Google WWW Blog e4thai www.e4thai.com

"ภาษาใจ - ภาษาไทย" ใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

 jai

สวัสดีครับ

เคยได้ยินผู้ใหญ่พูดมาตั้งแต่เด็กแล้วว่า ภาษาไทยเป็นภาษาของ “ใจ”   

วันนี้ผมก็เลยเข้าไปที่พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่ลิงก์นี้ โดยพิมพ์คำว่า *ใจ*  ลงค้น

ก็เจอมากมาย ตามข้างล่างนี้

ถ้าท่านต้องการทราบคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ ก็ทำได้ง่าย ๆ โดยคลิกติดตั้ง add-on (ใช้เวลาติดตั้งไม่กี่วินาที) ตามคำแนะนำในลิงก์นี้ คลิก

 

กระเทือนใจ

ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบ

(มักใช้ในทางที่ไม่ดี), สะเทือนใจ ก็ว่า.

กริ่งใจ

ก. นึกแคลงใจ.

กลั้นใจ

ก. อั้นลมหายใจ.

กลางใจมือ

น. อุ้งมือ.

กลุ้มใจ

ก. รู้สึกรําคาญหรือยุ่งยากใจ ไม่รู้ว่าจะทําอย่างไร.

กลุ้มอกกลุ้มใจ

ก. กลุ้มใจ.

กำลังใจ

น. สภาพของจิตใจที่มีความเชื่อมั่นและกระตือรือร้นพร้อมที่จะ

เผชิญกับเหตุการณ์ทุกอย่าง.

กินใจ

ก. รู้สึกแหนงใจ, สะดุดใจ, กระทบใจ; ซาบซึ้งใจ.

เกรงใจ, เกรงอกเกรงใจ

ก. ไม่อยากจะให้ผู้อื่นรู้สึกลําบากเดือดร้อนรําคาญใจ.

เกรงใจ, เกรงอกเกรงใจ

ก. ไม่อยากจะให้ผู้อื่นรู้สึกลําบากเดือดร้อนรําคาญใจ.

ข่มขืนใจ

(กฎ) ก. บังคับให้กระทําหรืองดเว้นกระทํา โดยไม่สมัครใจแต่จํา

ต้องฝืนใจปฏิบัติตาม เพราะไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้

เช่น ข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือ

ให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือ

ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งเป็นความผิดอาญาตามประมวล

กฎหมายอาญามาตรา ๑๓๙.

ขวยใจ

ก. กระดากใจ.

ขวัญใจ

น. ยอดกําลังใจ. ว. เป็นที่นิยมรักใคร่.

ข้อใหญ่ใจความ

น. เรื่องสําคัญ.

ข้องใจ

ก. ติดใจสงสัย, ยังไม่สิ้นสงสัย.

ขอบใจ

คํากล่าวแสดงความรู้สึกพอใจในความดีที่ผู้อื่นได้มีต่อตน (เป็นคํา

ที่ผู้ใหญ่ใช้แก่ผู้น้อย).

ขัดใจ

ก. โกรธเพราะทําไม่ถูกใจ, ไม่ยอมให้ทําตามใจ.

ขาดใจ

ก. สิ้นใจ, ตาย; โดยปริยายหมายความว่า ยอด, มาก, เช่น

สุดสวาทขาดใจ.

ขาดน้ำใจ

ก. ไม่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่.

ขึ้นใจ

ก. เจนใจ, จําได้แม่นยํา.

ขืนใจ

ก. บังคับให้ยอมทําตาม เช่น ขืนใจเด็กให้กินยา; ข่มขืน.

ขุ่นข้องหมองใจ

ก. ผิดใจกัน.

ขุ่นใจ

ก. หมองใจ, ไม่พอใจ, ขัดเคืองกัน.

เข็ญใจ

ว. ยากจนข้นแค้น.

เข้าใจ

ก. รู้เรื่อง, รู้ความหมาย.

แข็งใจ

ก. ทําใจให้กล้า, ทําใจให้เข้มแข็ง.

ไข้ใจ

น. ความระทมใจเนื่องจากผิดหวังในความรักเป็นต้น.

คับแคบแอบใจ

ว. อึดอัดใจเต็มทน.

คับใจ, คับอกคับใจ

ก. อึดอัดใจ, รู้สึกอัดอั้นตันใจ, รู้สึกคับแค้นอยู่ในอกในใจ.

คับใจ, คับอกคับใจ

ก. อึดอัดใจ, รู้สึกอัดอั้นตันใจ, รู้สึกคับแค้นอยู่ในอกในใจ.

คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก

(สำ) น. ที่อยู่แม้จะคับแคบก็อยู่ได้ถ้าสบายใจ แต่ถ้าอึดอัดใจ

ที่อยู่จะกว้างขวางใหญ่โตอย่างไรก็อยู่ไม่ได้.

คู่ใจ

น. คนสนิทที่รู้ใจและไว้วางใจได้.

แคลงใจ

ก. ไม่แน่ใจหรือวางใจลงไปได้เพราะออกจะสงสัย, คลางแคลง

ก็ว่า.

จงใจ

ก. ตั้งใจ, หมายใจ, เจตนา.

จริงใจ

ว. บริสุทธิ์ใจ, สุจริตใจ.

จอมใจ

น. หญิงที่เป็นยอดดวงใจ.

จับจิต, จับใจ

ว. ติดใจ, เป็นที่พอใจ.

จิตใจ

น. ใจ, อารมณ์ทางใจ, (ปาก) กะจิตกะใจ.

จุใจ

ว. มากจนเป็นที่พอใจ.

จูงใจ

ก. ชักนําหรือเกลี้ยกล่อมเพื่อให้เห็นคล้อยตาม เช่น พูดจูงใจ.

เจนใจ

ว. ขึ้นใจ, แม่นยําในใจ.

เจ็บใจ

ก. ชํ้าใจ.

เจ็บช้ำน้ำใจ

ก. เจ็บใจ, สะเทือนใจ.

