แกรมมาร์เพื่อการสื่อสาร – เรื่องที่น่าลงทุนศึกษา !!

ชุดวิชา 14212 ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

สวัสดีครับ

       มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีหลักสูตร English Grammar in Use-ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร  ให้ท่านเข้าไปเรียน online ได้ฟรี

http://www.stou.ac.th/schools/sla/b.a.english/D4LP/14212/Contents.html

หลักสูตรนี้มี 15 โมดุล  ดังนี้

โมดูล   1

Basic Sentence Structure

โมดูล   2

Parts of Speech 

โมดูล   3

Nouns and Determiners

โมดูล   4

Verbs

โมดูล   5

Adjectives and Adverbs

โมดูล   6

Connectors 

โมดูล   7

Sentence Types

โมดูล   8

Verbals

โมดูล   9

Compound Sentences

โมดูล  10

Complex Sentences: Noun Clauses

โมดูล  11

Complex Sentences: Adjective clauses

โมดูล  12

Complex Sentences: Adverb clauses

โมดูล  13

Present Time

โมดูล  14

Past Time

โมดูล  15

Future Time

       ผมขอชักชวนท่านผู้อ่านที่ต้องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของตัวเอง ได้สนใจหลักสูตรนี้เป็นพิเศษ คือเรื่องแกรมมาร์นั้น เราอาจจะไม่ต้องสนใจมากนักก็ได้ แต่อย่างน้อยเราก็ต้องรู้มากเพียงพอสำหรับการสื่อสาร คือ เขาสื่อสารมา เรารู้เรื่อง และ เราสื่อสารไป เขารู้เรื่อง

       หลายคนพูดว่า  เมื่อเราสื่อสารไป ก็ไม่ต้องพะวงเรื่องแกรมมาร์มากนักหรอก ขืนกลัวมาก ก็เลยไม่ต้องได้พูดกัน นี่ก็ถูกต้องครับ

       แต่ผมสังเกตว่า สำหรับคนไทยหลายคน เมื่อเขาสื่อสารมา  เช่น โดยการเขียน เราอ่านสิ่งที่เขาเขียน ก็ยังไม่ค่อยรู้เรื่อง เช่น เมื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ ที่เว็บ นสพ. Bangkok Post หลายคนแม้จะจบปริญญาแล้ว ก็ยังอ่านติด ๆ ขัด ๆ บางคนแม้จะรู้ศัพท์แทบทุกตัว ก็ยังอ่านได้แค่ “พอรู้เรื่อง” ซึ่งเป็นภาษาสุภาพที่แปลว่า “ไม่รู้เรื่อง”  และสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นอย่างนี้ก็เพราะไม่รู้จักแกรมมาร์ที่ เขาสื่อสารมา

       ท่านไม่ต้องดูอื่นไกลหรอกครับ ผมขอเปรียบเทียบกับภาษาไทย  อย่าง 4 ประโยคตัวอย่างข้างล่างนี้

เขาแต่งตั้งเป็นประธาน

เขาเป็นประธานแต่งตั้ง

ประธานแต่งตั้งเขาเป็น

ประธานเป็นเขาแต่งตั้ง

       ประโยคภาษาอังกฤษที่เราอ่านมันก็ทำนองนี้แหละครับ  คือ มีทั้งที่เขียนถูก, เขียนผิด, เขียนกระจ่าง, เขียนชวนงง, เขียนสมบูรณ์, เขียนบกพร่อง และถ้าเราไม่มีความรู้พื้นฐานด้านแกรมมาร์อย่างเพียงพอ เราก็จะแยกแยะไม่ออก และงง ทั้ง ๆ ที่บางทีก็รู้ศัพท์ทุกคำ  ที่เห็นง่าย ๆ ก็คือ ประโยคยาว ๆ ที่มีหลาย ๆ วลีซ้อน ๆ กัน อะไรเป็นอะไร ขยายอะไร บางทีเราอ่านแล้วยังจับไม่ได้เลยว่า  เราเองสงสัยตรงไหน สรุปก็คือ อ่านได้แค่ “พอรู้เรื่อง” หรือ อ่าน “ไม่รู้เรื่อง”  นั่นเอง

       และนี่แหละครับ ผมถึงชวนท่านให้ยอมลงทุนศึกษาหลักสูตรนี้

English Grammar in Use - ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร  

http://www.stou.ac.th/schools/sla/b.a.english/D4LP/14212/Contents.html

       ผมเชื่อว่า ท่านจะได้รับความกระจ่างมากขึ้นเยอะทีเดียวเมื่อศึกษาจบ

พิพัฒน์

https://www.facebook.com/En4Th

วิธีติดตั้ง add-on "แปล ศัพท์ ทุกคำ-ทุกเว็บ-ทันที" โดยไม่ต้องเข้าเว็บ ดิก