Articles
ฝึก reading skill กับ Joke story พร้อมคำแปลไทย เป็นร้อย ๆ เรื่อง
ผมไปเจอลิงก์หนึ่งที่เว็บ vcharkarn.com ซึ่งรวบรวม Joke ไว้เป็นร้อย ๆ เรื่อง, แต่ละเรื่องประกอบด้วย 1) Joke story 2) คำแปลศัพท์ และ 3)คำแปลเนื้อเรื่อง หน้าตาของ story ที่ว่านี้ อย่างนี้ครับ
→ คลิก
โดยลิงก์ของเว็บ คือลิงก์นี้
→ คลิก
ผมดูแล้วเห็นว่าอาจจะดูยาก และอีกอย่างหนึ่งเมื่ออ่านค้างและกลับมาดูอีกที ก็หายากว่าอ่านค้างที่เรื่องไหน/ตรงไหน หรือบางทีพอไปเจอเรื่องนั้นเรื่องนี้ที่น่าอ่าน จะบอกเพื่อนก็ระบุยากเพราะลิงก์ที่เว็บนี้ไม่ได้จัดแบ่งแต่ละเรื่องให้เห็นชัด ๆ ผมจึงนำ story ทั้งหมดมาทำเป็น eBook และทำ Bookmarks ให้เห็นง่าย ๆ ว่าเป็นเรื่องที่เท่าไหร่ จะหาหรือค้นก็ทำได้ง่ายขึ้นอีกหน่อย โดยผมทำไว้ 80 เรื่องแรก (เข้าไปคลิกที่ Bookmarks นะครับ)
→ คลิก
ท่านผู้อ่านครับ การอ่านภาษาอังกฤษกับการอ่าน Joke นี่จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก เพราะ Joke นั้นเขามักจะเขียนด้วยภาษาอังกฤษที่ไม่ยาก แต่ก็อาจจะแทรก slang บ้างนิด ๆ หน่อย ๆ แต่สำหรับคนต่างชาติเช่นคนไทยเมื่ออ่าน Joke ฝรั่ง บางทีอ่านซ้ำแล้วก็ยังไม่เห็นว่ามันขำตรงไหน นี่อาจจะเป็นเพราะว่ามุกตลกของไทยไม่เหมือนฝรั่ง หรือมุกตลกมันอาจจะซ่อนอยู่ลึกลงไปหน่อย ถ้าตีความแตกมันก็ขำ หรืออาจจะขำแบบทะลึ่ง ๆ นิดหน่อยด้วยซ้ำ หรืออีกอย่างหนึ่ง มุกตลกมันอาจจะซ่อนอยู่เบื้องหลังแง่มุมของภาษา ถ้ามองออกก็ขำทันที แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าท่านจะคุ้นเคยกับการอ่าน Joke ฝรั่ง หรือเพิ่งอ่านเป็นครั้งแรก ๆ ผมก็ยังเห็นว่า การอ่าน Joke เป็นอีกวิธีหนึ่งในการฝึก reading skill หรือในกลุ่มเพื่อนอาจจะอ่านเรื่องเดียวกันและนำมาคุยแลกเปลี่ยนความรู้หรือสนุกด้วยกัน ก็น่าจะดีอยู่นะครับ
แถมท้ายที่ขอบอก ตอนอ่าน Joke ฝรั่ง ท่านอย่าไปจริงจังอะไรกับหลักการมากนะครับ เพราะบางทีเขาก็แซวนั่นแซวนี่ในเรื่องที่เรานับถือ ปล่อยวางเถอะครับ
อ่านเพิ่มเติม :
- https://www.rd.com/jokes/funny-stories/ (เรื่องจริง)
- https://www.rd.com/jokes/daily-life/ (เรื่องจริง)
- อ่าน 50 joke story ที่ ง่าย สั้น สนุก - E4Thai
- https://academictips.org/blogs/funny-short-stories/
พิพัฒน์
คำแนะนำสั้น ๆ ตรง ๆ ในการฝึกอ่านอังกฤษให้เก่ง
ทุกคนรู้ว่า reading skill มีประโยชน์และจำเป็น แต่จะฝึกยังไงให้อ่านเก่ง ผมขออนุญาตให้ความเห็นและคำแนะนำแบบตรงไปตรงมาอย่างนี้ครับ
[1] ถ้าขณะนี้ reading skill ของท่านอ่อนกว่าเกณฑ์ เช่น กำลังเรียนอยู่ระดับมัธยมแต่อ่านได้แค่ระดับประถม หรือเรียนอยู่ ปี 1 แต่อ่านได้แค่เด็ก ป.1 อย่างนี้ก็ต้องเปิดใจยอมรับความจริง การแก้ปัญหาก็เหมือนการปลูกบ้านบนผืนดินที่ทั้งต่ำ-ลุ่ม-แฉะ ถ้าไม่ถมดินซะก่อนก็ปลูกบ้านไม่ได้ หรือปลูกได้ไม่นานก็ทรุด ท่านต้องฟันธงตัดใจไปเลยว่า ถึงจะฝึกนานก็ยอม และถ้าฝึกไม่หยุดอาจจะเก่งขึ้นได้โดยใช้เวลาไม่นานนัก จึงไม่ต้องกลัวล่วงหน้าไปก่อน