เจ็บท้องข้องใจ

(โบ) ก. เดือดเนื้อร้อนใจ. (จารึกพ่อขุนรามคำแหง).

เจริญตาเจริญใจ

ว. งาม, ต้องตาต้องใจ.

ใจ

น. สิ่งที่ทําหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด เช่น ใจก็คิดว่าอย่างนั้น, หัวใจ เช่น

ใจเต้น, ลมหายใจ เช่น กลั้นใจ อึดใจ หายใจ, ความรู้สึกนึกคิด เช่น ใจคด

ใจซื่อ; จุดสำคัญของบางสิ่งบางอย่าง เช่น ใจมือ, บริเวณที่ถือว่าเป็นจุด

สำคัญของสถานที่ เช่นใจบ้านใจเมือง.

ใจกลาง

น. ศูนย์กลาง.

ใจกว้าง

ว. มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่.

ใจขาด

ว. จนสุดความสามารถ เช่น สู้ใจขาด.

ใจขุ่น

ว. มีใจไม่ผ่องใส.

ใจแข็ง

ว. ไม่ยอมง่าย ๆ, ไม่รู้สึกสงสาร, อดกลั้นความเจ็บปวดหรือทุกข์โศกไว้ได้.

ใจความ

น. ส่วนสําคัญของเรื่อง, ตรงข้ามกับ พลความ.

ใจคอ

น. จิตใจ, อัธยาศัย, อารมณ์, บางทีใช้ในทางร้ายก็มี เช่น ใจคอจะทิ้ง

บ้านทิ้งช่องไปได้หรือ.

ใจแคบ

ว. ไม่คิดเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ใคร ๆ.

ใจง่าย

ว. เชื่อง่าย, ยินยอมง่าย.

ใจจดใจจ่อ

ว. มุ่งอยู่, เป็นห่วงอยู่.

ใจจืด

ว. ไม่มีแก่ใจเอื้อเฟื้อใคร.

ใจเฉื่อย

ว. มีอารมณ์เฉื่อยชา, ไม่กระตือรือร้น.

ใจชื้น

ว. รู้สึกเบาใจ, มีหวังขึ้น, ไม่เดือดร้อน.

ใจดำ

ว. เห็นแก่ตัว, ไม่เอื้อเฟื้อใคร, ขาดกรุณา. น. ความในใจ เช่น พูดถูกใจดํา

แทงใจดํา; จุดดําที่อยู่กลางเป้า.

ใจดี

ว. มีใจเมตตากรุณา, ไม่โกรธง่าย; คุมใจไว้ให้มั่น เช่น ใจดีสู้เสือ.

ใจเด็ด

ว. มีนํ้าใจเด็ดเดี่ยว.

ใจเดียว

ว. ไม่หลายใจ, มีความรักและซื่อตรงในบุคคลเดียวหรือสิ่งเดียว

ไม่เปลี่ยนแปลง.

ใจเดียวกัน

ว. มีความรู้สึกนึกคิดตรงกัน.

ใจต่ำ

ว. มีใจใฝ่ในทางเสีย.

ใจเติบ

ว. มีใจกว้างขวางเกินสมควร; มีใจอยากให้มากไว้หรือใหญ่โตไว้.

ใจแตก

ว. ประพฤติไปตามที่ตนนิยมในทางที่ผิดหรือนอกโอวาทจนเคยตัว.

ใจโต

ว. มีใจกว้างเกินประมาณ, มักใช้เข้าคู่กับ หน้าใหญ่ เป็น หน้าใหญ่ใจโต.

ใจถึง

ว. กล้าทํา, กล้าพูด.

ใจทมิฬ

ว. มีใจดุร้าย, มีใจร้ายกาจ, บางทีก็ใช้คู่กับคำ หินชาติ เป็น ใจทมิฬหินชาติ.

ใจน้อย

ว. โกรธง่าย.

ใจนักเลง

น. มีใจกล้าสู้; มีใจกว้างขวางกล้าได้กล้าเสีย.

ใจบาน

ว. ดีใจ, ปลื้มใจ.

ใจบาป, ใจบาปหยาบช้า

ว. มีใจฝักใฝ่ในทางชั่วร้าย.

ใจบาป, ใจบาปหยาบช้า

ว. มีใจฝักใฝ่ในทางชั่วร้าย.

ใจบุญ

ว. มีใจฝักใฝ่ในการบุญ.

ใจเบา

ว. ไม่ยั้งคิด, เชื่อง่าย.

ใจปลาซิว

ว. มีใจไม่อดทน.

ใจป้ำ

ว. กล้าได้กล้าเสีย.

ใจแป้ว

ว. มีใจห่อเหี่ยว.

ใจฝ่อ

ว. ตกใจ.

ใจพระ

ว. มีใจบุญ, มีใจเมตตา.

ใจเพชร

ว. ใจแข็ง.

ใจมา

ว. มีหวังขึ้น เช่น ใจมาเป็นกอง ใจมาเป็นกระบุง.

ใจมาร

ว. มีใจดุร้าย, มีใจอำมหิต, บางทีก็ใช้คู่กับ ใจยักษ์ เป็น ใจยักษ์ใจมาร.

ใจมือ

น. มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๑๕๐ เมล็ดข้าว = ๑ ใจมือ

๔ ใจมือ = ๑ กำมือ และ ๘ กำมือ = ๑ จังออน; กลางฝ่ามือ.

ใจเมือง

ว. ศูนย์กลางของเมือง, กลางเมือง เช่น เกิดเรื่องที่กลางใจเมือง.

ใจไม่ดี

ว. ใจเสียเพราะกลัวหรือวิตกกังวล.

ใจไม้ไส้ระกำ

ว. เพิกเฉยดูดาย, ไม่มีเมตตากรุณาและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ใคร.

ใจยักษ์

ว. มีใจดุร้าย, มีใจอํามหิต, บางทีก็ใช้คู่กับ ใจมาร เป็น ใจยักษ์ใจมาร.

ใจเย็น

ว. ใจหนักแน่นไม่ฉุนเฉียว, ไม่รีบร้อน.

