้ม แย้มและเต็มใจ

ปัญญาซึ่งก่อให้เกิดความสงบจะค่อย ๆ เพิ่มพูนในใจทีละน้อย

เป็นพลังในชาตินี้และเป็นบารมีในชาติหน้า

เมื่อสมัยผมเป็นนักศึกษา ไปเที่ยวสำนักสงฆ์ธรรมรสที่จังหวัดสระบุรี

เจอกลอนบทนีที้่นั่น

***********************

ดั้นด้นค้นคว้าหาสุข

พบทุกข์แทนที่นี่ไฉน

เลิกแสวงสุขหนอพอใจ

สุขซาบซ่านในใจเรา

**********************

อ่านแล้วชอบใจว่ากระชับ ชัดเจนและจำได้ขึ้นใจทันที

แต่ก็ยังงงว่าเมื่อไม่แสวงหาสุขแล้วสุขมันมาได้ยังไง

ณ วันนี้ที่เป็นมะเร็งจึงพอจะเข้าใจบ้างว่า

เมื่อทำใจให้พอและยอมรับมันได้ ยิ้มรับทุกข์ไม่ใช่บึ้งรับ ความสุขสงบก็เกิดได้

ผมเชื่อว่าทุกคนชอบความสะดวกสบาย ตอนทำบุญทำทานช่วยเหลือคนอื่น

แม้จะน้อมใจไปทางธรรมว่าทานนี้

เพื่อลดความเห็นแก่ตัว ลดตัวกูของกู แต่อีกใจหนึ่งก็ต้องหวังบ้างแหละว่า

ผลแห่งทานที่ทำนี้จะช่วยให้มีชีวิตที่ไม่ลำบาก

ทั้ง ในชาตินี้และชาติหน้า นี่ก็แสดงว่าทุกคนรู้จักวางแผนระยะยาวไปถึงชาติหน้า

แม้บางคนอาจจะแค่คิดเผื่อ ๆ ไว้เพราะ

ใจยังไม่ฟันธงว่าชาติหน้ามีหรือเปล่า

ใจของผมฟันธงมาเนิ่นนานแล้วว่าชาติหน้ามีจริง

การวางแผนเพื่อชีวิตในชาติหน้าจึงหนักแน่น แต่ก็หนักแน่น

ตามประสาปุถุชนไม่ใช่อริยะ เมื่อผมทำบุญทำทานช่วยเหลือคนอื่นด้วยใจจริง

ผมก็หวังว่าบุญนี้จะส่งผลให้ชีวิตสบาย ๆ บ้าง พูดง่าย ๆ ก็คือมีเงินใช้ และต้องมีปัญญาด้วยคือมีเงินใช้และไม่โง่

