Google WWW Blog e4thai www.e4thai.com

เกมคำคล้องจอง ที่ช่วยจับผิดการออกเสียงพยางค์ท้ายคำศัพท์

 rhyme

สวัสดีครับ

       ผมไม่แน่ใจว่าชั้นมัธยมทุกวันนี้เขาสอนการแต่งกลอนเหมือนสมัยผมเรียนหรือเปล่า  แต่ไม่ว่าจะสอนหรือไม่สอน คนไทยก็มีบทกลอนอยู่ในสายเลือดเพราะเพลงไทยต้องแต่งให้คล้องจอง จึงมีคนนำการคล้องจองไปผูกศัพท์ให้จำได้ง่าย ๆ กันลืม – คลิกดู

       แต่เรื่องของเรื่องก็คือว่า การคล้องจองของไทย กับ rhyme ของฝรั่งนั้นไม่เหมือนกันซะทีเดียว  อย่างเช่น คน กับ มงคล คล้องจองกัน เพราะมงคล เราออกเสียงว่า มง-คน เราไม่ได้ออกเสียง มง – คล ล ล ....

       แต่ของฝรั่ง moon ไม่ได้ rhyme กับ fool, แต่ rhyme กับ balloon เพราะ fool เขาไม่ได้ออกเสียงว่า ฟูน แต่ออกเสียงว่า ฟูล และตามหูของฝรั่งนั้น ฟูน กับ ฟูล มันไม่ได้คล้องจองกัน ท่านลองเข้าไปดูที่ ---> rhyming dictionary ก็ได้ครับ

       และเนื่องด้วยเผลอติดการคล้องจองแบบไทย ๆ นี่เอง เมื่อผมเข้าไปเล่นเกมศัพท์คล้องจองที่ 2 ลิงก์นี้

       จึงได้สำนึกว่า เพราะคนไทยเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับการออกเสียงพยางค์ท้ายคำให้ถูกต้อง เราก็เลยออกเสียงผิดบ่อย ๆ   ถ้าเราเอาใจใส่ตรงนี้เพิ่มขึ้นอีกนิดเดียว เราก็จะออกเสียงคำในภาษาอังกฤษได้ดีขึ้นเยอะ

       สำหรับคำที่สะกดเหมือนกัน และออกเสียงคล้องกัน อันนี้ไม่ค่อยมีปัญหามากนัก เช่น

moon (มูน)คล้องกับ balloon (บะลูน), ไม่คล้องกับ  fool (ฟูล= คนโง่)

mine (ไมนฺ)คล้องกับ line (ไลนฺ), ไม่คล้องกับ lie (ไล =โกหก)

       แต่มี 2 ข้อเกี่ยวกับการออกเสียง ที่ผมขอให้ท่านสังเกตมาก ๆ เพื่อจะได้ไม่ออกเสียงผิด คือ

[1] มีหลายคำในภาษาอังกฤษที่ สะกดต่างกันแต่ออกเสียงเหมือนกัน   นี่ก็เป็นเรื่องที่ชวนสับสน

tracks (แทร็คซ์) คล้องกับ wax (แว็คซ์), แต่ไม่คล้องกับ fact (แฟคท์)

email (อีเมล)คล้องกับ whale (เวล), แต่ไม่คล้องกับ shell (เช็ล) ซึ่งเสียงสั้นกว่า

decrease (ดิครีส)คล้องกับ masterpiece (มาสเตอรฺพีส)

money (มันนิ)คล้องกับ canary(คะแน้ริ) เป็นเสียงสั้น i, ไม่คล้องกับ knee (นี)ซึ่งเป็นเสียงยาว i:

suncream (ซันครีม) คล้องกับ scheme (สกีม=แผนการ)

bouquet (บุเค)คล้องกับ sleigh (สเล=รถลากเลื่อนบนหิมะ)

steak (สเตค)คล้องกับ ache (เอค=ปวด), แต่ไม่คล้องกับ check (เช็ค) ซึ่งเสียงสั้นกว่า

 [2]  verb ที่ลงท้ายด้วย  -ed, เราต้องมองให้ออกว่า มันออกเสียง ดฺ หรือ ทฺ

-ed ที่ออกเสียง ดฺ

lifeguard (ไลฟฺการฺด=เจ้าหน้าที่คอยช่วยชีวิตคน) คล้องกับ scarred  (ซการฺด=มีแผลเป็น)

swayed (สเวด=v ช่อง 2, แกว่งไปมา ) คล้องกับ afraid  (อเฟรด=กลัว)

-ed ที่ออกเสียง ทฺ

suggest (ซะเจ็สท)คล้องกับ confessed (เคินเฟ็สท=v ช่อง 2, สารภาพ) , ไม่คล้องกับ straight (ซเตร=ตรง)

laughed (ลาฟทฺ) คล้องกับ draught (ดราฟท =ลมที่พัดเข้ามา), อย่าไปสับสนกับ drought (เดราทฺ =ภาวะฝนแล้ง)

       ถึงตรงนี้ ผมขอชวนให้ท่านเข้าไปลองเล่นเกม คำคล้องจองที่ 2 ลิงก์นี้ ผมเชื่อว่ามันจะช่วยให้ท่านได้ทบทวนการออกเสียงคำศัพท์ของตัวท่านเองว่า ที่ผ่านมาได้เผลอออกเสียงพยางค์ท้ายคำผิดอะไรไปบ้าง, 1 ลิงก์มีให้เล่น 25 คำ เล่นได้โดยไม่จำกัดเวลา แต่ถ้าทำผิดเพียงครั้งเดียว ต้องเริ่มเล่นใหม่ เพราะฉะนั้นไม่ต้องรีบร้อนครับ

       ท้ายสุดนี้ผมขอแนะนำเว็บนี้ http://howjsay.com/ ให้ท่านใช้บริการเวลาต้องการทราบการออกเสียงคำศัพท์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำที่เติม  -ed, -es ว่ามันออกเสียงยังไงกันแน่  เช่น มีใครรู้บ้างว่า คำว่า---> played มันออกเสียงคล้องกับ---> grade ถ้าสงสัยทำนองนี้ เว็บ howjsay.com ช่วยชี้ขาดให้ท่านได้ครับ

พิพัฒน์

Google
Search WWW Search Blog e4thai Search www.e4thai.com