Google WWW Blog e4thai www.e4thai.com

เล่าอังกฤษ ตามอารมณ์

Lung Toon
สวัสดีครับ
       ผมจะหาเรื่องอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ นิด ๆ หน่อย ๆ เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ อาจจะเป็นเรื่องแกรมมาร์ เรื่องศัพท์ หรือ story หรืออื่น ๆ ที่สั้น ๆ เบา ๆ มาคุยกับท่าน ตามที่นึกได้หรือค้นเจอ คงไม่เป็นวิชาการอะไรมากมายนัก แต่อ่านเล่น ๆ เบา ๆ เพลิน ๆ ก็คงพอได้ โดยเรื่องใหม่ที่เขียนในวันใหม่จะโปะไว้ข้างบน ส่วนเรื่องเก่า ๆ ก็อยู่ล่าง เรียงหมายเลขขึ้นมาตามลำดับ เอาอย่างนั้นแล้วกันนะครับ

pencil

【5】entrance - คำที่คนไทยออกเสียงถูก แต่ก็ผิด
     พอพูดถึงคำว่า entrance เราก็มักถึงการสอบเข้ามหาวิทยาลัย อย่างเช่น คำนี้ในภาษาอังกฤษ entrance examinations
     เราออกเสียง entrance ว่า "เอ็น ทร้านซฺ" คือลงเสียงหนักพยางค์หลัง
     แต่ที่ถูกต้อง คำนี้จะต้องลงเสียงหนักพยางค์แรก และตามหลักการออกเสียง เมื่อพยางค์แรกลงเสียงหนัก เป็น "เอ๊น" พยางค์หลังเสียงก็จะเบาลง เป็นเสียง ə (เสียง schwa คือเสียง อะ หรือ เออะ) จึงเป็น "เอ๊น เทริ่นซฺ"

    เชิญท่านเข้าไปที่ 2 ลิงก์นี้ แล้วคลิกที่ไอคอนรูปลำโพงเพื่อฟังเสียง ให้สังเกตนะครับว่ามันลงเสียงหนักที่พยางค์แรกจริง ๆ 
คลิกฟัง 1 
คลิกฟัง 2 
     คำว่า entrance นี้ เป็น noun มีความหมายรวม ๆ ว่า ทางเข้า, การเข้า, สิทธิในการเข้าเรียน หรือ เข้าเป็นสมาชิก อะไรทำนองนั้นแหละครับ
คลิกดู 

     ดูประโยคตัวอย่าง ข้างล่างนี้ครับ
• the main entrance to the school
• the station entrance
Entrance to the museum is free.
• Reporters even managed to gain entrance to her hotel.
• How much is the entrance fee ?
• the initial interview for entrance to the Civil Service
entrance examinations
• The referendum blocked Switzerland's entrance into the European Economic Area.

▤ ▥ ▦ ▧ ▨ ▩ ▤ ▥ ▦ ▧ ▨ ▩
แต่ถ้าท่านออกเสียงหนักที่พยางค์หลัง คลิกฟังเสียง ที่นี่ครับ
→ แบบอังกฤษ "เอ็น ทร้านซฺ" →  คลิกฟัง
→ แบบอเมริกัน "เอ็น แทร๊นซฺ" → คลิกฟัง 
      ความหมายมันก็เปลี่ยนไป คือมันแปลว่า ดึงดูดความสนใจอย่างมากมาย ซึ่งอาจจะเพราะว่ามันสวย หรือน่าสนใจ แทบจะเรียกว่ายังกะถูกสะกดจิตเลยแหละ
     ลองดูประโยคตัวของคำว่า entrance ที่เป็น verb ในความหมายนี้ ซึ่งมักจะใช้ในรูป passive voice
     โดยในดิกบอกว่า มันเป็นภาษา literary คือเป็นภาษาวรรณคดีสักหน่อย 

