Articles
ชู่ (shhh!) เงียบหน่อย ภาษาอังกฤษพูดอย่างไรได้บ้าง
ชู่ (shhh!) เงียบหน่อย ภาษาอังกฤษพูดอย่างไรได้บ้าง
==> https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/70796/-blo-laneng-lan-
แต่อย่างที่ผมเคยแนะนำแล้ว ได้อ่านคำอธิบายจากเว็บไทยแล้ว น่าจะลองเข้าไปหาอ่านจากเว็บฝรั่งด้วย เพราะจะเจออะไรดี ๆ เพิ่มขึ้นอีกเยอะ อย่างเรื่องนี้ ผมก็ใช้คำค้นง่าย ๆ ว่า
==> words OR expressions to tell people to be quiet
ก็เจอดี ๆ อีกเยอะทีเดียว ยกตัวอย่าง 2 ลิงก์ข้างล่างนี้ครับ
==> https://www.macmillandictionary.com/thesaurus-category/british/ways-of-telling-someone-to-stop-talking-or-to-be-quiet
==> https://www.wikihow.com/Tell-Someone-to-Be-Quiet
พิพัฒน์
https://www.facebook.com/pg/En4Th/posts/?ref=page_internal
วัด/แหล่งศิลปะโบราณเมืองไทย น่าจะเขียนป้ายข้อมูลภาษาอังกฤษง่ายกว่านี้ให้นักท่องเที่ยวอ่าน
หลายปีมาแล้ว ผมไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์บางแห่งที่ประเทศแถบสแกนดิเนเวีย สิ่งที่ประทับใจมากก็คือ ป้ายข้อมูลภาษาอังกฤษในพิพิธภัณฑ์ที่เขาแสดงให้นักท่องเที่ยวอ่าน ไม่ว่าจะเป็นการจัดนิทรรศการ, ห้องแสดงความเป็นมาทางประวัติศาสตร์, และโบราณวัตถุชิ้นยักษ์-ชิ้นใหญ่-ชิ้นเล็ก ฯลฯ ป้ายข้อมูลพวกนี้แทบทุกชิ้นเขาเขียนโดยใช้ *plain English* , มีน้อยคำที่เป็น *jargon* ที่ชาวบ้านอ่านยาก
นี่ทำให้คิดถึงเมืองไทยเรา คือเราก็มีวัดหรือแหล่งประะวัติศาสตร์โบราณมากมายเก็บเงินจากนักท่องเที่ยว และเราก็ส่งเสริมเรื่องนี้กันหนักจนการท่องเที่ยวเป็นแหล่งทำเงินให้ประเทศเยอะ แต่ดูเหมือนยังไม่มีการปรับปรุงให้เขียนภาษาภาษาอังกฤษ *in layman's terms* ที่ให้ชาวบ้านทั่วไปอ่านได้ง่าย ๆ คือต้องรู้ technical terms ทางประวัติศาสตร์อยู่บ้างจึงจะอ่านได้เข้าใจ หรือหลายแห่งก็มีแต่ภาษาไทยให้นักท่องเที่ยวต่างชาติอ่าน หรือมีแต่สิ่งของให้ถ่ายรูป ไม่มีข้อความให้อ่าน หรือมีให้อ่านแค่ว่าเป็นพระพุทธรูปเก่า เป็นโอ่ง เป็นชาม เป็นหม้อ แต่รายละเอียดมากอีกสักนิดให้อ่านง่าย ๆ ไม่มี หรือถ้ามีก็ต้องไปซื้อหนังสือเล่มข้างนอกต่างหาก และก็เป็นหนังสือที่เขียนด้วย *jargon* เยอะแยะอีกนั่นแหละ
เท่าที่เห็น ถ้าเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์หรือศิลปกรรมของเอกชน ป้ายข้อมูลภาษาอังกฤษจะทำได้ดีกว่าของรัฐ เรื่องนี้ ผมไปเจอสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี ใหญ่โตสีสวยสดใส ภายในมีภาพวาดทางประวัติศาสตร์ให้ดูเต็มผนังห้อง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษนั้นอ่านแล้วเศร้าใจ มันผิด ๆ ถูก ๆ เต็มไปหมด ทั้งการใช้คำศัพท์และแกรมมาร์ ผมไม่กล้าหามาลงให้ท่านดูเพราะกลัวเขาด่า แต่นี่ก็ไปเที่ยวมาหลายปีแล้ว วันนี้อาจจะปรับปรุงแล้วก็ได้