ใจร้อน

ว. มีใจไม่หนักแน่น ฉุนเฉียวง่าย; มีใจรีบร้อนอยากจะให้เสร็จเร็ว ๆ.

ใจร้าย

ว. ดุร้าย, ไม่ปรานี.

ใจเร็ว

ว. ตกลงใจอย่างรวดเร็วโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบ.

ใจเร็วด่วนได้

(สำ) ว. อยากได้เร็ว ๆ โดยไม่คิดให้รอบคอบ.

ใจลอย

ว. เผลอสติ, เคลิบเคลิ้ม.

ใจสูง

ว. มีใจที่อบรมมาดี, มีใจใฝ่ในทางดี.

ใจเสาะ

ว. มีใจขี้กลัวหรือร้องไห้ง่าย, มีใจอ่อนแอ.

ใจเสีย

ว. มีใจไม่ดีเพราะกลัวหรือวิตกกังวล, หมดกําลังใจ.

ใจหนักแน่น

ว. มีใจอดทน, ไม่เชื่อง่าย.

ใจหาย

ว. อาการที่ตกใจเสียวใจขึ้นทันที, ใช้ประกอบท้ายคําอื่นมีความหมายว่า

มาก เช่น ดีใจหาย แพงใจหาย.

ใจหายใจคว่ำ

ว. ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว.

ใจหิน

ว. มีใจโหดเหี้ยม, มีใจที่แข็งมากไม่ยอมโอนอ่อน เช่น โจรใจหิน.

ใจเหี่ยวแห้ง

ว. มีใจไม่สดชื่น.

ใจใหญ่ใจโต

ว. มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เกินฐานะ.

ใจอ่อน

ว. ยอมง่าย, สงสารง่าย.

ฉุกใจ

ก. สะดุดใจ.

เฉลียวใจ

ก. นึกระแวงขึ้นมา, ชักจะสงสัย.

ชอบใจ

ก. ถูกใจ, ยินดี, พอใจ.

ชั่งใจ

ก. คิดให้แน่ก่อนที่จะตัดสินใจ.

ช่ำใจ

ว. มากพอสมกับที่ใจอยาก.

ช้ำใจ

ก. เจ็บใจ, ระทมใจ.

ชุ่มใจ, ชุ่มอกชุ่มใจ

ก. อิ่มเอิบใจ.

ชุ่มใจ, ชุ่มอกชุ่มใจ

ก. อิ่มเอิบใจ.

ชูใจ

ก. ทําให้ใจมีกําลังขึ้น.

เชื่อใจ

ก. ไว้ใจ.

ดลใจ

ก. มีเหตุอันไม่ปรากฏจูงใจให้คิดหรือให้ทํา เช่น เทวดาดลใจ กุศล

ดลใจ มารดลใจ.

ดวงใจ, ดวงตา

น. คําเปรียบเทียบเรียกหญิงที่รักหรือลูกที่รัก.

ดีใจ

ก. ยินดี, ชอบใจ, พอใจ.

ดีเนื้อดีใจ

ก. ยินดี, ชอบใจ, ปลาบปลื้มใจ, ดีใจมาก, ดีอกดีใจ ก็ว่า.

ดีอกดีใจ

ก. ยินดี, ชอบใจ, ปลาบปลื้มใจ, ดีใจมาก, ดีเนื้อดีใจ ก็ว่า.

ดูใจ

ก. ลองดูนํ้าใจ; ดูหน้าไว้อาลัยขณะจะสิ้นใจ.

ได้ใจ

ก. เหิมใจ, ย่ามใจ, ชะล่าใจ, กำเริบ.

ตกใจ

ก. สะดุ้งขึ้นโดยไม่รู้ตัวเมื่อได้ยินเสียงดัง ๆ หรือมีใครมาถูกต้องตัว,

ใจหาย.

ตรอมใจ, ตรอมตรม

[ตฺรอม-, -ตฺรม] ก. ระทมใจจนเหี่ยวแห้ง, กรอมใจ หรือ กรอมกรม ก็ว่า.

ต้องใจ

ก. ชอบ, ถูกใจ.

ตั้งใจ, ตั้งอกตั้งใจ

ก. เอาใจจดใจจ่อ.

ตั้งใจ, ตั้งอกตั้งใจ

ก. เอาใจจดใจจ่อ.

ตั้งอกตั้งใจ

ก. เอาใจจดจ่อ, ตั้งใจ ก็ว่า.

ตัดใจ

ก. ห้ามใจไม่ให้คิดในเหตุที่เกิดขึ้น.

ตัดสินใจ

ก. ตกลงใจ.

ตันอกตันใจ

ก. อึดอัดใจ, ตัดสินใจไม่ถูก.

ต่างจิตต่างใจ

ว. ต่างคนก็ต่างความคิด.

ตามใจ

ก. แล้วแต่ใจ.

ตามใจปากมากหนี้

(สํา) ก. เห็นแก่กินย่อมสิ้นเปลืองมาก.

ตามใจปากลำบากท้อง

(สํา) ก. เห็นแก่กินมักจะเดือดร้อน.

ตามอำเภอใจ

ว. เอาแต่ใจตัว ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น.

ตายใจ

ก. หลงเชื่ออย่างไม่สงสัย.

ต่ำใจ

ก. น้อยใจ, เสียใจ, ใช้คู่กับ น้อยเนื้อ เป็น น้อยเนื้อ

ตํ่าใจ.

ติดใจ

ก. ชอบ, ฝังอยู่ในใจ; ข้องใจ.

ตื่นตาตื่นใจ

ก. ตื่นเต้นเพราะได้พบได้เห็นสิ่งที่ไม่เคย

พบเคยเห็น.

ตื้นตัน, ตื้นตันใจ

ว. รู้สึกอัดอั้นเพราะดีใจหรือเสียใจเป็นต้น.

เต็มใจ

ก. มีนํ้าใจไม่บกพร่อง, มีใจสมัครด้วยยินดี, ไม่มี

ข้ออิดเอื้อนหรือขัดแย้ง.

