โปรแกรมใหม่ของ อ.ยุทธนา: 35 English Synonyms Tests

 35 Synonyms 350

       อาจารย์ยุทธนาได้ทำโปรแกรมคำศัพท์ใหม่ออกมาบริการประชาชน ชื่อโปรแกรม 35 English Synonyms  Tests ท่านเข้าไปอ่านคำแนะนำ และดาวน์โหลดโปรแกรมเพื่อติดตั้งใช้งาน ได้ที่นี่ครับ
https://goo.gl/PntdcW
       ผมขอแนะนำโปรแกรมนี้สักนิดดังนี้ครับ
       คือเราคนไทยส่วนใหญ่ เมื่อได้ยินคำว่า synonym หรือคำศัพท์ที่มีความหมายเหมือนกัน เรามักจะนึกไปถึงประโยชน์ที่เป็น passive skill คือ อ่านกับฟัง หมายความว่า เมื่อฝรั่งเขาพูดหรือเขียนประโยค โดยใช้คำที่ต่างออกไปแต่มีความหมายเหมือนกัน เราก็จะได้เข้าใจ เช่น แทนที่จะใช้คำว่า change ก็ใช้คำว่า shift, alter, modify หรือ transform เพราะฉะนั้น synonym นี่ ยิ่งรู้มากเท่าใดยิ่งดีเท่านั้น เพราะเมื่อฝรั่งเขาใช้คำแปลก ๆ ที่มีความหมายเหมือนกัน เราอ่านหรือฟังก็จะรู้เรื่อง
       แต่สิ่งที่อยากจะชวนให้มองลึกไปอีกหน่อยก็คือ ประโยชน์ของ synonym ที่เป็น active skill คือ พูดกับเขียน ก็คือว่า ศัพท์หลาย ๆ คำที่เป็น synonym แม้จะมีความหมายเหมือน ๆ กัน แต่มันก็ต่างกัน ต่างกันตรงไหน?

       ท่านลองอ่านคำถาม 5 ข้อนี้ประกอบครับ → คลิก

       [1] - ต่างกันตรง shade of meaning คือ ความหมายมันจะไม่ตรงกันเด๊ะ แต่มันจะเหลื่อมกันบ้าง ไม่มากก็น้อย และฝรั่งที่รู้ภาษาดี เขาก็จะเลือกใช้คำที่มีความหมายเหมาะสมที่สุดในสถานการณ์ที่เขาพูด ซึ่งก็แน่นอนแหละครับ ถ้าคนที่ไม่ใช่ native speaker ใช้คำพื้น ๆ  ฝรั่งก็เข้าใจ แต่เนื่องจากเขารู้จักภาษาของเขาดี  เมื่อเขาพูด เขาก็อาจจะเปลี่ยนไปใช้ shift, alter, modify หรือ transform หรือคำอื่น ๆ ที่มันเหมาะกว่าคำว่า change

      [2] - มันต่างกันตรงกลุ่มคำที่มักใช้ด้วยกัน หรือที่เรียกว่า collocation อย่างเช่น noun ตัวนี้ซึ่งเป็นประธาน(subject) จะทำกริยา(verb) ที่ตามด้วยกรรม(object)    เขาก็จะเลือกใช้ verb  ที่มันเหมาะกับ subject และ object  ถ้ายกตัวอย่างภาษาไทย ก็เช่น เรามักพูดว่า ฝนตกหนัก - ลมพัดแรง, เราไม่ค่อยพูดว่า ฝนตกแรง - ลมพัดหนัก