คือขอพูดอย่างนี้แล้วกันครับ ถ้าเป็นเอกสารหรือแผ่นพับแจก ซึ่งเป็นข้อมูลโฆษณาประชาสัมพันธ์เชียร์แขกให้ควักเงินซื้อตั๋วเข้าชม มักจะเขียนได้น่าอ่านดี แต่ถ้าเข้าไปถึงและยืนอ่านสิ่งที่อธิบายสาระจริง ๆ กลับพบว่าอ่านยาก
และผมก็ได้ไปเจอบทความนี้ สรุปก็คือเขาให้คำแนะนำหน่วยงานหรือคนที่มีหน้าที่เขียนข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษในพิพิธภัณฑ์ให้นักท่องเที่ยวอ่าน เขาบอกว่า ทางพิพิธภัณฑ์ต้องตระหนักว่า ไม่ใช่ทุกคนจะอ่านภาษาอังกฤษได้เก่ง เพราะฉะนั้นถ้าเขาเข้าพิพิธภัณฑ์เพื่อหาความเพลิดเพลินจากการอ่านความรู้ เขาผิดหวังแน่ และอย่าไปคาดหวังว่าเขาจะติดใจกลับมาหรือแนะนำให้คนอื่นมาเที่ยวที่นี่อีก รายได้ของพิพิธภัณฑ์คงไม่ดีแน่
อ่านที่ี่ครับ ==> https://bit.ly/2ISrdo5
ผมขอนำสรุปคำแนะนำของเขามาให้ท่านอ่านข้างล่างนี้ อันที่จริงคนไทยที่ผมอยากจะให้อ่านมากที่สุุด ก็คือหน่วยราชการที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องนี้นั่นแหละครับ ไม่รู้ว่านอกจาก ททท. ยังน่าจะมีหน่วยไหนอีก
Top Tips for Busting Museum Jargon
Clear, simple language isn’t being lazy or dumbing down — it usually requires more effort and knowledge to boil a concept down to its most essential elements. By cutting down on jargon, you can boost your museum’s accessibility, popularity, credibility, and team spirit. That’s why we think using clear and simple language is a *no-brainer* for museums everywhere. |
ช่วยทำออกมาหน่อยเถอะครับ ผมรู้ดีว่า.....
[1] การเขียนแล้วอ่านยากนั้นเขียนง่ายและใช้เวลาน้อย เพราะนักวิชาการที่เป็นคนเขียนใช้ภาษาที่ตนคุ้นเคยอยู่แล้ว
[2] แต่การเขียนให้อ่านง่ายนั้นเขียนยากและใช้เวลาเยอะ เพราะนักวิชาการที่เป็นคนเขียนต้องใช้ภาษาชาวบ้านที่ตนเองไม่คุ้นเคย -และที่ยากหน่อยก็คือ คงต้องออกไปขอความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อให้ช่วยร่าง, ช่วยอ่าน,ช่วยวิจารณ์, ไม่ใช่เอาแต่เขียนเอง เออเอง ชมกันเอง แต่นักท่องเที่ยวที่จ่ายเงินอ่านไม่รู้เรื่อง เมื่อไม่มี comment หนัก ๆ จากนักท่องเที่ยวก็ทึกทักว่า พวกเขาไม่แคร์อะไรกับเรื่องพวกนี้ แค่ได้ถ่ายรูปก็พอใจแล้ว ถ้าคิดกันอย่างนี้ผมว่าคิดน้อยไปหน่อยครับ