เต็มอกเต็มใจ

ว. เต็มใจ เช่น ให้ด้วยความเต็มอกเต็มใจ.

เตือนใจ

ก. สะกิดใจ, ทําให้ระลึกได้.

ถนัดใจ

ว. สะดวกใจ, สะใจ; เต็มที่ เช่น โดนเข้าถนัดใจ, สนัดใจ ก็ว่า.

ถลำใจ

ก. ปล่อยใจให้ตกอยู่ในข้อผูกพัน.

ถอนใจใหญ่

ก. หายใจแรงและยาวในขณะที่รู้สึกกลุ้มอกกลุ้มใจหรือโล่งอกโล่งใจ

เป็นต้น, โบราณใช้ว่า ถอยใจใหญ่ ก็มี.

ถอยใจใหญ่

(โบ) ก. ถอนใจใหญ่, หายใจแรงและยาวในขณะที่รู้สึกกลุ้มอกกลุ้มใจ

หรือโล่งอกโล่งใจเป็นต้น เช่น ท้าวธก็ถอยใจใหญ่ไปมา. (ม. คําหลวง

กุมาร).

ถึงใจ

ว. จุใจ, สะใจ, สาแก่ใจ.

ถือใจ

ก. มั่นใจ, สําคัญใจ.

ถูกใจ

ก. ชอบ, ต้องใจ, ถูกอกถูกใจ ก็ว่า.

ถูกอกถูกใจ

ก. ชอบ, ต้องใจ, ถูกใจ ก็ว่า.

ท้อ, ท้อใจ

ก. ไม่มีกําลังใจจะสู้.

ทะยานใจ

ก. ย่ามใจ, เหิมใจ.

ทันใจ

ว. เร็วทันเท่ากับใจนึกหรือต้องการ.

ทำใจ

ก. ควบคุมใจ.

แทงใจ

ก. เก็งใจ. ว. ตรงใจ, ตรงกับความคิด.

แทงใจดำ

(สํา) ก. พูดตรงกับความในใจของผู้ฟัง.

นอกใจ

ว. ไม่ซื่อตรงต่อสามีหรือภรรยาด้วยการคบชู้สู่สาว.

นอนใจ

ก. มั่นใจ, วางใจ, ไม่รีบร้อน.

น้อยใจ, น้อยเนื้อต่ำใจ, น้อยอกน้อยใจ

ก. รู้สึกเสียใจที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมเป็นต้น.

น้อยใจ, น้อยเนื้อต่ำใจ, น้อยอกน้อยใจ

ก. รู้สึกเสียใจที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมเป็นต้น.

น้อยใจ, น้อยเนื้อต่ำใจ, น้อยอกน้อยใจ

ก. รู้สึกเสียใจที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมเป็นต้น.

นั่งในหัวใจ

(สํา) ก. รู้ใจ, ทําถูกต้องตรงตามที่ผู้อื่นคิดไว้.

น้ำใจ

น. ใจแท้ ๆ, ใจจริง, ความจริงใจ, เช่น เห็นนํ้าใจ, นิสัยใจคอ เช่น นํ้าใจพ่อ

นํ้าใจแม่ นํ้าใจชาย นํ้าใจหญิง, ความเอื้อเฟื้อ เช่น เขาไม่มีนํ้าใจ แล้งนํ้าใจ.

น้ำใสใจคอ

น. น้ำใจที่แท้จริง (มักใช้ในทางดี) เช่น เขาเป็นคนมีน้ำใสใจคอ

โอบอ้อมอารี.

น้ำหนึ่งใจเดียวกัน

(สํา) ว. มีความคิดเห็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

น้ำใจใคร่

ดู กะทกรก (๑).

นิสัยใจคอ

น. อัธยาศัย, นิสัยที่เกิดจากใจจริง เช่น นิสัยใจคอมีเมตตากรุณา

นิสัยใจคอโหดเหี้ยมทารุณ.

แน่ใจ

ก. มั่นใจ.

บริสุทธิ์ใจ

ว. มีนํ้าใสใจจริง, มีใจใสสะอาด, เช่น ทําด้วยความบริสุทธิ์ใจ.

บังคับใจ

ก. ห้ามใจ, ข่มใจ, อดกลั้น; ใช้อํานาจบังคับให้เขาต้องฝืนใจทํา.

บัดใจ

ว. ประเดี๋ยว, ทันใด.

บาดใจ

ก. เจ็บแค้นใจ.

เบาใจ

ว. ไม่หนักใจ, โล่งใจ.

ประทับใจ

ก. ติดอกติดใจ, ฝังอยู่ในใจ.

ปลงใจ

ก. ตกลงใจ.

ปล่อยใจ

ก. เคลิบเคลิ้ม, คิดฝันไป, เช่น ปล่อยใจไปตามอารมณ์.

ปล่อยตัวปล่อยใจ

ว. ใจแตก.

ปลุกใจ

ก. เร้าใจให้กล้าหาญหรือกระตือรือร้น.

ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่

(สํา) ก. ทําตามความพอใจของผู้ที่จะได้รับผลโดยตรง, มักพูด

เข้าคู่กับ ผูกอู่ตามใจผู้นอน เป็น ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่

ตามใจผู้นอน.

ปักใจ

ก. ตั้งใจแน่วแน่ไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ปักใจเชื่อ.

ปากปราศรัยใจเชือดคอ

(สํา) ก. พูดดีแต่ใจคิดร้าย.

ปากร้ายใจดี

ก. พูดจาดุด่าแต่น้ำใจดี.

เป็นใจ

ก. รู้กัน, สมรู้ร่วมคิด.

เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

ว. พร้อมเพรียงกัน, พร้อมใจกัน.

เปลี่ยนใจ

ก. เลิกล้มความตั้งใจเดิม, เปลี่ยนความตั้งใจเดิมไปเป็นอย่างอื่น.

เปลืองใจ

ก. เสียกําลังใจ.

ผิดใจ

ก. หมางใจกัน.

ผิดพ้องหมองใจ

ก. ขุ่นเคืองใจ.

