Articles
เรื่อง "การเมือง" - "เจ้าแม่" กับเด็กติดถ้ำ
♥ ข่าวนี้จาก นสพ Washington Post เขาพูดถึงความเชื่อเกี่ยวกับเจ้าแม่นางนอน
→ คลิก
♦ ส่วนข่าวนี้จากเว็บในประเทศออสเตรเลีย มีคำวิจารณ์เกี่ยวกับการเมืองไทยในปฎิบัติการณ์ช่วยเด็กติดถ้ำ
→ คลิก
ลองอ่านดูแล้วกันครับว่าเขาว่ายังไง เนื้อหาอย่างนี้สื่อมวลชนไทยคงไม่ค่อยได้เขียนกันนัก
♣ ผมนำข่าวทั้งสองมาแปะไว้ที่เว็บ e4thai.com เพื่อให้สามารถไฮไลท์คำศัพท์เพื่อดูคำแปลไทยได้
พิพัฒน์
แนะนำชุด Grammar Practice for Students ของสำนักพิมพ์ Longman
จากที่ผมนำหนังสือแกรมมาร์มาแนะนำท่านหลายครั้งแล้ว ท่านสังเกตไหมครับว่า แต่ละเล่ม-แต่ละชุด ก็มีสไตล์ของตัวเอง และก็พูดยากว่าอย่างไหนดีกว่ากัน อย่างชุดที่ผมจะแนะนำในวันนี้
- เป็นของสำนักพิมพ์ Longman ซึ่งก็มีชื่อเสียงระดับโลก
- มี 4 Level ให้เลือกฝึก คือ Elementary, Pre-Intermediate, Intermediate และ Upper-Intermediate
- คุณครูสามารถนำไปใช้สอนในห้อง หรือผู้เรียนใช้เรียนด้วยตัวเองก็ได้
- ถ้าจะศึกษาด้วยตัวเอง เมื่อเลือก level ได้แล้ว ก็เข้าไปที่หน้าสารบัญ (Contents) ซึ่งแสดงทั้งหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อย หรือไปที่ Index ท้ายเล่ม ซึ่งแสดงหัวข้อย่อยของทั้งเล่มโดยละเอียดยิบ แต่ถ้าจัดหมวดหมู่ได้เขาก็จะจัดให้ เราก็ดูว่ามีหัวข้อใดที่สนใจจะศึกษาโดยเจาะจง และก็ไปที่นั่น
- ถึงตรงนี้แหละครับที่ผมเห็นว่าหนังสือแกรมมาร์ชุดนี้น่าสนใจมาก ๆ คือ แต่ละหัวข้อจะเริ่มด้วยคำอธิบายซึ่งดูแล้วเขาพยายามที่จะพูดอย่างกระจ่างแต่ก็กระชับที่สุด (คือไม่เยิ่นเย้อ, ไม่พูดมาก) และตามด้วย Practice ทันที, ทำเสร็จแล้วก็ไปตรวจกับ Key ที่ท้ายเล่ม
เรื่องแกรมมาร์นี่นะครับ มีอันหนึ่งที่ผมอยากจะแนะนำเป็นพิเศษ คือ แรกสุด ให้เข้าไปดูที่ Contents หรือสารบัญ ไล่ดูไปทีละบรรทัดเลยว่า มีเรื่องใดที่เรารู้มาก, รู้น้อย, หรืองงมากแทบไม่เข้าใจเลย และก็จดชื่อเรื่อง+เลขหน้า ทำ list เรื่องที่จะศึกษาเอาไว้เลย แล้วก็ไล่ศึกษาตามนั้น เราไม่ต้องไล่อ่านตั้งแต่หน้าแรกไปถึงหน้าสุดท้าย
เอาละครับ เชิญดาวน์โหลดไปศึกษาได้เลยครับ
- Grammar Practice for Elementary Students สำหรับระดับ Elementary-คลิก
- Grammar Practice for Pre-Intermediate Students สำหรับระดับ Pre-Intermediate-คลิก
- Grammar Practice for Intermediate Students สำหรับระดับ Intermediate-คลิก
- Grammar Practice for Upper Intermediate Students สำหรับระดับ Upper-Intermediate-คลิก
พิพัฒน์
www.facebook.com/en4th
คนยุคพุทธกาลที่ยุคเราถือเป็นไอดอลได้อย่างสนิทใจ : พระอานนท์, หมอชีวก