[3] และคำแนะนำที่บทความนี้ให้แก่คนรับผิดชอบเขียนป้ายภาษาอังกฤษในพิพิธภัณฑ์ ก็เป็นคำแนะนำที่ใช้ได้ดีสำหรับคนที่จะเขียนป้ายข้อมูลภาษาอังกฤษให้นักท่องเที่ยววัด สถานที่โบราณ หรือสถานที่ทางศิลปกรรมในเมืองไทย
ช่วยกันหน่อยเถอะครับ ผมรอมานานแล้ว
พิพัฒน์
https://www.facebook.com/pg/En4Th/posts/?ref=page_internal
มีหนังสือเกี่ยวกับ academic writing ของ Longman มาฝาก 2 เล่ม
คุณ Metta San ได้กรุณาฝากหนังสือ 2 เล่มนี้ของค่าย Longman มาให้ดาวน์โหลด เป็นหนังสือที่ค่อนข้างหนักสักหน่อย แต่น่าจะเหมาะกับท่านที่จะเตรียมตัวสอบ writing และ essay ของ Test หนัก ๆ เช่น TOEIC หริอ TOEFL ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
เล่มที่ 1 : Introduction to Academic Writing, Level 3, Third Edition, by Alice Oshima & Ann Hogue
เล่มที่ 2 : Longman Academic Writing Series 5, Essays to Research Papers, by Alan Meyers
วิธี Search คลิปใหม่ ๆ สอนภาษาอังกฤษ โดยอาจารย์ที่เราชอบ
คลิกภาพ ↑↑↑↑↑↑ เพื่อขยายให้เห็นชัด ๆ
วิธี Search คลิปใหม่ ๆ สอนภาษาอังกฤษ โดยอาจารย์ที่เราชอบ
มีอาจารย์หลายท่านออกคลิป YoouTube สอนภาษาอังกฤษที่ทั้ง ฟรี ดี และบ่อย ให้เราคนไทยได้เรียน แต่บางทีเราก็งานยุ่งตามไม่ทัน พอมีเวลาว่างเยอะหน่อยจะเข้าไปหาดูก็ไม่รู้ว่ามันรวมอยู่ที่ไหน
เรื่องนี้ไม่ยากครับ ผมขอแนะนำวิธี Search ที่ง่ายหน่อยแล้วกันครับ คือ
[1] ไปที่หน้า YouTube ==> https://www.youtube.com และพิมพ์คำค้นที่เราคิดว่า อาจารย์ท่านนั้นมักใช้ตั้งเป็นชื่อบทความของท่าน อย่างเช่นอาจารย์ อ.อดัม แบรดชอว์ ท่านก็มักจะตั้งว่า ภาษาอังกฤษว่าอย่างไร เราก็ลองพิมพ์คำค้นที่หน้า YouTube ว่า อ.อดัม ภาษาอังกฤษว่าอย่างไร YouTube ก็จะโชว์ผลอย่างนี้ ==> https://bit.ly/2GZ7T6X
ถึงตรงนี้ ถ้าท่านพอใจกับผลที่ YouTube โชว์ ก็ OK ครับ ไม่ต้องทำอะไรต่อ แต่ถ้าต้องการเจาะจงหาคลิปใหม่ ๆ ก็ไปต่อข้อ [2] และ [3]
[2] ต่อจากนี้ก็ให้คลิก FILTER ที่มุมบนซ้ายของหน้า, ตรงคอลัมน์ UPLOAD DATE ซ้ายสุด ให้คลิก This year
[3] คลิก FILTER เข้าไปอีกครั้ง คราวนี้ ที่คอลัมน์ SORT BY ขวาสุด ให้คลิก Upload date
ถึงตอนนี้ YouTube ก็จะโชว์คลิปของ อ. อดัม ตามชื่อที่เรา Search (คลิกดูภาพข้างบน)
==> https://bit.ly/2ECYKgr
โดยมันจะเรียงคลิปใหม่สุดอยู่บน คลิปก่อนหน้านั้นอยู่ล่างเรียงไปเรื่อย ๆ แต่ถ้ามีบางคลิปที่ไม่ตรงและเราไม่สนใจ ก็ข้ามไปครับ
ถ้าจะ Search คลิปโดยอาจารย์ท่านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ไทยหรือฝรั่ง ก็ค้นแบบเดียวกันนี้แหละครับ
พิพัฒน์
https://www.facebook.com/pg/En4Th/posts/?ref=page_internal