ฝึกเดาศัพท์สำนวนภาษาอังกฤษกับ The American Heritage Dictionary of Idioms

heritageIDIOM

สวัสดีครับ

       ทุกภาษาจะมีคำ วลี ประโยค ที่ไม่ได้มีความหมายตรงตัวซะทีเดียว แต่มีความหมายเลี่ยง ๆ หรือเปรียบเทียบ ในภาษาไทย อาจจะเรียกว่าเป็นสำนวน อุปมา ภาษาพูด คำพังเพย กระทบกระเทียบ ภาษิต หรือศัพท์อื่น ๆ อีกหลายคำในทำนองนี้ ในทุกภาษาถ้อยคำทำนองนี้มันเกิดมานานแล้ว บ้างก็รู้ที่มา  บ้างก็หาที่มาไม่เจอ เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อกาลเปลี่ยนไปความหมายของบางคำก็เปลี่ยนตามไปบ้าง คือมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหมือนทุกเรื่องในสังคมมนุษย์  และ The American Heritage Dictionary of Idioms ก็รวบรวมคำพวกนี้ไว้กว่า 10,000 คำ  พร้อมทั้งบอกความหมาย บอกที่มา และให้ประโยคตัวอย่างที่ใช้จริงอย่างน้อย 1 ประโยคต่อ 1 ความหมายของ idiom

       ตอนที่ผมได้ไฟล์หนังสือเล่มนี้มาและศึกษาเนื้อหาในเล่มได้พักใหญ่  ผมถามตัวเองว่า เราคนไทยจำเป็นต้องศึกษา idiom ของฝรั่งด้วยหรือ? ตอนที่เราพูดภาษาอังกฤษกับคนต่างชาติ เราก็ใช้ศัพท์ธรรมดาก็พอ ไม่จำเป็นต้องพูดด้วย idiom, จึงไม่จำเป็นต้องศึกษา idiom ให้เหนื่อย  เพราะฉะนั้น The American Heritage Dictionary of Idioms เล่มนี้ จึงไม่มีประโยชน์อะไรมากมายนัก!

       แต่เมื่อพลิกดู The American Heritage Dictionary of Idioms ไปนานอีกนิด ผมก็เห็นว่า หนังสือเล่มนี้น่าอ่าน – น่าศึกษา ทีเดียว เพราะว่า:

       {1} เพิ่งพิมพ์เมื่อปี 2013 นับว่าใหม่มาก

       {2} เมื่อคลิกเข้าไปอ่าน สิ่งที่หนังสือเรียงให้เราอ่าน คือ (1) idiom (2)ความหมายของ idiom และ (3)ประโยคตัวอย่างของแต่ละความหมายของ idiom  และผมก็ได้เห็นว่า ถ้าเราอ่านย้อนหลังจะสนุกดี คือ อ่านข้อ (3)ประโยคตัวอย่างก่อน แล้วก็เดาว่า idiom ในประโยคนี้มันแปลว่าอะไร แล้วจึงค่อยเช็คความหมายในข้อ (1) กับ (2) ว่าที่เราเดานี้มันถูกต้องไหม? และหลายครั้งก็เจอว่า เราเดาได้ถูกต้อง เรื่องของเรื่องก็คือว่า ในการเรียนหรือใช้ภาษาอังกฤษนั้น เมื่อเราติดศัพท์หรือสำนวน เราไม่จำเป็นต้องเปิดดิกทุกครั้ง เพราะเราเดาเอาบ้างก็ได้ และผมพูดหลายครั้งแล้วว่า เราคนไทยเมื่อเรียนภาษาอังกฤษ  เราทักไม่ถูกสอนให้รู้จักวิธีเดาหรือฝึกเดา เราจึงไม่ค่อยกล้าเดา และผม  The American Heritage Dictionary of Idioms เล่มนี้ เป็นแบบฝึกหัดที่ดีมาก ในการฝึกเดา  โดยอ่านข้อ (3) ก่อน แล้วจึงค่อยเช็คกับ (1) กับ (2) อย่างที่ผมว่าไว้  ตัวอย่างเช่น

ประโยค Easy come, easy go—that’s how it isfor Mark when he plays the stock market.

คำว่า easy come, easy go แปลว่า Readily won and readily lost หรือ ได้มาง่ายก็เสียไปง่าย

ประโยค John finally managed to boil his thesisdown to 200 pages.

คำว่า boil down แปลว่า  Simplify ทำให้ง่าย , summarize ย่อ , หรือ shorten ทำให้สั้นลง

       {3} Idiom มากมายในเล่มนี้เราไม่เคยเจอมาก่อน แต่เมื่อเราอ่านประโยคตัวอย่าง เราจะรู้สึกว่า เราก็พอจะเดาความหมายได้ และทำให้แน่ใจต่อไปว่า ถ้าฝรั่งนำ idiom มาพูดกับเรา เราก็น่าจะเดาได้ หรือถ้าเรานำไปพูดกับคนอื่น เขาก็คงจะเดาได้เช่นกัน แถมอาจจะได้ความเข้าใจหรือความรู้สึกเพิ่มเติมที่ถ้อยคำสามัญไม่สามารถสื่อได้  นี่คือความน่ารักหรือความร่ำรวยของภาษาที่น่าเรียนรู้  และก็เรียนรู้ได้ไม่ยากถ้าเปิดใจสังเกตสักนิด  เช่น

ประโยค A good manager has an eagle eye for employee errors.

คำว่า eagle eye แปลว่า  keen sight  หรือ  keen intellectual vision คือตาแหลม มองเห็นสิ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น

ประโยค We’re not playing for money, just for fun

คำว่า play for แปลว่า  Take part for a particular reason

       สรุปประโยชน์ของ The American Heritage Dictionary of Idioms

  1.               เป็นแบบฝึกหัด ฝึกการอ่านเพื่อเดาความหมายของศัพท์ สำนวน จากประโยคที่อ่าน
  2.               รู้ศัพท์สำนวนที่มีประโยชน์ เพื่อเข้าใจเมื่อไปอ่านเจอ และดึงไปพูดได้ในโอกาสเหมาะ ๆ

       ผมขอชวนให้ท่านลองดาวน์โหลด The American Heritage Dictionary of Idioms ไปคลิกอ่าน-คลิกเล่นดูนะครับ เชื่อว่าคุ้มค่ากับเวลาแน่ ๆ

       คลิกดาวน์โหลด

       พิพัฒน์

       https://www.facebook.com/En4Th