      ดูประโยคตัวอย่างข้างล่างนี้ครับ
• He listened to her, entranced.
• I was entranced by the bird's beauty.
• I was entranced by her sheer beauty.
• He was immediately entranced by her voice .. .
• You know I did, I was entranced by them the other day.
• Her icy, delicate beauty entranced Kay.
• We were entranced by/with the magnificent view.
       คราวนี้ลองฟังเปรียบเทียบ ทั้ง 2 แบบ ให้เห็นชัด ๆ
[1] entrance ที่เป็น noun หมายถึง การสอบเข้า หรือทางเข้า:
entrance examinationsคลิกฟัง 
[2] entrance ที่เป็น verb หมายถึง ดึงดูดความสนใจอย่างมากมาย:
I was entranced by the sweetness of her voice. คลิกฟัง 
     ก็เป็นอันว่า ถ้าหมายถึงการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ก็ต้องพูดว่า สอบ "เอ๊น เทริ่นซฺ" ไม่ใช่สอบ "เอ็น ทร้านซฺ"
     แต่ถ้าหมายถึงถูกทำให้งวยงงเพราะความงาม ทำนองนั้น ก็ออกเสียง "เอ็น ทร้านซฺ"  
     ขอแถมนิดนะครับ เฉพาะคำว่า trance นี่นะครับ มันเป็น noun แปลว่า ภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น การอยู่ในภวังค์ แบบคนถูกสะกดจิต หรือคนที่ถูกเข้าทรง อะไรแบบนั้น คราวนี้ en+trance ซึ่งเป็น verb ที่มักจะใช้ในรูป passive voice ก็มีความหมายคล้าย ๆ กับว่า เราถูกสะกดให้หลงใหลจนลืมตัวอย่างนั้นแหละครับ

pencil

【4】 ศัพท์พุทธศาสนาพื้นฐาน ใช้พูดกับชาวต่างชาติ
       เมื่อตื่นนอนตอนเช้า เปิดโทรทัศน์เห็นข่าวคนชกต่อยทำร้ายฆ่าฟันกัน ทั้งบนท้องถนนและที่บ้านเรือน หลายกรณีเกิดจากโกรธและแค้นและก็แก้แค้น บางเรื่องที่รุนแรงมากเริ่มจากความใจร้อนมากเกินไปนิดเดียว
       ผมมองดูแล้วก็นึกว่า โดยทั่วไปคนไทยก็ใจดี เห็นใครเดือดร้อนถ้าพอจะช่วยได้ก็ช่วย การ "ให้" จึงน่าจะอยู่ในดีเอ็นเอของคนไทยส่วนใหญ่ แต่จากข่าวที่ปรากฏอดรู้สึกไม่ได้ว่า มีอย่างหนึ่งที่คนไทยให้กันน้อยเกินไป คือให้ "อภัย" คือเรา give แต่เราไม่ค่อยจะ forgive และ forgive นี่น่าจะเป็นรูปแบบที่สูงสุดของการ give
       พอคิดถึงศัพท์ 2 ตัวนี้ก็เลยคิดต่อไปว่า อาจจะมีบางท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอาจารย์หรือหลวงพี่ ที่มีโอกาสบ้างในการพูดอะไรที่เกี่ยวกับพุทธศาสนากับชาวต่างประเทศ ซึ่งอาจจะเป็นพุทธธรรม, พุทธพิธี, พุทธวัตถุ, พุทธสถาน ถ้าเรารู้ศัพท์พื้นฐานไว้บ้าง ก็จะดึงมาพูดได้ทันทีโดยไม่ต้องนึกมาก ซึ่งศัพท์พวกนี้ก็มีอยู่แล้วใน "พจนานุกรมพุทธศาสน์" แต่มันเยอะจัดยิ่งเมื่อเจอคำบาลีดูนานก็ตาลายได้ ในที่นี้ผมจึงดึงมาบ้างบางคำที่ดูแล้วน่ารู้ สามารถหยิบใช้พูดได้ทันที บางคำไทยให้คำแปลเป็นอังกฤษไว้หลายคำ ท่านก็เลือกใช้สัก 1 คำที่เข้ากับเรื่องที่กำลังคุยกับคนต่างชาติ หรืออาจจะดัดแปลงสักเล็กน้อยให้มันสั้นลงหรือกระชับขึ้น ลองเข้าไปดูได้เลยครับ ผมได้ทำ Bookmarks ที่ไฟล์ pdf ให้ท่านคลิกไปยังหน้าที่ขึ้นต้นด้วยตัว ก.. ข..ค.. ได้โดยสะดวก
http://www.e4thai.com/e4e/images/pdf2/ศัพท์พุทธศาสนาพื้นฐานใช้พูดกับชาวต่างชาติ.pdf 