ฝังใจ

ก. ติดตรึงใจ, จําได้แม่นยํา.

ใฝ่ใจ

ก. เอาใจผูกพันอยู่.

พร้อมใจ

ก. ร่วมใจ, มีน้ำใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, เช่น เขาพร้อมใจกัน

ทำงาน.

พอใจ

ก. สมใจ, ชอบใจ. ว. เหมาะ.

พักผ่อนหย่อนใจ

ก. พักผ่อนไปหาความสนุกสนานเพลิดเพลิน.

พิมพ์ใจ

ก. ประทับใจ, ติดตรึงใจ.

พึงใจ

ว. พอใจ, ชอบใจ.

พึงพอใจ

ว. รัก, ชอบใจ.

พึ่งจมูกคนอื่นหายใจ

(สํา) ก. อาศัยผู้อื่นมักไม่สะดวก, ยืมจมูกคนอื่นหายใจ หรือ

เอาจมูกผู้อื่นมาหายใจ ก็ว่า.

เพลินใจ

ก. เบิกบานใจ.

เพลียใจ

ก. ท้อแท้, หมดกําลังใจ.

ภาคภูมิใจ

ก. กระหยิ่มใจ, รู้สึกว่ามีเกียรติยศ, เช่น เขาภาคภูมิใจในความสำเร็จ.

ภูมิใจ

ก. กระหยิ่มใจ, รู้สึกว่ามีเกียรติยศ.

มั่งมีในใจ แล่นใบบนบก

(สํา) ก. คิดฝันในเรื่องที่เป็นไปไม่ได้, คิดสมบัติบ้า,

สร้างวิมานในอากาศ.

มั่นใจ

ก. แน่ใจ, เชื่อใจ, เช่น คราวนี้มั่นใจว่าจะต้องสอบได้.

มิตรจิตมิตรใจ

(สํา) น. ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน เช่น ต่างก็มีมิตรจิต

มิตรใจต่อกัน.

มีแก่ใจ

ก. เอาใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่, มีนํ้าใจ, มักกร่อนเป็น มีกะใจ.

มุ่นใจ

ก. ยุ่งใจ.

ย้อมใจ

ก. ชุบใจ, ทําให้ใจชุ่มชื่น, ปลุกใจให้กล้า เช่น กินเหล้าย้อมใจ.

ยับยั้งชั่งใจ

ก. คิดทบทวนดูผลดีผลเสียให้รอบคอบก่อนที่จะทำอะไรลงไป.

ยาใจ

ว. เป็นที่บํารุงหัวใจ, เป็นที่ชื่นใจ.

ยินใจ

ก. พอใจ, ตามใจ.

ยินยอมพร้อมใจ

ก. เห็นด้วยร่วมกัน.

ยืมจมูกคนอื่นหายใจ

(สํา) ก. อาศัยผู้อื่นทำงานให้มักไม่สะดวกเหมือน

ทำด้วยตนเอง, พึ่งจมูกคนอื่นหายใจ หรือ เอาจมูกผู้อื่นมาหายใจ ก็ว่า.

ยุ่งใจ

ก. กังวลวุ่นวายใจ เช่น เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ทำให้ยุ่งใจได้.

เย็นใจ

ก. สบายใจ, ไม่ยุ่งใจ, ไม่ต้องกังวลใจ, ไม่ร้อนใจ, เช่น เรื่องนี้

เย็นใจได้ สำเร็จแน่.

ร่วมใจ

ว. มีความนึกคิดอย่างเดียวกัน เช่น เพื่อนร่วมใจ.

ร้อนใจ, ร้อนอกร้อนใจ

ก. เดือดร้อนใจ, กระวนกระวายใจ.

ร้อนใจ, ร้อนอกร้อนใจ

ก. เดือดร้อนใจ, กระวนกระวายใจ.

ร้าวรานใจ

ก. ทำให้เจ็บช้ำน้ำใจ เช่น ถ้อยคำเสียดแทงทำให้ผู้ฟังร้าวรานใจ.

รำคาญใจ

ก. ถูกรบกวนจุกจิกจนเบื่อหน่าย เช่น น้อง ๆ มาเซ้าซี้เขาให้

พาไปเที่ยวบ่อย ๆ จนเขารำคาญใจ.

รู้ใจ

ก. รู้อัธยาศัยใจคอว่าเป็นอย่างไร หรือชอบอะไร ไม่ชอบอะไร

เช่น ลูกน้องรู้ใจนาย, รู้เส้น ก็ว่า.

รู้เห็นเป็นใจ

ก. รู้เห็นเหตุการณ์และให้ความร่วมมือร่วมใจด้วย เช่น

เขารู้เห็นเป็นใจกับโจร.

รู้อยู่แก่ใจ

ก. รู้ซึ้งอยู่ในใจของตน เช่น รู้อยู่แก่ใจว่าเพื่อนเป็นคนโกง

แล้วยังคบกันอยู่ได้.

เริงใจ

ว. รู้สึกสนุกสนานเบิกบานใจ.

ลมหายใจ

น. ลมที่ปอดสูบเข้าออกทางจมูกหรือทางปาก.

ล่อใจ

ว. ชวนใจให้อยากได้ เช่น เอาของมาโฆษณาล่อใจ.

ลองใจ

ก. พิสูจน์ว่าจะมีนํ้าใจอย่างที่คาดหมายไว้หรือไม่ เช่น

เอาแหวนวางไว้ลองใจคนใช้ว่าจะซื่อสัตย์หรือไม่.

ละลานใจ

ก. ตื่นใจ, วุ่นวายใจ, เช่น เห็นเพชรเม็ดงามละลานใจ.

เลี้ยงน้ำใจ

ก. ถนอมน้ำใจ, ประคับประคองไว้ไม่ให้เสียน้ำใจ.

โล่งใจ

ก. รู้สึกสบายใจ, หายอึดอัดใจ, เช่น สอบไล่เสร็จ ค่อยโล่ง

ใจหน่อย.

