Articles
"ชีวิตนี้น้อยนัก"
"ชีวิตนี้น้อยนัก"
โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
→ คลิก
ย่อ/สรุป พร้อมคำแปลภาษาอังกฤษ (20 ข้อ)
→ คลิก
เสียงอ่านโดย โจโฉ
→ https://www.youtube.com/watch?v=VZV9P10Nd64
ศัพท์ อังกฤษ-ไทย ที่ " บทสนทนาภาษาอังกฤษ Learning for Life "
บทสนทนาภาษาอังกฤษ Learning for Life
♥ ลองเข้าไปดูสักหน่อยก็ดีครับ มีคำศัพท์ + คำแปล น่าสนใจดีครับ
♣ คลิกภาพใต้ All Photos → https://tinyurl.com/ybbpwsdr
♣ คลิกดูไปเรื่อย ๆ ทีละเฟรม → https://tinyurl.com/y7zshevw
สามเณร ปลูกปัญญาธรรม นานาชาติ (True Little Monk)
♣ เรียนรู้ธรรมะและฝึกภาษาอังกฤษไปพร้อม ๆ กัน, คลิปบรรยายธรรมเป็นภาษาไทย และมีคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ หรือบรรยายธรรมเป็นภาษาอังกฤษ และมีคำแปลเป็นภาษาไทย บนจอ
→ https://www.youtube.com/watch?v=8PlQ6vZJtd0&index=1&list=PLPo1TA7CjnN2y65Ez5z_k7AU0GaaXJAvp
→ https://www.youtube.com/playlist?list=PLPo1TA7CjnN2y65Ez5z_k7AU0GaaXJAvp
♠Website : → http://www.truelittlemonk.com/
♠Facebook : → https://www.facebook.com/truelittlemonk
เคล็ดลับการออกเสียงภาษาอังกฤษที่ทุกคนควรรู้ !!! โดย อ.อดัม
https://www.youtube.com/watch?v=LrDkivj1uL8 ถ้าต้องการดาวน์โหลดคลิป mp4 ก็ →ไปที่นี่ และคลิก ⋮
คลิปนี้ของ อ.อดัม ให้คำแนะนำพื้นฐานในการออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ในความเห็นของผม นี่เป็นคำแนะนำพื้นฐานที่มีประโยชน์มาก, ที่มีประโยชน์มากเพราะคนไทยจำนวนไม่น้อย ไม่รู้จักเรื่องพื้นฐานเรื่องนี้, หรือรู้จักแต่ไม่ได้ฝึก จึงออกเสียงคำศัพท์อย่างผิด ๆ, และกลายเป็นผิดอย่างปกติ ถ้ามีใครออกเสียงถูก ก็อาจจะกลายเป็นถูกอย่างผิดปกติ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตลกอยู่เหมือนกัน
คลิปความยาว 40 นาทีของ อ.อดัม สรุปได้ 3 ข้อดังนี้ครับ
【1】 ในเรื่องการออกเสียง
คำที่มีตั้งแต่ 2 พยางค์ขึ้นไป
- จะมีพยางค์หนึ่งที่ออกเสียงหนัก ซึ่งมักจะตรงกับเสียงโทหรือตรีในภาษาไทย ถ้าไปดูโฟเนติกส์ที่→เว็บดิก Oxford ก็คือพยางค์ที่อยู่หลังเครื่องหมาย ' เช่นคำว่า
- bacon - ออกเสียงหนักที่พยางค์แรก ˈbeɪkən - เบ้เคิ่น → คลิกฟัง
- salad - ออกเสียงหนักที่พยางค์แรก ˈsæləd - แซะเหลิด → คลิกฟัง
- system - ออกเสียงหนักที่พยางค์แรก ˈsɪstəm - ซิสเทิ่ม → คลิกฟัง
- kingdom - ออกเสียงหนักที่พยางค์แรก ˈkɪŋdəm - คิ่งเดิ่ม → คลิกฟัง
