Google WWW Blog e4thai www.e4thai.com

ตัวอย่างการแปล อังกฤษเป็นไทย - Translate It

earthquake 

Earthquake prediction 
an imprecise science 

                      Alicia Chang

 

การทำนายแผ่นดินไหว
ยังเป็นศาสตร์
ที่ไม่แม่นยำนัก
 
อลิเซีย ชาง

 

1.Los Angeles — The monster earthquake that turned San Francisco into smoky rubble a century ago gave rise to seismology, but scientist still can't predict when the next big one will occur.

 

1.ลอส แองเจลิส แผ่นดินไหวครั้ง
มโหฬารที่เปลี่ยนนครซานฟรานซิสโก
ให้เป็นกองเศษอิฐควันโขมงเมื่อหนึ่ง
ศตวรรษมาแล้ว ทำให้เกิดศาสตร์ที่
ศึกษาเรื่องของแผ่นดินไหวขึ้น แต่นัก
วิทยาศาสตร์ก็ยังไม่อาจทำนายได้ว่า
เมื่อใดจะเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ครั้งต่อไป

2.Several studies are underway to determine whether earthquakes possess certain predictable behaviour and characteristics.

 

2.ขณะนี้มีการศึกษากันอยู่หลายชิ้นเพื่อ
ดูว่าแผ่นดินไหวมีสิ่งใดหรือลักษณะใด
หรือไม่ที่จะใช้ทำนายการเกิดได้

 

3.Seismologists plan to install instruments this year into an active section of San Andreas in Central California to observe what happens when stress accumulates underground. By monitoring the fault, scientists hope to catch a birthing quake.

 

3.อย่างเช่นปีนี้นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษา
เรื่องนี้กำลังวางแผนติดตั้งเครื่องมือใน
บริเวณรอยแยกซาน แอนเดรียสใน
แคลิฟอร์เนียตอนกลางซึ่งเป็นบริเวณ
ที่ยังมีแผ่นดินไหวอยู่ เพื่อเฝ้าสังเกตว่า
ระหว่างที่มีการสะสมความกดดันภายใน
พื้นโลกนั้นเกิดอะไรขึ้น โดยคาดว่าการ
คอยระวังรอยแยกของผิวโลกน่าจะทำให้
ทราบเมื่อแผ่นดินไหวเริ่มก่อตัว

 

4.Another project by the Southern California Earthquake Centre, a consortium of research universities, will use a $102 million (3.9 billion baht) grant to set strict standards for earthquake prediction experiments.

 

4.อีกโครงการหนึ่งดำเนินการโดยศูนย์
แผ่นดินไหวแห่งแคลิฟอร์เนียตอนใต้
 
(หรือ SCEC)
อันเป็นความร่วมมือกัน
ระหว่างมหาวิทยาลัยที่เน้นการทำวิจัย
 
โครงการนี้จะใช้เงินทุนจำนวน 102
ล้าน
ดอลลาร์ (๓.๙ พันล้านบาท) จัดทำ
มาตรฐานอย่างเข้มสำหรับการทดลอง
เพื่อทำนายแผ่นดินไหว

 

5.Short of being able to foresee the next San Francisco-like calamity, scientists have focused on buffering the damaging effects of quakes and have made significant strides in taking the earth's pulse.

 

5.และเนื่องจากยังไม่อาจทำนายได้ว่า
ภัยพิบัติแบบนครซานฟรานซิสโกที่
จะเกิดคราวต่อไปจะเกิดขึ้นเมื่อใด
นักวิทยาศาสตร์จึงเน้นไปที่การป้องกัน
ความสูญเสียที่เกิดจากแผ่นดินไหว ส่วนการเฝ้าระวังชีพจรของโลก
ก็รุดหน้าไปมาก

 

6.Within minutes of the quakes, the U.S. Geological Survey (USGS) posts maps on the Internet showing its epicentre and where the most severe shakes occur. Scientists constantly keep tabs on seismic strain even near sections of faults that haven't ruptured in decades.

 

6.โดยภายในไม่กี่นาที่ที่เกิดแผ่นดินไหว
สมาคมนักธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา
จะนำแผนที่ขึ้นอินเตอร์เน็ตเพื่อแสดงจุด
ศูนย์กลางของแผ่นดินไหว พร้อมบอก
ตำแหน่งที่มีการไหวรุนแรงที่สุด และพวกนักวิทยาศาสตร์ยังติดตามดูความเครียดของแผ่นเปลือกโลกใกล้กับรอยแยกบางช่วงที่ไม่ได้มีการไหวมาหลายสิบปีแล้วอย่างสม่ำเสมอ

 

7.They also are working on long-term forecasts that calculate the likelihood of a quake based on historical geologic evidence, in order to help prioritise which buildings and freeways to reinforce.