[2] แล้วจะฝึกยังไงให้อ่านเก่ง คำตอบตรง ๆ ของผมก็คือ หาเรื่องที่ชอบหรือสนใจให้เจอ(หาเอง-ในเว็บ e4thai นี้มีเพียบ) และอ่านอย่างมีสมาธิทุกวัน ๆ ละอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง
[3] ปัญหาใหญ่สุดของคนไทยในการอ่านน่าจะเป็นเรื่องศัพท์ แต่คุณครูมักจะสอนว่า ฝึกอ่านเรื่องที่ชอบซึ่งง่าย ๆ หรือไม่ยากเกินไป ถ้าติดศัพท์ก็เดาเอาบ้าง ถ้าเดาแล้วแม้จะรู้เรื่องแบบคลุมเคลือก็ไม่เป็นไร แต่ tip สำคัญในการเดาที่ผมขอแนะก็คือ
- มองให้ออกว่าคำศัพท์ที่ติดนั้นมันเป็น noun (ทำหน้าที่ประธานหรือกรรม), หรือเป็น verb (แสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง), หรือเป็นคำขยายพวก adjective หรือ adverb
- พอมองออกอย่างนี้ก็ค่อยเดาหรือตีความ step ที่ 2 เช่น ถ้าเป็น noun ก็ดูว่ามันน่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ หรือนามธรรม, ถ้าเป็น verb ก็ดูว่า ประธานตัวนี้มันออกอาการอย่างนี้(หรือมีกรรมมาต่ออย่างนี้) เพราะฉะนั้น verb ตัวนี้มันน่าจะแปลว่าอะไร, ส่วนคำขยาย ไม่ว่าจะเป็น adjective ซึ่งขยาย noun หรือ adverb ซึ่งขยาย verb ก็เดาหรือตีความทำนองเดียวกัน
- แต่ถ้าเป็นคำสำคัญที่ควรรู้ให้ชัดก่อนอ่านต่อ ก็เปิดดิกซะหน่อย
- จากที่แนะมานี้ท่านคงเห็นแล้วว่า การเดาคือดิกที่ดีที่สุด ถ้าเราไม่ฝึกเปิดดิกเล่มนี้ก็เป็นเรื่องน่าเสียดายนัก
[4] แต่ถ้าเป็นการอ่านผ่านจอ เช่น จอ PC การเปิดดิกก็ง่ายแทบไม่เสียเวลาเลย คือเมื่อเดาเสร็จก็ตามด้วยเปิดดิกได้ทันที โดย→ที่นี่ ผมได้บอก add-on ดิกชันนารีหลายยี่ห้อให้ท่านเลือกติดตั้งได้ตามใจชอบ มีทั้งดิกอังกฤษ→ไทย และดิกอังกฤษ→อังกฤษ, เหตุที่ผมต้องให้ดิกอังกฤษ→อังกฤษไว้ด้วยก็เพราะว่า บ่อยครั้งที่คำแปลที่ดิกอังกฤษ→ไทยให้ไว้มันมีไม่มากพอ เช่น ไม่มีความหมายแปลก ๆ ใหม่ ๆ หรือไม่มีความหมายที่เป็น phrasal verb / informal / idiom / slang อย่างนี้ก็ต้องพึ่งดิกอังกฤษ→อังกฤษ
เอาเป็นว่าคำแนะนำของผมก็มีแค่ 4 ข้อนี้แหละครับ
แต่ผมขอแถมท้ายนิดนึง คือผมมี →โปรแกรม Encyclopedia Britannica 2015 ให้ท่านดาวน์โลดไปติดตั้งและฝึกอ่านสารพัดความรู้ในนั้น สารานุกรม Britannica นี้ติดอันดับโลก ถ้านับในแง่ความน่าเชื่อถือของข้อมูลก็มีมากกว่า Wikipedia เสียอีก
ความมากของบทความและการปรับให้เป็นปัจจุบัน โปรแกรมสารานุกรม Britannica 2015 ตัวนี้อาจจะสู้ Wikipedia ไม่ได้ แต่ถ้าท่านเข้าไปค้นเรื่องเก่า ๆ หรือเรื่องที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ หรือรวดเร็ว เช่น ประวัติศาสตร์ประเทศ, ประวัติบุคคลสำคัญของโลกในอดีต, วัฒนธรรม, ศิลปะ, เรื่องวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เช่น เกี่ยวกับสัตว์-พืช-โรค ฯลฯ ที่ท่านสนใจ จะมีให้อ่านเพียบเลยครับ และอีกอย่างหนึ่งที่ผมชอบมาก ๆ เป็นพิเศษก็คือ บทความที่ Wikipedia นั้นบางทีมันละเอียดมาก - ยาวมาก จนอ่านไม่ไหว แต่บทความที่ Britannica นี้มันเขียนได้กระชับ-กระจ่าง พอดี ๆ ท่านลองเข้าไปชิมอ่านตามที่ผมยกมาให้ดูเป็นตัวอย่างข้างล่างนี้ได้เลยครับ ผมทำ Bookmarks ให้คลิกได้ง่าย ๆ แล้ว