เมื่อวานนี้พี่สาวของผมเล่าเรื่องให้ฟังว่า

ข้างบ้านของเรามีครอบครัวหนึ่งอดมื้อ กินมื้อ หาเช้ากินค่ำไปวัน ๆ เมื่อ

ไม่กี่วันนี้ถูกหวยได้เงิน 4,000 บาท เลยพาทั้ง บ้านพ่อ แม่ ลูก

ไปนั่งกินที่ร้านอาหารให้หนำใจ เงิน 4,000 บาทหมดเกลี้ยง

ในวันเดียว แวบแรกที่ได้ฟังผมพิพากษาเลยว่าใช้เงินไม่เป็น

แถมมองเขาในแง่ร้ายเพิ่มเข้าไปอีก 2‐3 อย่าง แต่ผมก็ชะงักว่า

เพราะชีวิตของเขาขาดแคลนขนาดหนัก

จึงยั้งใจยั้งมือไม่ทัน เขาขาดสติไปบ้างแต่ก็ไม่น่าตำหนิ

ที่ผมกลัวมากก็คือการเกิดใหม่สบายแต่โง่นี่แหละครับ

ท่านลองคิดถึงคน 3 ประเภทต่อไปนีที้่ท่านรู้จักหรือเห็น

ตัวตนในสังคม

**************************

[1] มีเงินใช้ แต่ชั่ว

[2] มีเงินใช้ ไม่ชั่ว แต่ไร้น้ำ ใจ

[3] มีเงินใช้ ไม่ชั่ว มีน้ำ ใจ แต่ทุกข์ใจ ปล่อยวางไม่ได้ ทำใจไม่เป็น

*************************

ผมขอว่าไปทีละข้อ

ข้อ [1] มีเงินใช้ แต่ชั่ว– ตัวอย่างที่เห็นชัดมากในสังคมไทยก็คือ

ลูกหลานของคนรํ่ารวยหรือคนมีอำนาจที่ถูก

ตามใจจนเหลิง เมื่อลูกหลานทำผิดก็ช่วย บางรายเช่นนักการเมืองหรือข้าราชการระดับสูง

ทำได้แม้แต่ซื้อสื่อไม่ให้ลงข่าว

หรือลงแบบแก้ตัว ที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า whitewash

หรือภาษาไทย คือ การฟอกตัว หรือ การกลบเกลื่อน อันที่จริงผม

อยากจะยกตัวอย่างจะจะ แต่กลัวถูกฟ้องจึงขอพูดแค่นี้

ข้อ [2] มีเงินใช้ ไม่ชั่ว แต่ไร้น้ำใจ - คนที่ทำงานเหนื่อย

และใช้เงินที่หาได้เพื่อความสะดวกสบายและเพลิดเพลิน

ไม่ได้ทำอะไรผิดเลย และแม้ว่าเขาไม่ได้ช่วยเหลือใคร ใครก็ไม่มีสิทธิ์ไปต่อว่าเขา

เพราะเขาอาจจะคิดว่าตอนที่เขาเหนื่อยก็ไม่มีใครเห็นใจช่วยเหลือ

แต่ผมมองอย่างนี้ครับ โลกเรานี้เมตตาคนที่มีกรุณาต่อคนอื่น

และจะหยอดปีติคือความปลาบปลื้ม ลงในใจของ

คนที่ทำทานด้วยใจกรุณาไม่ว่ามากหรือน้อย แม้แต่เทพทั้ง

หลายที่เราไม่เห็นตัวก็จะมองคนที่มีเมตตาด้วยสายตาที่ยิ้มแย้ม

และทุกคนย่อมเคยช่วยเหลือคนอื่นและรู้จักปีติในใจตัวนี้

แต่ทำไมเรามักจะรู้สึกว่าคนไทยเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีน้ำใจ

