Articles
คำถามและทางออก : จบมหาวิทยาลัยแต่ภาษาอังกฤษยังใช้งานไม่ได้?!
คำถามนี้ถามกันมาเนิ่นนานจนเลิกถามแล้ว อาจจะปลงแล้วว่า มันก็อย่างนี้แหละ !
เราคนไทยเรียนวิชาภาษาอังกฤษมาทั้งสิ้น 16 ปี คือ ประถม 6 ปี, มัธยม 6 ปี และมหาวิทยาลัย 4 ปี จบออกมาแล้วภาษาอังกฤษก็ยังใช้งานไม่ได้
ถ้าใช้งานได้ต้องยังไง? ยกตัวอย่าง...
เรื่องฟังและพูด :
ตอนถูกฝรั่งถามทาง หรือมีคนต่างชาติโทรศัพท์เข้ามาที่สำนักงาน ต้องสามารถพูดคุยหรือตอบข้อซักถามสั้น ๆ ของเขาได้ นี่ยังไม่ต้องพูดไปไกลถึงขนาดดูข่าวต่างประเทศ ดูหนังเสียงพูดภาษาอังกฤษ หรือนำเสนองาน-ตอบข้อซักถามในที่ประชุมเป็นภาษาอังกฤษ
เรื่องอ่าน :
เห็นพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ หรือเห็นป้ายประกาศ/ข้อมูล หรือสลากสินค้าที่เป็นภาษาอังกฤษ ก็อ่านเข้าใจ นี่ยังไม่ต้องพูดไปไกลถึงขนาดอ่านข่าว Bangkok Post, BBC, CNN อ่านหนังสือภาษาอังกฤษ ทั้ง fiction และ non-fiction
เรื่องเขียน :
ถ้าเป็นพนักงาน ก็สามารถเขียนอีเมลสื่อสารข้อความสั้น ๆ ที่ไม่ซับซ้อนได้อย่างไม่ผิดพลาด
แต่การที่ทักษะภาษาอังกฤษของคนไทยส่วนใหญ่ยังใช้การไม่ได้ มันก็มีเหตุของมัน ไม่ใช่สิ่งที่พระเจ้าสาปแช่ง และผลต้องมาจากเหตุ
ตอนนี้ขอให้เราลองนึกย้อนไปยังสมัยที่อยู่ในห้องเรียน ลองนึกถึงหน้าเพื่อนร่วมห้องที่ได้เกรด A หรือ B วิชาภาษาอังกฤษเป็นประจำ เขาเรียนยังไงถึงทำข้อสอบหรือการบ้านได้คะแนนเยอะกว่าเรา นี่เป็นเพราะว่าเขาขยันเป็นพิเศษ หรือถนัดเป็นพิเศษในวิชาภาษาอังกฤษมากกว่าเรา หรือมีเรื่องอื่นช่วยเหลือเขา
เอาละ เรารู้ว่าเขาได้คะแนนดีในวิชาภาษาอังกฤษเพราะเขาทำข้อสอบได้ แต่เราพอจะตอบได้ไหมว่า ถ้านำเด็กทั้งกลุ่มที่ได้คะแนนดีในวิชาภาษาอังกฤษมา test ใหม่รายคน แบบตรงไปตรงมาอย่างนี้ (ยกตัวอย่าง)
ทดสอบเรื่อง reading, speaking :
ให้อ่านข่าวหรือบทความสักเรื่องหนึ่ง และให้พูดเล่าเรื่องนั้นออกมาเป็นภาษาอังกฤษ
ทดสอบเรื่อง listening, writing :
ให้ดู story เรื่องสั้น ๆ หรือฟังบทบรรยายเป็นภาษาอังกฤษสักเรื่องหนึ่ง จบแล้วให้เขียนเล่าออกมาเป็นภาษาอังกฤษ
จะเป็นไปได้ไหมว่า ถ้าเล่นสอบกันแบบนี้ จะสอบตกกันยกห้อง และเด็กก็จะประท้วงว่า เรื่องที่ครูสอนไม่ใช่อย่างนี้ เพราะครูอธิบายแกรมมาร์เป็นเรื่อง ๆ, อธิบายศัพท์เป็นคำ ๆ, อธิบายข้อสอบเป็นข้อ ๆ, และอธิบายหลากหลายเทคนิคในการทำข้อสอบ ไม่ใช่เอาเรื่องฟัง-พูด-อ่าน-เขียน ปนเปกันเป็นดุ้น ๆ อย่างนี้มา test ให้สอบอย่างนี้ใครจะไปทำได้
แต่ผมอยากจะบอกว่า ไอ้ดุ้น ๆ อย่างนี้แหละครับ ที่เราจะเจอจริง ๆ เมื่อต้องใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันหรือการทำงาน
ผมไม่อยากจะสรุป แต่ก็จำใจต้องสรุปว่า วิชาภาษาอังกฤษในโรงเรียนนั้น เราเน้นผิดทั้งเรื่องการสอนและการสอบ แล้วจะไปหวังอะไรได้