โล่งอกโล่งใจ

ก. รู้สึกปลอดโปร่งเพราะหมดความกังวลใจ.

วางใจ

ก. เชื่อใจ, ไว้ใจ, เช่น อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน

จะจนใจเอง.

ไว้ใจ

ก. มอบความเชื่อความมั่นใจให้, วางใจ, เช่น ไว้ใจให้เก็บรักษาเงิน

ไว้ใจให้ดูแลบ้าน, ไว้วางใจ ก็ว่า.

ไว้เนื้อเชื่อใจ

ว. ที่ไว้วางใจได้, ที่เชื่อใจได้, เช่น มีอะไรก็พูดกับเขา

เถอะเขาเป็นคนไว้เนื้อเชื่อใจได้. ก. ไว้วางใจ, เชื่อใจ, เช่น ไว้เนื้อ

เชื่อใจให้ทำธุระสำคัญ ๆ.

เศร้าใจ

ว. มีความรู้สึกสลดหดหู่ใจ เช่น เห็นป่าถูกบุกรุกทำลาย

แล้วเศร้าใจ.

ส่งใจ

ก. ส่งน้ำใจที่มีความปรารถนาดีเพื่อให้เป็นกำลังใจแก่ผู้รับ เช่น

ส่งใจไปช่วยทหารในแนวหน้า.

สนใจ

ก. ตั้งใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดเรื่องใดเป็นพิเศษ เช่น เขาสนใจ

วิชาคณิตศาสตร์มาก, ใฝ่ใจใคร่รู้ใคร่เห็นเป็นต้น เช่น เขา

สนใจการเมืองมาตั้งแต่เด็ก.

สนัดใจ

ว. ถนัดใจ.

สนิทใจ

ว. ไม่มีอะไรต้องแคลงใจหรือสงสัย เช่น เชื่ออย่างสนิทใจ,

ถ้าใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่สนิทใจ หมายความว่า มีลักษณะ

พึงรังเกียจ เช่น พื้นสกปรกนั่งแล้วไม่สนิทใจ ผ้าเช็ดมือใน

ห้องน้ำรวมใช้ได้ไม่สนิทใจเลย.

สบายใจ

ว. ไม่มีทุกข์มีร้อน เช่น ลูก ๆ เรียนจบหมดแล้วก็สบายใจ

ทำงานเสร็จเรียบร้อยแล้วสบายใจ.

สมใจ

ก. เป็นไปดังที่คิดไว้ เช่น เขาอยากได้หนังสือเล่มนี้มานานแล้ว

วันนี้มีคนเอามาให้ ก็เลยได้ไว้สมใจ.

สมัครใจ

ก. สมัครด้วยความเต็มใจ เช่น งานนี้เขาสมัครใจเป็นแม่ครัว

ชาวเขาสมัครใจย้ายถิ่นฐาน. น. ความเต็มใจ เช่น ทำโดยสมัครใจ.

สลดใจ

ก. รู้สึกเศร้าใจแกมสังเวช, รู้สึกหดหู่ใจ, เช่น ข่าวแผ่นดินไหว

คนตายเป็นหมื่น ๆ ฟังแล้วสลดใจ เห็นสุนัขถูกรถทับตาย

รู้สึกสลดใจ.

สวรรค์ในอก นรกในใจ, สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ

(สํา) น. ความสุขที่เกิดจากการทำความดี หรือความทุกข์

ที่เกิดจากการทำความชั่ว ย่อมอยู่ในใจของผู้ทำเอง.

สวรรค์ในอก นรกในใจ, สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ

(สํา) น. ความสุขที่เกิดจากการทำความดี หรือความทุกข์

ที่เกิดจากการทำความชั่ว ย่อมอยู่ในใจของผู้ทำเอง.

สองจิตสองใจ

ว. ลังเล, ตัดสินใจไม่ได้, เช่น จะไปเชียงใหม่ดีหรือไม่ไปดี

ยังสองจิตสองใจอยู่.

สองใจ

ว. มีจิตใจไม่แน่นอนในเรื่องชู้สาว (มักใช้แก่ผู้หญิง).

สอนใจ

ว. ที่เตือนสติตนเอง เช่น สุภาษิตสอนใจ หนังสือสอนใจ.

สะกดอกสะกดใจ, สะกดอารมณ์

ก. ข่มอารมณ์มิให้หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้วหรือ

ที่กำลังประสบ.

สะกิดใจ

ก. ฉุกคิดถึงเหตุการณ์หรือถ้อยคำที่เคยได้เห็นหรือได้ยินมา

เช่น คำพูดของเขาสะกิดใจฉัน เมื่อได้ยินเขาพูดเรื่องเงิน ก็

รู้สึกสะกิดใจว่าเขาจะมาทวงหนี้.

สะใจ

ว. หนําใจ, สาแก่ใจ, สมใจอยาก, เช่น อยากกินหูฉลาม

มานานแล้ววันนี้ต้องกินให้สะใจเสียที เขาโมโหน้องมาก

เลยตีเสียสะใจ.

สะดุดใจ

ก. ฉุกคิดขึ้นมาได้, ฉุกใจได้คิดเมื่อมีบางสิ่งบางอย่างมา

กระทบใจทำให้รู้สึกสงสัยตงิด ๆ.

สะท้อนใจ

ก. อาการที่หายใจแรงขึ้น ๆ ลง ๆ เพราะอารมณ์สะเทือนใจ

เป็นต้น.

สะเทือนใจ

ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงในเมื่อได้ประสบกับสิ่งที่ไม่น่า

พอใจ เช่น เห็นภาพแม่กอดศพลูกร้องไห้แล้วรู้สึกสะเทือนใจ.

สาแก่ใจ

ว. หนำใจ, สะใจ, (มักใช้ในความประชดหรือแดกดัน) เช่น บอกแล้ว

ว่าอย่าไปยุ่งกับเขาโดนเขาด่ามา สาแก่ใจไหมล่ะ วันนี้เงินเดือนออก

ต้องจ่ายให้สาแก่ใจ.