pencil

【3】กินอย่างช้า ๆ = eat slowly, ทำงานอย่างเร็ว ๆ = work quickly และถ้าจะพูดว่า "ผมจะพูดกับคุณอย่างผู้ชาย" พูดว่า I want to talk to you manly. ได้มั้ย?
       คงมีหลายท่านที่ตอบได้ถูกต้องทันทีว่า "พูดอย่างนี้ไม่ได้" แต่ทำไมมันไม่ได้ล่ะครับ
       คำตอบง่าย ๆ ที่คงผ่านหูผ่านตามาบ้างแล้วก็คือ
adjective+ly = adverb และมักวางหลัง verb เพื่อใช้ขยาย verb แปลว่า "อย่าง..." เช่น
He walks slowly. เขาเดินอย่างช้า ๆ
They eat slowly.เขากินอย่างเร็ว ๆ
We work quickly. พวกเราทำงานอย่างรวดเร็ว
       แต่ว่า ถ้ามัน noun เช่น man + ly เป็น manly มันไม่ได้เป็น adverb เพื่อขยาย verb อย่างข้างบนนะครับ แต่มันมักจะเป็น adjective ซึ่งมักจะใช้ขยาย noun โดยวางไว้ข้างหน้า noun หรือวางหลัง verb to be (ตามที่ครูสอน) ยกตัวอย่างข้างล่างนี้ครับ

He gave her a brief, brotherly kiss.
...a friendly atmosphere...
Your cat isn't very friendly.
a monthly journal วารสารรายเดือน
The property price can rise monthly ราคาอสังหาริมทรัพย์ขึ้นได้ทุกเดือน
(monthly คำนี้เป็น adverb ได้ด้วย คือขยาย verb – rise แต่ไม่ได้แปลว่า "อย่างเดือน" แต่แปลว่า "ทุกเดือน" หรือ "รายเดือน" .
       ขอแถมอีกสักหน่อยนะครับ ที่เป็น noun+ly และทำหน้าที่เป็น adjective
• Beastly

• Costly
• Cowardly
• Elderly
• Fatherly
• Gentlemanly
• Gentlewomanly
• Ghostly
• Godly
• Homely
• Humanly
• Kingly
• Leisurely
• Lovely
• Manly
• Masterly
• Motherly
• Nightly
• Priestly
• Princely
• Saintly
• Scholarly
• Sisterly
• Timely
• Weekly (เป็น adverb ได้ด้วย)
• Womanly
• Worldly
• Yearly (เป็น adverb ได้ด้วย)

pencil

【2】หน้าวันจะต้องมี on หรือเปล่า เช่น on Monday, on Sunday ?
       ที่ผมถามอย่างนี้ก็เพราะว่า ที่เรียนมาตอนชั้นมัธยม บอกว่า หน้าวันจะต้องมี on และผมก็จำได้แม่นเพราะมันจำง่าย แต่เมื่ออ่านข่าวในหน้า นสพ Bangkok Post ผมเห็นทั้ง 2 แบบ คือ ทั้งมีและไม่มี on วางหน้าวัน เช่น 2 ประโยคข้างล่างนี้

The BMA was hit with a barrage of criticism this week after it started to ban street food from Thong Lor on Monday. สัปดาห์นี้ กทม . ถูกด่าหลังจากที่ห้ามขายอาหารริมถนนที่ทองหล่อเมื่อวันจันทร์