      ตามโจทย์ 5 ข้อข้างบน ถ้าเป็นการพูดสนทนาและเราไม่คิดอะไรมาก ก็ใช้ verb คือ change ได้ทุกข้อ แต่ถ้าจะให้ถูกต้องตาม shade of meaning และ collocation   ก็ต้องใช้ตามที่เขาใช้ ซึ่งคำอื่น ๆ อาจจะเหมาะกว่า change
       ท่านอาจจะถามว่า อ้าว! เราเราจะรู้ได้ยังไงว่าต้องใช้คำไหนถึงจะถูกต้อง?
       ถ้าพูดตามประสาเรา ๆ กันเองที่ไม่ใช่ฝรั่งก็ต้องตอบว่า เราต้องใช้ภาษาอังกฤษอยู่เสมอ คืออ่านบ่อย ๆ และฟังบ่อย ๆ และเราจะค่อย ๆ ซึมซับลีลา สำนวน การใช้ถ้อยคำของเขาทีละนิดทีละหน่อย เป็นการเรียนรู้แบบธรรมชาติ และเมื่อต้องมาทำข้อสอบพวกนี้ หรือเมื่อต้องพูดหรือเขียนภาษาอังกฤษ ที่สื่อความในทำนองนี้ ของที่สะสมไว้ในสมองมันก็จะบอกเราเองว่า ต้องใช้คำศัพท์อะไรจึงจะเหมาะที่สุด
      คราวนี้ก็มาถึงประโยชน์ของโปรแกรม 35 English Synonyms  Tests   ซึ่งจะช่วยให้เรา "เรียนลัด" ในเรื่องนี้

      คือโปรแกรมนี้ มี synonym ทั้งหมด 3 level ได้แก่ Elementary - 10 กลุ่ม, Intermediate - 12 กลุ่ม และ Advanced - 13 กลุ่ม รวมทั้งหมด 35 กลุ่ม ๆ ละ 10 ข้อ รวมโจทย์ทั้งสิ้น 350 ข้อ
      คลิกดู → http://www.e4thai.com/e4e/images/vdo/3level.pdf
      ท่านก็คลิก เลือก Level และกลุ่ม Synonym ที่ท่านจะ train & test ตัวเอง, โจทย์จะส่งคำถามมาให้ท่านทำทีละข้อ

      อย่างเช่นข้อนี้→  "เขาไม่มีงานประจำ เขาเปลี่ยนจากงานนี้ไปงานโน้นอยู่เรื่อย"
                       → http://www.e4thai.com/e4e/images/vdo/elementary_shift_job.pdf
       การทำโจทย์ทำนองนี้ เราต้องขยันสังเกต shade of meaning และ collocation  และเราจะค่อย ๆ คล่องขึ้นเรื่อย ๆ และบางทีเราอาจจะต้องปรึกษาดิกชันนารีอังกฤษ-อังกฤษ ว่าความหมายโดยเจาะจงของคำนั้นคำนี้คืออะไร [ ในแง่นี้ ดิก อังกฤษ - ไทย ช่วยเราไม่ได้ เพราะให้เพียงคำแปลสั้น ๆ แต่ไม่ได้บอก shade of meaning ยิ่งประโยคตัวอย่างแทบไม่เคยมี หรือมีน้อยเกินไป จึงไม่มีอะไรให้เราสังเกตเรื่อง collocation ]
       นี่แหละครับ ที่ผมบอกว่า คือการศึกษา synonym เพื่อพัฒนา active skill (คือ พูด และเขียน) และโปรแกรมของอาจารย์ยุทธนาชุดนี้สามารถช่วยเราฝึกได้ แต่เราต้องเรียนอย่างขยันและใจเย็น เปิดใจสังเกตอยู่เรื่อย ๆ และเราจะค่อย ๆ เก่งขึ้นโดยไม่รู้ตัว
       แถมท้ายครับ ผมมีไฟล์ pdf ของหนังสือเล่มที่อาจารย์ยุทธนาใช้ทำโปรแกรมนี้ 74 หน้า ถ้า print A4 หน้า-หลัง ก็แค่ 37 หน้า พกติดตัวได้สบาย หยิบขึ้นมาดูได้เวลาที่ไม่ได้ online

http://www.e4thai.com/e4e/images/pdf2/35-english-synonyms-tests.pdf

      แต่ถ้าท่านมีคอมฯ ขอแนะนำว่าเรียน synonym ชุดนี้ผ่านโปรแกรมของอาจารย์ยุทธนาดีกว่าครับ เพราะลักษณะการฝึกผ่านโปรแกรมโดยผ่านคอมฯ นี้มันมี response ถูกหรือผิดตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยให้เราจดจำได้ง่ายโดยไม่ต้องเคี่ยวเข็ญตัวเองมากนักให้ต้องจำ
พิพัฒน์
www.facebook.com/en4th