และผมก็ไปเจอในเวทีการพูดคุยของหลายเว็บ บางแห่งด่าระบบการจัดการศึกษา, หลักสูตร, เนื้อหา, บุคลากร ฯลฯ ที่กระทรวงศึกษาธิการรับผิดชอบอย่างรุนแรง อ่านแล้วก็เจ็บ
ผมอยากจะเสนออย่างนี้ดีกว่าครับ คืออะไรที่มันเสียหายไปแล้ว ก็ต้องค่อย ๆ แก้ไขกันไป ถ้าเราไม่สิ้นหวัง ความสมหวังก็ยังมีอยู่
ในฐานะ Webmaster ของเว็บ e4thai.com ผมประจักษ์ว่า หลายคำถามที่ผมได้รับ มาจากคนที่ตกเป็นเหยื่อของระบบการศึกษาซึ่งกลไกขัดข้อง เขาจึงคล้าย "คนไข้" แต่ส่วนใหญ่เป็นคนไข้ที่ "ใจร้อน" มาก ๆ ต้องการยาวิเศษที่กินแล้วทำให้โรคร้ายหายทันที ขอเรียนว่า "ยา" เช่นนี้มันไม่มีหรอกครับ ไม่ว่าใครจะอ้างว่า มันคือ app, โปรแกรม, หลักสูตร, ตำรา, สถาบัน, อาจารย์ ฯลฯ ที่ดูขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ปานใดก็ตาม
เมื่อเป็นไปไม่ได้ที่จะย้อนเวลาหาอดีต พาตัวเองไปเป็นนักเรียนให้ครูสอนอีกครั้ง หนทางเดียวที่พอจะทำได้ก็คือ ต้องฟิตใหม่โดยเป็นทั้งนักเรียนและครูในตัวเอง และงานที่ต้องทำก็มีถึง 4 อย่าง คือ
- (1) สอนตัวเอง
- (2) ให้งานหรือการบ้านตัวเอง
- (3) ตรวจงานหรือการบ้านที่ตัวเองทำ ว่าถูกหรือผิด ควรแก้ไขอย่างไร
- (4) หาคำอธิบายเพื่อตอบข้อสงสัยให้ตัวเอง
ความยากในการเก่งอังกฤษ ณ นาทีนี้อยู่ตรงที่ว่า
① เมื่อก่อนนั้น ท่านทำข้อ (1)คือเรียนอย่างเดียวก็แย่แล้ว แต่ตอนนี้ท่านต้องทำอีก 3 ข้อซึ่งเป็นงานของครู เพราะฉะนั้น ฉันทะ ขันติ วิริยะ ต้องเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า
② สิ่งที่ผมกังวลมากที่สุดสำหรับท่านที่ต้องเป็นครูสอนตัวเอง ก็คือ ในขณะที่เราวิจารณ์ครูและระบบการศึกษา ว่าทำให้ภาษาอังกฤษของเราอ่อนแอ หลายท่านกลับไม่ยอมใช้วิธีเรียนที่ลุยเข้าไปเจอของจริง คือ อ่านภาษาอังกฤษจริง ๆ, ฟังภาษาอังกฤษจริง ๆ, ฝึกพูดเปล่งเสียงออกมาจริง ๆ, ฝึกเขียนจริง ๆ – ฝึกเรื่อย ๆ , ฝึกไม่หยุด, โดยไม่กลัวผิด เพราะความผิดจะสอนให้เราค่อย ๆ ทำถูก
หลายท่านไม่ยอมลุยฝึกเข้าไปจริง ๆ อย่างที่ว่านี้ แต่กลับชอบเรียนด้วยวิธีซึ่งโรงเรียนสอนให้เราเคยชินมานับสิบ ๆ ปี คือการกอดรัดกับคำแปลหรือคำอธิบายที่เป็นภาษาไทยวิธีเดียวเท่านั้น, การเรียนกฎเกณฑ์ของแกรมมาร์หรือคำอธิบายศัพท์โดยไม่ยอมลุยเข้าไปเจอแกรมมาร์และศัพท์จริง ๆ ในเนื้อเรื่องที่อ่านหรือฟัง หรือลุยเข้าไปฝึกนิด ๆ หน่อย ๆ อย่างเสียไม่ได้ ถ้าเป็นนักรบ ก็เป็นนักรบที่เอาแต่ขี่ม้าเลียบค่ายของข้าศึก ไม่ยอมบุกเข้าไปตีค่ายจริง ๆ ขืนเอาแต่รบแบบนี้อีกกี่ปีกี่ชาติก็ไม่ชนะ พูดง่าย ๆ อีกอย่างก็คือ ความเข้าใจนั้นดีและจำเป็นต้องมี แต่ความเข้าใจที่ขาดการฝึกฝนก็ไม่ก่อให้เกิดทักษะหรอกครับ
เมื่อเราตำหนิว่าโรงเรียนสอนเราแบบไม่ถูกต้อง เราก็อย่าได้นำเอาวิธีเดียวกันมาสอนตัวเอง นี่คือสิ่งที่ผมอยากจะฝากทุกท่านด้วยความจริงใจครับ
พิพัฒน์
www.facebook.com/en4th