สายใจ

น. กระแสแห่งความรักและความผูกพัน, เรียกผู้ที่เป็นที่รัก

ดังดวงใจ.

สำรวมใจ

ก. ทําใจให้แน่วแน่, ทำใจให้สงบ, เช่น เวลานั่งสมาธิต้อง

สำรวมใจ.

สำราญใจ

ก. สบายใจ.

สินน้ำใจ

น. เงินหรือทรัพย์ที่ให้เป็นรางวัล.

สิ้นใจ

ก. ขาดใจ, ตาย, เช่น เขาพึ่งสิ้นใจเมื่อเที่ยงนี้เอง, สิ้นลม

หมดลม หรือ หมดอายุ ก็ว่า.

สุจริตใจ

ว. บริสุทธิ์ใจ, จริงใจ, เช่น เขาช่วยเหลือเด็กคนนั้นด้วยความ

สุจริตใจ ไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน.

สุดจิต, สุดใจ

ว. ยอดรัก, อย่างยอด.

สุดสวาทขาดใจ

ว. ยอดรัก, อย่างยอด.

เสมอใจ

ว. เหมือนใจ, ได้ดังใจ.

เสียกำลังใจ

ก. ทำให้กำลังใจตกหรือลดลง, รู้สึกท้อใจ, เช่น นักมวยชกแพ้

เพราะเสียกำลังใจ.

เสียใจ

ก. ไม่สบายใจเพราะมีเรื่องไม่สมประสงค์หรือผิดประสงค์

เช่น เด็กเสียใจเมื่อรู้ว่าทำผิด; (วรรณ) คลุ้มคลั่ง เช่น กลัว

ศัตรูฝ่ายหน้า หลังพระเสียใจข้า ดุจดับแก้วสองดวง. (ลอ).

เสียน้ำใจ

ก. รู้สึกน้อยใจเนื่องจากอีกฝ่ายหนึ่งไม่เห็นคุณค่าหรือความ

ตั้งใจดีของตนเป็นต้น เช่น เขาอุตส่าห์เอาของมาให้แต่ไม่รับ

ทำให้เขาเสียน้ำใจ.

แสลงใจ ๑

ก. อาการที่รู้สึกกระทบกระเทือนใจเหมือนถูกของมีคม

บาดหัวใจ เช่น พอเห็นคนรักเก่าเดินไปกับหญิงคนใหม่

ก็รู้สึกแสลงใจ.

แสลงใจ ๑

ดูใน แสลง.

แสลงใจ ๒

[สะแหฺลง–] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Strychnos nux—vomica L.

ในวงศ์ Strychnaceae ผลกลม สุกสีเหลือง เมล็ดกลมแบน

มีแอลคาลอยด์หลัก ๒ ชนิด คือ สตริกนิน และ บรูซีน เป็น

สารพิษ, ตูมกาแดง ก็เรียก, อีสาน เรียก แสลงเบื่อ, เมล็ด

แก่แห้งใช้ทํายาได้ เรียก โกฐกะกลิ้ง.

ใส่ใจ

ก. ใส่ไว้ในใจ, จดจำ, เช่น จำใส่ใจไว้ให้ดีนะ, เอาใจจดจ่อ เช่น

นักเรียนควรใส่ใจในการศึกษาเล่าเรียนให้มาก.

หนักใจ

ก. วิตก เช่น เขาหนักใจในการสอบครั้งนี้. ว. ลําบากใจ เช่น

เขารู้สึกหนักใจที่ต้องไปค้ำประกันลูกของเพื่อน, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ

หนักอก เป็น หนักอกหนักใจ.

หน้าซื่อใจคด

(สํา) ว. มีสีหน้าดูซื่อ ๆ แต่มีนิสัยคดโกง.

หน้าเนื้อใจเสือ

(สํา) ว. มีหน้าตาแสดงความเมตตา แต่ใจเหี้ยมโหด.

หน้าใหญ่ใจโต

ว. มีใจกว้างใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินตัวเพื่ออวดมั่งมี เช่น เขา

ชอบทำหน้าใหญ่ใจโตทั้ง ๆ ที่มีเงินน้อย.

หนาวใจ

ว. สะท้านใจ, เยือกเย็นใจ, คร้ามเกรงภัย, กลัว.

หนำใจ

ว. สาแก่ใจ, สมใจอยาก, เช่น กินให้หนำใจ เที่ยวเสียหนำใจ.

หมองใจ

ก. ขุ่นใจ, มีใจไม่ผ่องใส; ขัดเคืองกัน.

หมางใจ

ก. ผิดใจ, ขุ่นเคืองใจ.

หมายใจ

ก. ปองไว้, มุ่งหวังไว้, คาดไว้.

หย่อนใจ, หย่อนอารมณ์

ก. คลายอารมณ์, พักผ่อน.

หลากใจ

ว. แปลกใจ, ประหลาดใจ.

หวังใจ, หวังใจว่า

ก. คาดว่า (มักใช้ในทางที่ดี) เช่น ข้าพเจ้าหวังใจว่าท่าน

คงจะประสบความสำเร็จ.

หวังใจ, หวังใจว่า

ก. คาดว่า (มักใช้ในทางที่ดี) เช่น ข้าพเจ้าหวังใจว่าท่าน

คงจะประสบความสำเร็จ.

หวั่นใจ

ก. มีความรู้สึกพรั่นใจไปเอง, มีอาการกริ่งเกรงไป.

หักใจ

ก. ตัดใจไม่คิดในเหตุที่เกิดขึ้น, มักใช้กับเหตุการณ์ที่ทำให้เสียใจหรือ

สูญเสียเป็นต้น.

หักอกหักใจ

ก. หักใจ.

หัวจิตหัวใจ

น. หัวใจ, จิตใจ, (มักใช้ในทางตำหนิ) เช่น หัวจิตหัวใจเขาทำ

ด้วยอะไรจึงเหี้ยมเกรียมนัก, อารมณ์ เช่น เขากำลังเศร้าโศกไม่มีหัวจิตหัวใจ

จะทำอะไร.