- ประวัตินายกรัฐมนตรีของไทยในอดีต 4 - 5 คน
- กษัตริย์ไทยราชวงศ์จักรี 9 พระองค์
- 10 ประเทศอาเซียน ได้อ่านเรื่องราวในอดีตและปัจจุบันของประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน
- เรื่องราวลึกลับแปลก ๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบันที่น่าสนใจ
- ประวัติของพระพุทธเจ้า, พระเยซู พระมูฮัมหมัด ได้อ่านเปรียบเทียบทั้ง 3 ศาสดา
พิพัฒน์
eBook คำศัพท์พื้นฐาน อังกฤษ - ไทย 3000 คำ 3 ชุด
ผมได้ทำ eBook (ไฟล์ pdf) คำศัพท์พื้นฐาน อังกฤษ - ไทย 3000 คำ จำนวน 3 ชุด พร้อมทำ Bookmarks ให้ท่านคลิกพยัญชนะตัวเริ่มต้น (a, b, c ...)ได้โดยสะดวก โดยนำข้อมูลมาจากเว็บไซต์ของ อ.ยุทธนา เลาหะวิสุทธิ์ และ engnow.in.th
เชิญท่านดาวน์โหลดไปศึกษาได้ตามอัธยาศัยครับ
eBook คำศัพท์พื้นฐาน อังกฤษ - ไทย 3000 คำ
- ชุดคำศัพท์จาก Oxford Dictionary
- ชุดคำศัพท์จาก Longman Dictionary หรือ แยกกลุ่มตามจำนวนพยางค์ ที่นี่
- ชุดคำศัพท์จาก EF - Education First หรือ ที่นี่
- แถม 1 ชุด 3500 คำ : คลิก
ฝึกเพิ่มเติมกับ ดิกอังกฤษ - อังกฤษ
- ชุดของ Oxford Dictionary : คลิกลิงก์ 1 • คลิกลิงก์ 2
- ชุดของ Longman Dictionary : คลิก
ที่มาของต้นฉบับคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
ที่มาของต้นฉบับคำแปลภาษาไทย
- คำแปลศัพท์ 3000 คำของ Oxford
- คำแปลศัพท์ 3000 คำของ Longman
- คำแปลศัพท์ 3000 คำของ EF - Education First
พิพัฒน์
"แก่นพุทธศาสน์"
♥ "แก่นพุทธศาสน์" เป็นหนังสือที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากองค์การ UNESCO แห่งสหประชาชาติ พ.ศ. 2508 หนังสือเล่มนี้เกิดจากการรวบรวมธรรมบรรยาย 3 ครั้งของท่านอาจารย์พุทธทาสที่บรรยายให้คณะนายแพทย์และนักศึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลศิริราชฟัง เมื่อ พ.ศ. 2504 - 2505 หน้าตาของหนังสือที่ตีพิมพ์ในสมัยนี้เปรียบเทียบกับในสมัยก่อนตามรูปข้างล่างนี้ สมัยนั้นการพิมพ์ยังไม่แพร่หลาย และงานศพก็เป็นโอกาสสำคัญที่มีการแจกหนังสือธรรมะ
♣ ผมอดคิดไม่ได้ว่าทุกวันนี้การหาธรรมะมาอ่านหรือฟังมันง่ายยิ่งกว่าง่าย แต่จะมีสักกี่เปอร์เซ็นต์ที่อ่านเล่มที่ตั้งใจแล้วอย่างตั้งใจจนจบเล่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคนี้ที่เทคโนโลยีเอื้อให้คนมีสมาธิสั้นอ่านหนังสือธรรมะไม่ค่อยจบเล่ม
→ http://www.buddhadasa.org/files/pdf/B_new/new080.pdf
→ http://www.e4thai.com/e4e/images/pdf2/แก่นพุทธศาสน์.pdf