ทดสอบศัพท์ 400 คำ จาก Longman Dictionary
♥ทดสอบศัพท์ ระดับไม่ง่าย-ไม่ยาก จำนวน 400 คำ จาก Longman Dictionary, ที่เว็บนี้ สามารถคลิกฟังเสียงอ่านประโยคตัวอย่างทั้งประโยค และฝึกพูดตามได้
→ https://www.google.com/search?q=site:www.ldoceonline.com+-%E2%97%8F ◙
คลิปสอนภาษาอังกฤษ โดย 3 ครูพิธีกรชื่อดัง (ไรท์+อดัม+เต้)
♥ รายการภาษาอังกฤษที่จำลองสถานการณ์ต่างๆที่สนุก ตลก และได้ความรู้ ชื่อรายการ CAT มาจากพิธีกร 3 คน Christopher Wright, Adam Bradshaw และ Tae เต้ สุผจญ กลิ่นสุวรรณ ที่รวมตัวกันมาสอนภาษาอังกฤษเพื่อ eng24 โดยเฉพาะ
♠♠♠
คลิป ตัวอย่าง→ https://goo.gl/g2A1V8
PDF→ https://goo.gl/Xj4Gep
รวมคลิป→ https://goo.gl/tsDefq
♣♣♣
Web→ http://www.eng24.ac.th/
Facebook→ https://www.facebook.com/eng24byOBEC/ ☼
เว็บดิกมีอะไรดี ๆ อีกเยอะให้เข้าไปค้นหา
ผมเองเป็นคนชอบดิก และเริ่มใช้ดิกอังกฤษ-อังกฤษมาตั้งแต่อยู่ชั้นมัธยมต้น สมัยที่โลกนี้ยังไม่มีคอมฯ, CD, อินเทอร์เน็ต ฯลฯ ให้ใช้
ทุกวันนี้บริการของดิกนอกจากให้ความหมายของคำศัพท์ ยังมีบริการอื่น ๆ อีกเยอะ (เยอะจริง ๆ) ที่่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา
แต่ผมอยากให้ท่านผู้อ่าน เข้าไปคลิกค้นดูด้วยตัวเอง มันเยอะครับ ผมแนะนำไม่ไหว
Cambridge Dictionary
เว็บ : https://dictionary.cambridge.org/
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCnwirqwg7p7-6nQycxuquSA
Facebook : https://www.facebook.com/CambridgeDictionariesOnline/
บล็อก : https://dictionaryblog.cambridge.org/
Add-on Dict (ใช้กับ Chrome) : https://chrome.google.com/webstore/detail/double-click-plugin-for-c/himkoopjedbfonnldmnkjhhncmojjbjm
Add-on Dict (ใช้กับ Firefox) : https://addons.mozilla.org/en-US/firefox/addon/cambridge-english-dictionary/?src=api
Oxford Dictionary
เว็บ : https://www.oxfordlearnersdictionaries.com/
YouTube : https://www.youtube.com/user/OxfordDictionaries
Facebook : https://www.facebook.com/OxfordDictionaries/
บล็อก : https://blog.oxforddictionaries.com/
Add-on Dict (ใช้กับ Chrome) : https://chrome.google.com/webstore/detail/oxford-advanced-learners/jbfnadandganeodogcmcigfmmpkamhif?hl=en
Add-on Dict (ใช้กับ Firefox): https://addons.mozilla.org/en-US/firefox/addon/oxford-learner-dictionary/?src=api
Macmillan Dictionary
เว็บ : https://www.macmillandictionary.com/
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCtbXGPi4zS4qkpAZ7I-zpFA?pbjreload=10
Facebook : https://www.facebook.com/macmillandictionary/
บล็อก : http://www.macmillandictionaryblog.com/
พิพัฒน์
www.facebook.com/en4th