The ban on political activities will also remain in force even after the promulgation of the new constitution Thursday, though the government insists it will stick to its roadmap leading to a general election.
คำสั่งห้ามกิจกรรมทางการเมืองยังมีผลหลังประกาศรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อวันพฤหัสบดี แม้รัฐบาลยืนยันจะยึดโรดแมพวันเลือกตั้ง
       ผมก็เลยสงสัยว่า เอ๊ะ! ตกลงอย่างนี้มันต้องมี on หรือไม่ต้องมี
       พอลองเข้าไปดูที่ดิก Longman ที่คำว่า Sunday
→ http://www.ldoceonline.com/dictionary/sunday 
       เขาให้ 2 ประโยคนี้เป็นตัวอย่าง
We're going to a match on Sunday.
What are you doing Sunday? American English – ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน
       แต่ผมก็ยังไม่ค่อยพอใจในคำตอบ นี่หมายความว่า มันเป็นกฎเด็ดขาดหรือยังไงว่า ถ้าแกรมมาร์อังกฤษแบบอังกฤษ ให้เติม on หน้าวัน ถ้าแบบอเมริกันไม่ต้องเติม มันอย่างนั้นจริง ๆ รื้อ?
      ผมลองไปหาคำอธิบายที่อื่น ก็ได้อันนี้มา
https://fluentli.com/questions/to-use-or-not-to-use-on-before-the-names-of-the-days-of-the-week 
       เขาพูดยาวทีเดียวครับ แต่สรุปก็คือ แกรมมาร์ไม่ใช่เรื่องตายตัว เปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัยและความนิยม ถ้าใครไม่อยากใช้เขาก็ไม่ใช้ ถ้ายังอยากใช้ก็ใช้ไป หรืออาจจะมีกฎเกณฑ์อะไรอะไรเพิ่มเติมก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาแบบ casual หรือภาษาที่ใช้ในการเขียนหรือพูดรายงานข่าว
       ก็เป็นอันว่าเราเข้าใจตามนี้แล้วกันครับ
       เรื่องการใช้ภาษาตามแบบที่ชาวบ้านเขาอยากจะใช้นี้ แม้นักภาษาจะต่อว่า คนเขาก็อาจจะไม่สนใจ เขาจะใช้ของเขาอย่างนั้นซะอย่าง อย่างเช่นคำว่า "สนธิ" ซึ่งเป็นคำนาม แต่ในข่าวมักจะใช้เป็นคำกริยา เช่น
นายจำนัล เหมือนดำ นายอำเภอสุไหงปาดี จ.นราธิวาส และ พ.ต.อ. ขวัญดี ฉิมพลี สภ.สุไหงปาดี ร่วมแถลงผลการสนธิกำลังทหารเข้าตรวจค้นยาเสพติดในพื้นที่บ้านจือแร ม.1 ต.ริโก๋ อ.สุไหงปาดี
http://www.royin.go.th/?knowledges=สนธิ-๘-กันยายน-๒๕๕๒ 
       เรื่องอย่างนี้ ถ้าเป็นข้อสอบ คงต้อง "ปลอดภัยไว้ก่อน" โดยเลือกข้อที่มี on วางหน้าวัน มั้งครับ

pencil

【1】คำนามที่เป็นเอกพจน์ – พหูพจน์ ดูยังไง
       เราเรียนกันมาว่า ของอันเดียว ถ้าจะให้มีหลายอันก็เติม s เช่น pen – pens, book – books
       แต่บางทีก็ไม่เป็นอย่างนี้ เช่น 10 ดอลลาร์ เราเขียนว่า ten dollars แต่ถ้า 10 บาท เราก็เขียน 10 bahts
       แต่เอ๊ะ! ก็เห็นบ่อย ๆ ในข่าวที่เงินหลายบาทเขียนไม่ต้องเติม s ก็ได้ เป็น 10 baht
https://www.merriam-webster.com/dictionary/baht 
      ผมว่าแกรมมาร์มันน่าเบื่อตรงนี้แหละครับ คือมันมีกฎแต่ก็มีข้อยกเว้น และไอ้ข้อยกเว้นนี้บางมีมันเยอะกว่ากฎซะอีก
      อย่างปลา ไม่ว่าจะตัวเดียว หรือหลายตัว ก็ใช้ fish   

      แต่ถ้าใช้  fishes ไม่ได้หมายถึงปลายหลายตัว  แต่หมายถึงปลาหลายชนิด หรือหลายพันธุ์ (kind, species)

ขอขอบคุณคุณ Mi Memi  มาก ๆ ครับที่ช่วยกรุณาแก้ที่ผมเขียนผิด

http://www.oxfordlearnersdictionaries.com/definition/english/fish_1?q=fish 
http://www.learnersdictionary.com/definition/fish

     แต่ถ้าเป็นปลาฉลาม – shark, ปลาวาฬ – whale, ปลาโลมา - dolphin ปลาพวกนี้หลายต้องตัวเติม s นะครับ เป็น sharks, whales, dolphins
http://www.ldoceonline.com/dictionary/shark 
http://www.ldoceonline.com/dictionary/whale 
http://www.ldoceonline.com/dictionary/dolphin 
      อ้าว! ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้ว ถ้าถามว่า ปาท่องโก๋ หลายตัวเติม s หรือเปล่า
      ปาท่องโก๋ มันไม่ใช่ปลา แต่มันเป็นขนม เขาแปลกันว่า Chinese cruller ถ้าหลายตัวก็เติม s เป็น Chinese crullers ครับ
http://www.macmillandictionary.com/dictionary/american/cruller  
    และปาท่องโก๋นี่ จะเรียกว่า ตัว หรือ คู่ ก็ได้ครับ
http://www.trueplookpanya.com/learning/detail/4035/007735 
ศึกษาเพิ่มเติม
http://tinyurl.com/laux92n 
http://tinyurl.com/n5vsy7x 
http://tinyurl.com/mx2m7y9 

Google
Search WWW Search Blog e4thai Search www.e4thai.com