หัวใจ

น. อวัยวะภายในสําหรับฉีดเลือดให้หมุนเวียนเลี้ยงร่างกาย; ใจ,

สิ่งที่มีหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด, เช่น เขาทำอย่างนี้เหมือนเป็นคนไม่มี

หัวใจ; ส่วนสําคัญแห่งสิ่งต่าง ๆ; อักษรย่อของหลักธรรมหรือข้อความ

ต่าง ๆ ที่ผูกไว้เพื่อกําหนดจําได้ง่าย นิยมว่าเป็นของขลัง เช่น หัวใจ

อริยสัจ ว่า ''ทุ. ส. นิ. ม.'' หัวใจนักปราชญ์ ว่า ''สุ. จิ. ปุ. ลิ.'' หัวใจเศรษฐี

ว่า ''อุ. อา. ก. ส.''.

หัวอกหัวใจ

น. สภาพจิตใจที่น่าสงสารหรือน่าเห็นใจเป็นต้น เช่น นั่งก็ไม่

เป็นสุข นอนก็ไม่เป็นสุข หัวอกหัวใจมันร้อนรุ่มไปหมด.

หายใจ

ก. กิริยาที่ทําให้อากาศเข้าสู่และออกจากปอด, ยังมีชีวิตอยู่ เช่น คนเจ็บ

ยังมีชีวิตอยู่; โดยปริยายหมายความว่า หมกมุ่นไปในทางใดทางหนึ่ง

เช่น หายใจเป็นเงิน.

หายใจไม่ทั่วท้อง

(ปาก) ก. ไม่สบายใจเพราะเป็นกังวล เช่น เขาหายใจ

ไม่ทั่วท้องขณะต้องเสี่ยงขับรถไปบนสะพานชำรุด.

เห็นใจ

ก. เห็นน้ำใจว่าเป็นอย่างไร เช่นดีหรือชั่ว, ร่วมรู้สึกในความทุกข์

ยากของผู้อื่นเช่น รู้สึกเห็นใจคนจนที่ต้องอดมื้อกินมื้อ; มาทันพบก่อนตาย

เช่น เขามาทันเห็นใจก่อนพ่อจะสิ้นลม.

เหลือใจ

ว. สุดกําลัง, มาก, เช่น ลําบากเหลือใจ.

แหนงใจ

ก. หมางใจ, ระแวงแคลงใจ.

อดใจ

ก. ยั้งใจ.

อ่อนจิตอ่อนใจ, อ่อนใจ, อ่อนอกอ่อนใจ

ก. เหนื่อยใจ, ระอาใจ, ท้อใจ.

อ่อนจิตอ่อนใจ, อ่อนใจ, อ่อนอกอ่อนใจ

ก. เหนื่อยใจ, ระอาใจ, ท้อใจ.

อ่อนจิตอ่อนใจ, อ่อนใจ, อ่อนอกอ่อนใจ

ก. เหนื่อยใจ, ระอาใจ, ท้อใจ.

อัดอั้น, อัดอั้นตันใจ

ก. เก็บอัดความรู้สึกแน่นอยู่ในใจ เพราะไม่สามารถพูดหรือ

กระทำตามต้องการได้เนื่องจากอยู่ในภาวะจำทน.

อำเภอใจ

น. ความคิดเห็นโดยเอาแต่ใจตัว.

อิดหนาระอาใจ

ก. เบื่อหน่าย, เอือมระอา.

อิ่มใจ, อิ่มอกอิ่มใจ

ก. ปลื้มใจ, สบายใจ, ภูมิใจ, ปีติยินดี.

อิ่มใจ, อิ่มอกอิ่มใจ

ก. ปลื้มใจ, สบายใจ, ภูมิใจ, ปีติยินดี.

อึดใจ

น. เวลาชั่วกลั้นลมหายใจไว้คราวหนึ่ง.

อุ่นกายสบายใจ

ว. มีความรู้สึกสุขสบายทั้งกายและใจ.

อุ่นใจ

ว. มีความรู้สึกสบายใจขึ้น, มีความมั่นใจ, ไม่มีกังวล, เช่น

มีเงินมากอยู่ในกระเป๋าทำให้อุ่นใจ.

อุ่นอกอุ่นใจ

ว. มีความรู้สึกสบายอกสบายใจและมีความมั่นใจขึ้น เช่น

อยู่ใกล้ ๆ ผู้ใหญ่รู้สึกอุ่นอกอุ่นใจ.

เอะใจ

ก. เฉลียวใจ, ฉุกคิด, สะดุดใจ.

เอาจมูกผู้อื่นมาหายใจ

(สํา) ก. อาศัยผู้อื่นมักไม่สะดวก, พึ่งจมูกคนอื่นหายใจ

หรือ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ ก็ว่า.

เอาใจ

ก. คอยปฏิบัติให้ถูกใจ, ตามใจ.

เอาใจเขามาใส่ใจเรา

(สำ) ก. ให้รู้จักเห็นใจผู้อื่น.

เอาใจช่วย

ก. อยากให้สมปรารถนา, ช่วยเป็นกําลังใจให้.

เอาใจดูหูใส่

(ปาก) ก. ใฝ่ใจ, ตั้งใจ.

เอาใจใส่

ก. ใฝ่ใจ, ตั้งใจ.

เอาใจออกหาก

ก. ห่างเหินไปไม่ร่วมมือร่วมใจเหมือนเดิม, ตีตนจากไป,

ปลีกตัวออกไป, ตีตัวออกหาก ก็ว่า.

เอาแต่ใจ

ว. ถือใจตนเป็นใหญ่.

เอาอกเอาใจ

ก. คอยปฏิบัติให้ถูกใจ.

+++

  คลิกดู คำแปล ศัพท์ ทุกคำ-ทุกเว็บ-ทันทีดยไม่ต้องเข้าเว็บ ดิก

 ติด ตั้ง add-on: ดิก อังกฤษ ไทย  • Google Translate  • ดิก อังกฤษ - อังกฤษ 

Google
Search WWW Search Blog e4thai Search www.e4thai.com