 

7.แล้วยังมีการศึกษาเพื่อการทำนายใน
ระยะยาว ซึ่งเป็นการคำนวณโอกาสเกิด
ของแผ่นดินไหวโดยอาศัยหลักฐานทาง
ธรณีวิทยาเชิงประวัติศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อจัด
ลำดับความสำคัญว่ามีสิ่งก่อสร้างใดหรือ
ถนนฟรีเวย์สายใดที่จะต้องเสริมให้
แข็งแรงก่อน

 

8."Even if we can predict earthquakes," said Mary Lou Zoback of the USGS in Menlo Park, that won't prevent buildings from falling down."

8. "แต่ถึงจะทำนายแผ่นดินไหวได้" แมรี 
ลู โซแบ็ค จากสมาคมนักธรณีวิทยา
แห่งสหรัฐอเมริกาที่แมนโล ปาร์ค
 
กล่าว "นั่น ก็ยังไม่อาจป้องกันไม่ให้ตึก
พังได้หรอกค่ะ"

+++

คำอธิบาย 
ในแง่ของการทำงานแปล ดิฉันขอเสนอวิธีปรับเปลี่ยนการใช้คำหรือวลีที่มักใช้กันจนติด ซึ่งแม้ไม่ผิด
ความแต่ก็อาจทำให้ยังทิ้งโครงสร้างของภาษาต้นฉบับได้ไม่สนิท

วิธีแรก 
คือการไม่แปลคำบางคำ เช่นการละประธานของประโยคแปล ซึ่งควรต้องทำในกรณีที่บริบทนั้นเคย
กล่าวถึงประธานของประโยคมาแล้ว เมื่อเป็นประธานคนเดียวกันแม้จะคนละประโยคก็ควรละ (ต่างจาก
โครงสร้างภาษาอังกฤษที่ต้องมีประธานทุกประโยค) เช่น By monitoring the fault, scientists
hope to catch a birthing quake. 
หากนี่เป็นประโยคที่เพิ่งกล่าวถึงประธานเป็นครั้งแรกคือ 
นักวิทยาศาสตร์ ก็อาจละประธานไม่ได้ จึงควรแปลว่า ...โดยการคอยระวังรอยแยกของผิวโลกนัก
วิทยาศาสตร์คาดว่าน่าจะทำให้ทราบเมื่อแผ่นดินไหวเริ่มก่อตัว แต่ในบริบทนี้ นักวิทยาศาสตร์เป็น
ประธานตัวเดียวกับที่ปรากฏในตอนต้นของย่อหน้า จึงควรต้องละไว้ดังที่เห็นในตัวอย่างงานแปล

อีกตัวอย่างหนึ่งที่ไม่ควรใช้แต่เรามักพบเสมอในงานแปล คือคำว่า "ได้" เมื่อต้นฉบับเป็นกริยาในรูป past 
tense เช่น The monster earthquake that turned San Francisco into smoky 
rubble a century ago...
 แผ่นดินไหวครั้งมโหฬารที่ได้เปลี่ยนนครซานฟรานซิสโกให้เป็นกอง
เศษอิฐควันโขมงเมื่อหนึ่งศตวรรษมาแล้ว

วิธีที่สอง 
คือหลีกเลี่ยงการแปลคำพื้นๆ ในภาษาอังกฤษเป็นแบบตรงๆ แต่ปรับใช้คำอื่นแทน โดยปกติแล้ว
คำพวกนี้มีความหมายไม่ซับซ้อนจนเราสบายใจว่าแปลไม่ผิด แต่มักลืมไปว่าในภาษาไทยการแปล
ตรงๆ บางครั้งแม้ไม่ผิดความหมายแต่จะแปร่งหู และทิ้งรูปรอยของภาษาต้นฉบับไม่ได้ เช่น คำว่า 
determine กับ behaviour ในย่อหน้าที่ 2 ในประโยค ว่า Several studies are underway 
to determine whether earthquakes possess certain predictable behaviour 
and characteristics.
 ถ้าแปลว่า ...ขณะนี้มีการศึกษาหลายชิ้นที่กำลังพิจารณาว่า แผ่นดินไหวมี
พฤติกรรมใดและลักษณะใดหรือไม่ที่สามารถนำมาทำนายได้ การแปลทุกคำอย่างตรงตัวเช่นนี้สู้แปล
โดยปรับคำแปลเป็นภาษาไทยที่เหมาะกับบริบทไม่ได้เช่นว่า ...ขณะนี้มีการศึกษาอยู่หลายชิ้นเพื่อดูว่า
แผ่นดินไหวมีสิ่งใดหรือลักษณะใดหรือไม่ที่จะใช้ทำนายได้ เนื่องจากคำว่าพฤติกรรมนั้นในภาษาไทย
เราใช้กับสิ่งมีชีวิต จึงต้องเลี่ยงไปใช้คำว่า สิ่งใด ส่วน determine หากแปลว่าพิจารณา ที่จริงก็ได้
ความหมายที่ถูกต้องแต่เป็นคำที่ให้บรรยากาศเป็นทางการเกินกว่าควรจะใช้ในที่นี้ซึ่งเป็นบทความ
ในหน้าหนังสือพิมพ์