มีพระผู้ใหญ่หลายรูปวิเคราะห์ว่า

เพราะอำนาจของลัทธิวัตถุนิยมทำให้คนเห็นแก่ตัวและไร้น้ำใจ แต่เท่าที่เห็นก็

ไม่มีบริษัทไหนที่ขายสินค้าและบริการบอกลูกค้าว่าอย่าทำบุญ

และอย่างนี้จะไปโทษบริษัทที่ขายสินค้าก็คงไม่เป็นธรรมนัก

ผมว่าดูง่าย ๆ อย่างนีดี้กว่าครับ คือเมื่อเรามีเงิน

เราติดนิสัยที่จะซื้อมากเกินไป กินมากไป เที่ยวมากไป เล่นมากไป รวมทั้ง

วางแผนและสะสมเงิน ที่จะซื้อ - กิน- เที่ยว-เล่น ในอนาคต

จนเราไม่มีเงินเหลือเพื่อคนอื่นที่ลำบาก

ผมว่าทางออกเรื่องนี้ไม่ยากเลย เราน่าจะมีกระปุกทำบุญตั้ง

ไว้ที่หัวเตียงนอน เมื่อก่อนนอนสวดมนต์เสร็จก็

หยอดเงินลงกระปุกทุกวัน ๆ ละนิด ๆ หน่อย ๆ

เช่น เหรียญ 10 บาท หรือแบงก์ 20 หรือ 50 บาท เมื่อได้โอกาสเหมาะก็

ยกกระปุกนี้ไปบริจาคที่วัดแท้หรือองค์กรที่น่าเชื่อถือหรือคนเดือดร้อนที่เรารู้จัก

เมื่อทำไปเรื่อย ๆ เราจะรู้สึกปลาบปลื้ม          

อิ่มใจ เริ่ม “เสพติด” นิสัยทำบุญด้วยปัญญา

เราจะได้รับความสุขแบบใหม่ที่เราให้แก่ตัวเอง

ข้อ [3] มีเงินใช้ ไม่ชั่ว มีน้ำ ใจ แต่ทุกข์ใจ ปล่อยวางไม่ได้ ทำใจไม่เป็น

คงไม่เข้าท่าแน่ ๆ

ถ้าบุญทานที่ผมทำช่วยให้มีเงินใช้ในชาติหน้าแต่โง่

คนมีเงินใช้แต่ไร้ปัญญาทัง้ 3 ประเภทข้างบนนี้มีตัวอย่างให้เราเห็นเป็นข่าวอยู่บ่อย ๆ

การทำงานเป็น webmaster ของเว็บ e4thai.com

นำความรู้ภาษาอังกฤษและธรรมะจากผู้รู้มาเสิร์ฟท่าน

ผู้อ่านนี้บ่อยครั้งที่ผมได้รับคำอวยพรว่า

วิทยาทานที่ให้นี้จะช่วยให้มีปัญญาในชาติอนาคต

เรื่องนี้ผมไม่แน่ใจนัก เพราะปัญญาที่เอาแต่ให้คนอื่นแต่ไม่ได้ให้ตัวเอง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญญาทางใจ

ก็หวังไม่ได้ว่าจะเกิดปัญญาโดยอัตโนมัติ                    

ที่โรงพยาบาลซึ่งผมรักษามะเร็ง ทุกชั้น มีชั้น หนังสือให้คนไข้หรือญาติหยิบอ่าน

และผมสังเกตว่าหนังสือธรรมะจะมากกว่าหนังสือประเภทอื่น

แต่ถ้าคนแจกหนังสือธรรมะไม่เคยอ่านธรรมะในใจและนำไปปฏิบัติด้วยตัวเอง

ก็คงได้แค่บุญแต่ไม่ได้ปัญญา การให้ปัญญาแก่คนอื่น

เช่น แจกหนังสือธรรมะก็ให้ได้เป็นครั้ง คราว แต่การให้ปัญญาแก่ตัวเองต้องให้ทุกครั้ง เมื่อ

อารมณ์กระทบใจ มีสติรู้เห็นความรู้สึกนึกคิดและปล่อยวาง

บุญ บาป ที่ทำในชาตินี้จะตามเราไปชาติหน้าตามกฎแห่งกรรม

ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ความดีที่ทำไว้เอง เป็น

มิตรติดตามตัวไปเบื้องหน้า - สยํ กตานิ ปุญฺญานิ ตํ มิตฺตํ สมฺปรายิกํ”

แต่ผมไม่เคยเห็นพุทธพจน์เป็นคำบาลีที่บอกว่า

ปัญญาทางธรรมที่สะสมไว้ในชาตินี้จะตามเราไปชาติหน้าด้วย

ท่านใดเคยเห็นพุทธพจน์บาลีเช่นนี้ช่วยบอกด้วยครับ

แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น พวกนี้มากเท่าได เช่น ขี้กังวล เจ้าทุกข์ ขี้มักได้ ใจโหด โกรธง่าย จองเวร ขี้อวด ริษยา ขี้อาฆาต ฯลฯ

ความไร้ปัญญาซึ่งเป็นหนี้สินในใจก็จะตามไปอยู่กับเจ้าของเดิมและความมีปัญญาก็เช่นเดียวกัน

ย่อมเป็นบอดี้การ์ด ตามไปรักษาเจ้านายของมัน

อ่านมาถึงตรงนี้ท่านอาจจะกล่าวหาว่า

ผมคิดมากเกินไป และไม่จำเป็นต้องตระเตรียมอะไรมากมายปานนั้น

ด้วยความเคารพครับ ผมขอเถียงว่า ผมไม่ได้คิดมาก

แต่คิดพอดี ๆ หากแต่ที่พอดี ๆ นั้น มันมีหลายส่วนที่ท่านไม่ได้คิด

หรือไม่เชื่อ ท่านก็เลยหาว่าผมคิดมาก.....................

####################################################################