- column -ออกเสียงหนักที่พยางค์แรก ˈkɒləm - เคาะเหลิ่ม → คลิกฟัง
-ส่วนพยางค์อื่น(ๆ)ที่ไม่ได้ออกเสียงหนัก ถ้าไปดูโฟเนติกส์ มันก็คือพยางค์ที่มีเครื่องหมายตัว e หัวกลับ ə (schwa) พยางค์พวกนี้ไม่ว่าในคำศัพท์จะเป็นสระ a - e - i - o หรือ u เวลาออกเสียงก็มักจะออกเสียงคล้าย ๆ สระเออะ ไปซะหมด เช่น
- salad - ˈsæləd - แซะเหลิด → คลิกฟัง
- system - ˈ ˈsɪstəm - ซิสเทิ่ม → คลิกฟัง
- kingdom - ˈˈkɪŋdəm - คิ่งเดิ่ม → คลิกฟัง
- column - ˈkɒləm - เคาะเหลิ่ม → คลิกฟัง
【2】 แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าคำนี้ลงเสียงหนักพยางค์ไหน
ก็มี 2 วิธีง่าย ๆ คือ ให้ [1] ตั้งใจฟังว่า ฝรั่ง(ที่เราคุยด้วย หรือ ในคลิป)เขาออกเสียงหนักพยางค์ไหน หรือไม่ก็ [2] เข้าไปดูโฟเนติกส์หรือคลิกฟังการออกเสียงที่ดิกอังกฤษ-อังกฤษ เช่น→ ดิก Oxford
【3】 แล้วเวลาฝึก - จะฝึกยังไง
อ. อดัมบอกว่า การเรียนภาษาไม่ใช่การเรียนรู้อย่างเดียว แต่ต้องเลียนแบบด้วย ในกรณีการออกเสียงนี้ ก็ใช้วิธี ฟังและออกเสียงตาม หรือ listen & repeat (imitate) โดย อ.อดัมยกตัวอย่างตัวเองที่สามารถพูดภาษาไทยได้ชัดก็เพราะ "ผมฝึกทุกวัน" - "I practice every single day." แต่ก็ให้ฝึกอย่างสบาย ๆ อย่างต่อเนื่อง "อย่าเร่งตัวเอง" "Don't rush yourself." ไม่ต้องใจร้อนเกินไป
พิพัฒน์
www.facebook.com/en4th
ถือโอกาสนี้เรียนรู้ภาษาอังกฤษ ผ่านสื่อไทยและสื่อฝรั่งไปพร้อมกัน
ท่านผู้อ่านคงจะสังเกตได้ชัดว่า ตั้งแต่มีเรื่องการช่วยเหลือ "หมูป่า" ที่ติดถ้ำ มีสื่อมวลชนทั่วโลกรายงานข่าวนี้ และอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ หลาย ๆ ครั้งสื่อไทยเรานี่แหละนำเรื่องที่สื่อฝรั่งรายงานผ่านหน้าเว็บหรือผ่านคลิป มาบอกเล่าให้คนไทยรู้อีกต่อหนึ่ง และอันนี้แหละครับที่พวกเราสามารถใช้เป็นอุปกรณ์ในการศึกษาภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี บางครั้งบทความของสื่อไทยก็บอกลิงก์ให้เราคลิกย้อนไปหาบทความของสื่อฝรั่งได้ง่าย ๆ แต่บางครั้งก็ไม่บอก เราซึ่งเป็นผู้ศึกษาก็ต้องซอกแซกหาเอาหน่อย
อย่างบทความนี้ของ นสพ ข่าวสด เสนอ " สื่อต่างประเทศ ตีแผ่ชีวิต 'อดุลย์' หมูป่าไร้สัญชาติ ผู้ใช้ภาษาอังกฤษได้ "
→ https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_1343831
ซึ่ง " สื่อต่างประเทศ " ก็คือ สำนักข่าว CBSN สำนักข่าวของสหรัฐอเมริกา
→ https://www.facebook.com/YorlokOfficial/videos/1966480816724194/