อีกคำหนึ่งที่เห็นในงานแปลวันนี้คือ hope ที่อยู่ในประโยคแรกที่ยกมา ซึ่งดิฉันคิดว่าถ้าแปลว่า ...โดย
คาดว่า
การคอยระวังรอยแยกของผิวโลกน่าจะทำให้ทราบเมื่อเริ่มเกิดแผ่นดินไหว จะฟังดูเป็นภาษาไทย
กว่าแปลว่า "...โดยหวังว่าการคอยระวังรอยแยกของผิวโลกจะทำให้ทราบ...."

วิธีที่สาม 
คือการพยายามถ่ายทอดความหมายพหูพจน์ให้แนบเนียน เนื่องจากในภาษาไทยไม่เน้นเรื่องพหูพจน์
มากเท่ากับภาษาอังกฤษที่ต้องมีกำกับในคำนามทุกคำ ในการแปลบางครั้งอาจต้องละพหูพจน์ไว้ใน
ฐานที่เข้าใจ หากไม่แปลก็ไม่ผิดความ เว้นแต่ว่าพหูพจน์นั้นมีผลต่อเนื้อความก็จำเป็นต้องแปล โชคดี
ที่ว่าภาษาไทยเรานั้นนอกเหนือจากคำแสดงพหูพจน์พื้นๆ แล้ว เช่นหลาย มาก ไม่น้อย จำนวนหนึ่งแล้ว
ยังมีการแสดงความหมายพหูพจน์ของคำนามได้หลายรูปแบบ คือแฝงไปกับคำนาม คำกริยา หรือคำ
กริยาวิเศษณ์ก็ได้ซึ่งจะทำให้สำนวนแปลเนียนขึ้น ดังตัวอย่างคำที่แฝงความหมายพหูพจน์ในข้อความ
ต่อไปนี้ซึ่งมีผลทำให้คำนาม (ตัวเข้ม) มีความหมายเป็นพหูพจน์ (แม้ความหมายพหูพจน์ในบางวลีอาจ
ไม่จำเป็นต้องมี แต่ดิฉันขอยกมาเป็นตัวอย่างเท่านั้นค่ะ)

1. ด้วยความร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยที่เน้นการวิจัย... 
2. นักวิทยาศาสตร์จึงเน้นกันไปที่การป้องกันความสูญเสีย 
3. พวกนักวิทยาศาสตร์ยังติดตามกันอย่างสม่ำเสมอ 
4. เพื่อดูความเครียดของแผ่นเปลือกโลกใกล้กับรอยแยกบางช่วง

กลเม็ดในการทำงานแปลที่ดิฉันได้เรียนให้ท่านผู้อ่านทราบในวันนี้ไม่ใช่เรื่องยากและดิฉันจะใช้ใน
ขั้นตอนการขัดเกลาสำนวนแปลเสมอค่ะ แต่แน่นอนว่าหากทำงานแปลโดยปราศจากความละเอียดลออ
และความเข้าใจในต้นฉบับอย่างถ่องแท้ก็จะกลายเป็นเรื่องที่มองข้ามไปได้ง่ายๆ โดยเฉพาะวิธีที่สอง
คือการเลือกคำ การทำงานแปลที่มีคุณภาพจึงหนีไม่พ้นสิ่งที่อาจารย์วิชาการแปลทุกท่านย้ำเสมอว่า
ขั้นแรกต้องอ่านต้นฉบับให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ขั้นสองลงมือแปล ขั้นสามขัดเกลาสำนวน และขั้นสี่บ่ม
งานคือทิ้งงานไว้พักใหญ่( ถ้านานพอที่จะลืมสำนวนต้นฉบับได้ยิ่งดี) แล้วจึงนำมาอ่านทบทวนและปรับแก้
ใหม่หากจำเป็น จึงเป็นสัจธรรมที่ว่างานแปลที่ดีเป็นงานที่ต้องอดทนและใช้เวลามาก แต่เมื่อสำเร็จแล้วจะ
เป็นผลงานที่ให้ความสุขแก่ผู้แปลเฉกเช่นเดียวกับการทำงานศิลปะชิ้นหนึ่งทีเดียวค่ะ

สวัสดีค่ะ

เกษมศรี วงศ์เลิศวิทย์

Google
Search WWW Search Blog e4thai Search www.e4thai.com