ยุคนี้ผู้คนหาหนังสือธรรมะอ่านและเสียงธรรมะฟังได้ง่าย และจากหลากหลายอาจารย์, หลวงปู่, หลวงพ่อ, หลวงพี่ ตามที่ถูกจริตและถูกโฉลก แต่อย่างหนึ่งที่ผมสังเกตก็คือ ธรรมะที่เข้าหานั้นส่วนใหญ่เป็นไม่เอาบุคคลในอดีตเป็นที่ตั้ง ทั้ง ๆ ที่ในทางพุทธเรา ตามพระไตรปิฎกก็มีประวัติของพระพุทธสาวกและพระโพธิสัตว์ในชาดกให้ศึกษาเรื่องทางธรรมะ ผมเข้าใจว่าที่เราไม่สนใจจะศึกษาเพราะเห็นว่า ชีวิตของท่านสูงหรือดีเกินไปเราทำไม่ได้อย่างนั้น หรือถ้าเป็นเรื่องของพระโพธิสัตว์ที่เสวยชาติเป็นคนหรือสัตว์ เราก็อาจจะรู้สึกลึก ๆ ในใจว่าไม่ใช่เรื่องจริง เป็นเกรดเดียวกับนิทานอีสปสอนเด็ก อาจจะมีต่างบ้างก็คือ ถ้านักวิชาการฝรั่งหรืออาจารย์มหาวิทยาลัยนำเรื่องพวกนี้มาเล่าผ่านมุมมองของคนสมัยใหม่ เช่น แง่จิตวิทยาหรือสามารถแทรกมุกตลก คนยุคใหม่ก็ยินดีฟัง แต่ถ้าหลวงตาตามวัดเทศน์สไตล์เก่า ก็ไม่มีใครฟัง
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวผมมีความรู้สึกว่า มีประวัติของบางคน หรือบางฉากในชีวิตของเขาที่น่าทึ่งน่าศึกษามาก ๆ เช่นประวัติของภิกษุณีบางรูป หรือบางฉากที่เป็นเหตุการณ์หรือบทสนทนาโต้ตอบ 4 – 5 ประโยค มันทั้งลึกและซึ้ง ที่สามารถใช้กับโลกียวิสัย ไม่ใช่เพื่อใช้สอนเฉพาะคนมุ่งไปนิพพานแบบทิ้งสังคม
เท่าที่เคยศึกษา มี 2 คนที่ผมเห็นว่า ชีวิตของเขาสามารถเป็นไอดอลให้คนยุคใหม่ได้สบายมาก
คนแรกคือพระอานนท์ จุดเด่นก็คือ ประวัติของท่านมี event เยอะ ไม่ใช่ชีวิตที่ราบเรียบ ท่านอาสาเสนอตัวที่จะเป็นพระเลขาฯ ของพระพุทธเจ้าเมื่ออายุ 55 ปี และตอนนั้นพระพุทธเจ้าก็อายุ 55 ปีเท่ากัน เพราะทั้งสองท่านเกิดวันเดือนปีเดียวกัน แต่ห้วงเวลาประมาณ 25 ปีที่ทำหน้าที่พระเลขาฯ ให้พระพุทธเจ้าจนถึงวันที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานนี่ซี มีเรื่องให้เล่าเยอะ เห็นได้ชัดว่าท่านพระอานนท์เป็นคนหัวดี, รอบคอบ, จำแม่นมากขนาดเครื่องซีร็อกซ์ต้องเรียกพี่, เป็น manager มืออาชีพ, ให้เกียรติผู้หญิง, มากน้ำใจ, take care ทุกคนที่เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยใช้มาตรฐานเดียวไม่เลือกยากดีมีจน และน่าจะเป็นคนตัวสูงด้วย
และหนังสือเล่มนี้ พระอานนท์ พุทธอนุชา โดย อ.วศิน อินทสระซึ่งแต่งไว้เนิ่นนานแล้ว ก็เล่าเรื่องเกี่ยวกับพระอานนท์ไว้ดีมาก ๆ จน Encyclopedia of World Literature ให้เกียรติหนังสือเล่มนี้ว่าเป็น “วรรณคดีของโลกในศตวรรษที่ 20” ผมขอแนะนำให้ท่านอ่านหนังสือเล่มนี้ อ่านอย่างคนสมัยใหม่ที่ใจเปิดและสมองโปร่ง ไม่ต้องอ่านอย่างคนที่พร้อมจะเชื่อ แต่ก็ไม่ควรอ่านโดยตั้งใจไว้ก่อนว่าไม่เชื่อ
ท่านสังเกตไหมครับว่า มีอยู่จุดหนึ่งที่พระอานนท์ต่างจากพระสาวกดัง ๆ รูปอื่น ๆ คือรูปอื่น ๆ นั้น บรรลุธรรมหรือเป็นพระอรหันต์เร็วเหลือเกิน บางองค์ฟังพระพุทธเจ้าแค่ครั้งเดียวก็บรรลุธรรมเลย แต่พระอานนท์บวชมาตั้งหลายสิบปีแล้วก็ยังไม่บรรลุ จนพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วนั่นแหละถึงได้บรรลุกะเขาบ้าง
ส่วนอีกท่านหนึ่งที่ผมถือมาเนิ่นนานแล้วว่า สามารถเป็นไอดอลให้คนยุคนี้ได้ 100 % ก็คือหมอชีวก เรื่องราวของท่านที่จารึกในพระไตรปิฎกนั้นค่อนข้างกระท่อนกระแท่น ผมอ่านฉบับที่ อ.เสฐียรพงษ์ วรรณปก เรียบเรียงไว้เมื่อหลายสิบปีที่แล้ว คือ ชีวิตตัวอย่าง หมอชีวกโกมารภัจจ์:นายแพทย์ประจำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็รู้สึกชื่นชมจับใจ เพราะชีวิตหมอของท่านเป็นชีวิต “เพื่อมวลชน” จริง ๆ เป็นหมอรักษาพระพุทธเจ้า, รักษาพระที่อยู่วัดเดียวกับพระพุทธเจ้า และก็ยังรักษาพระ แม่ชี ญาติโยม และชาวบ้านอื่น ๆ ที่แห่มาจากทุกสารทิศให้ท่านรักษา เพราะท่านเป็นหมอดังใคร ๆ ก็ได้ยินชื่อ ผมเชื่อว่าท่านไม่ได้สนใจเรื่องเงินทองค่ารักษาด้วยซ้ำ และตามประวัติท่านก็ไม่ได้บรรลุอรหันต์ แค่โสดาบันก็ยังไม่ได้ แต่ได้รับใช้พระพุทธเจ้าอย่างมอบทั้งกายถวายทั้งชีวิต บริการคนไม่รู้จักเหมือนญาติมิตร
ด้วยประวัติที่กระท่อนกระแท่นในพระไตรปิฎกนี่เอง ที่ทำให้ยุคหลัง ๆ มีการแต่งเติมเสริมต่อชีวิตของท่าน บางสถานที่มีถึงขั้นเข้าทรงเพื่อสัมภาษณ์ท่านอย่างนั้นอย่างนี้ เรื่องนี้ผมไม่วิจารณ์ละครับ เพราะแค่ประวัติสั้น ๆ ของท่านในพระไตรปิฎกก็สามารถเคารพท่านได้อย่างสนิทใจแล้ว
→ Buddha's Constant Companion : Venerable Ananda
→ ชีวิตตัวอย่าง หมอชีวกโกมารภัจจ์:นายแพทย์ประจำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พิพัฒน์
แนะนำเว็บหนังสือเก่า Thammasat University Digital Collections
ท่านผู้อ่านครับ ผมไปเจอเว็บ Thammasat University Digital Collections ซึ่งมีหนังสือเก่า ๆ ให้ดาวน์โหลดหลายเล่ม เช่น หนังสือธรรมะที่สมัยก่อนพิมพ์แจกในงานศพ, หรือหนังสือวรรณคดีโบราณ, ประวัติศาสตร์เก่า ๆ ฯลฯ นี่ผมกำลังพูดถึงยุคก่อนซึ่งไม่มี eBook และแม้แต่หนังสือเล่มก็ยังไม่ได้พิมพ์ขายแพร่หลายอย่างทุกวันนี้ หนังสืองานศพจึงเป็นแหล่งหนึ่งของขุมศัพท์ทางปัญญาในยุคนั้น ยุคที่เราท่านหลายคนอาจจะยังไม่เกิดด้วยซ้ำ
- Homepage http://beyond.library.tu.ac.th/cdm/
- รวมทุกประเภท http://beyond.library.tu.ac.th/cdm/search
- ประเภทหนังสืองานศพ http://beyond.library.tu.ac.th/cdm/search/collection/cremation
บางเล่มผมแค่เห็นหน้าปกก็รู้สึกขลังทันที อย่างเช่นหนังสือ "พุทธประวัติสำหรับยุวชน" ที่เรียบเรียงโดย "ภิกขุ พุทธทาส" ตั้งแต่สมัยโน้น (สมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ซึ่งท่านยังอยู่ในวัยที่แข็งแรง) และมีผู้ขออนุญาตท่านอาจารย์พิมพ์แจกเป็นหนังสืองานศพ เมื่อเข้าไปอ่านดูก็เห็นได้ชัดเลยว่า งานของท่านอาจารย์พุทธทาสปราณีตมาก ๆ ทั้งเนื้อหาและภาษา
- คลิกอ่าน → พุทธประวัติสำหรับยุวชน หรือ เล่มนี้
- หนังสือเก่าพวกนี้หลายเล่มรวมทั้งเล่มนี้ สมัยนี้เป็น eBook หาอ่านได้ง่าย ๆ → คลิกดู
- หรือแม้แต่ทำเป็นหนังสือการ์ตูนก็มี → เล่ม 1 / เล่ม 2
แถมเล่มนี้ด้วยครับ
แต่ผมเข้าใจว่ามีบางเล่มที่น่าอ่านมาก ๆ แต่ไม่มีการพิมพ์ออกขาย เพราะคนนิยมน้อยพิมพ์ขายก็ขาดทุน และถ้าท่านเข้าไปคุ้ย ๆ ดูอาจจะเจอในเว็บ Thammasat University Digital Collections ก็เป็นไปได้
ขอแนะนำแค่นี้แล้วกันครับ
พิพัฒน์
www.facebook.com/en4th